dc.contributor.author | เดชรัต สุขกำเนิด | th_TH |
dc.contributor.author | Decharut Sukkumnoed | en_US |
dc.contributor.author | รุ่งทิพย์ สุขกำเนิด | th_TH |
dc.contributor.author | จตุพร เทียรมา | th_TH |
dc.contributor.author | สมพล โชคดีศรีสวัสดิ์ | th_TH |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:20:48Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:39:21Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:20:48Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:39:21Z | |
dc.date.issued | 2544 | en_US |
dc.identifier.other | hs0894 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1608 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก ในแง่ของสิ่งแวดล้อมเชิงกายภาพ การพัฒนาอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้สร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมหลายประการ คือ มลพิษทางอากาศซึ่งประชาชนสัมผัสและรับรู้จากกลิ่นที่ได้รับ และอุบัติเหตุจากสารเคมีต่างๆ ทั้งในกระบวนการผลิตและการขนส่ง นอกจากนั้น ยังมีผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศน์วิทยาทางทะเล และการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรมอีกด้วย ซึ่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์โดยตรงและโดยอ้อมกับผลกระทบทางสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ผลกระทบทางสุขภาพทางกายที่เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป คือ ผลกระทบทางสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ ซึ่งเริ่มเป็นปัญหาร้องเรียนโดยประชาชนในพื้นที่มากขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และยังคงมีปัญหาสืบเนื่องมาตลอด จากการศึกษาวิจัยต่างๆ ของหน่วยงานต่างๆ พบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2543 ประชาชนและนักเรียนในตำบลมาบตาพุด ซึ่งได้รับมลพิษทางอากาศมีอาการเจ็บป่วยมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (ซึ่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลออกไป) ประมาณ 2-3 เท่า ในอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ คอแห้ง แสบคอ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ซึ่งเป็นอาการของระบบทางเดินหายใจ อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ซึ่งอาการของระบบประสาทส่วนกลาง นอกจากนี้ ยังมีอาการแสบตา น้ำตาไหล และอาการเพลีย ไม่มีแรง นอกจากนี้ ผลการศึกษาวิจัยถึงภาพรวมเบื้องต้นของสุขภาพประชาชนในจังหวัดระยอง ยังพบว่า กลุ่มโรคทางสุขภาพกาย มีแนวโน้มน่าเป็นห่วงมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มโรคระบบประสาทและอวัยวะสัมผัส กลุ่มโรคระบบหายใจ กลุ่มโรคผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง กลุ่มภาวะการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอด โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างยึดเสริม เนื่องจากการศึกษาเปรียบเทียบแนวโน้มอัตราผู้ป่วยนอกของกลุ่มโรคเหล่านี้พบว่า ในช่วงแรก (ปี พ.ศ. 2527-2531) อัตราผู้ป่วยนอกของจังหวัดระยองมีอัตราต่ำกว่าภาคกลาง แต่ในช่วงหลัง (ช่วงปี พ.ศ. 2537- 2541) กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นรวดเร็วมาก และเพิ่มสูงกว่าอัตราผู้ป่วยโดยเฉลี่ยของภาคกลางและทั้งประเทศ สำหรับกลุ่มโรคทางสุขภาพจิต ก็เป็นกลุ่มโรคที่น่าเป็นห่วงมากเช่นกัน เพราะเป็นกลุ่มโรคที่พบแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ชัดเจน โดยพิจารณาจากกลุ่มโรคภาวะแปรปรวนทางจิตและพฤติกรรม และกลุ่มโรคทางอุบัติเหตุ การถูกพิษ และการทำร้าย ซึ่งเห็นได้ชัดจากอัตราผู้ป่วยนอกของกลุ่มโรคภาวะแปรปรวนทางจิต เพราะเดิมทีอัตราผู้ป่วยนอกในกลุ่มโรคนี้ของจังหวัดระยองต่ำกว่าอัตราผู้ป่วยนอกของภาคกลาง แต่ต่อมาอัตราผู้ป่วยนอกของจังหวัดระยองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีอัตราสูงกว่าอัตราผู้ป่วยนอกของภาคกลางและทั้งประเทศตั้งแต่ช่วงหลังปี พ.ศ.2531 และยิ่งเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ นอกจากนี้ จังหวัดระยองมีอัตราการฆ่าตัวตายโดยการใช้พิษสูงที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความบกพร่องของสุขภาวะทางสังคมและทางจิตวิญญาณได้ระดับหนึ่งด้วยเช่นกัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงจึงมีความเกี่ยวพันกับผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ทั้งในด้านของสุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม และสุขภาพจิตวิญญาณ การศึกษาครั้งนี้จึงได้ประมวลหลักฐานและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ-สังคม ทางสิ่งแวดล้อม และทางสุขภาพจนสามารถแสดงเป็นเค้าโครงของผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก เพื่อใช้เป็นขอบเขตหรือประเด็นในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ และเพื่อใช้ในการพิจารณาทางเลือกในการปฏิบัติการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสุขภาพของประชาชนต่อไป ทั้งนี้ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในพื้นที่ที่จะจัดทำขึ้นจำเป็นต้องมีการประยุกต์ใช้วิธีการที่หลากหลายแตกต่างกันไป ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบทางสุขภาพในด้านต่างๆ กับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความซับซ้อนมากและมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ และแต่ละกลุ่มบุคคล รวมถึงเพื่อสอบทานความถูกต้องของข้อค้นพบต่างๆ และเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 2007496 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Impact Assessment | en_US |
dc.subject | Air Pollution | en_US |
dc.subject | Healthy Public Policy | en_US |
dc.subject | Mab Ta Put | en_US |
dc.subject | สุขภาพ, ผลกระทบ | en_US |
dc.subject | นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ | en_US |
dc.subject | มาบตาพุด | en_US |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ จากโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก : กรณีศึกษาการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง | th_TH |
dc.title.alternative | The scoping of health impact assessment of the eastern seaboard development program : a case study of Mab Ta Put Industrial Estates and their vicinities | en_US |
dc.description.abstractalternative | The Scoping of Health Impact Assessment of the Eastern Seaboard Development Program:A Case Study of Mab Ta Put Industrial Estates and their VicinitiesMr. Decharut SukkumnoedFaculty of Economics, Kasetsart University decharut@hsrint.hsri.or.th The Eastern Seaboard Development Program is the most obvious case showing “the Two Sides of the Coin” from Thai development experiences. On one hand, this development program is the most successful story of industrialization program in this country. On the other hand, it is also the most visible example of terrible environmental and health impacts in Thailand development experiences. The HIA from the Eastern Seaboard Development program aims to gain more experiences and knowledge on health impact assessment, as well as, to find the better ways in protecting and promoting local people’s health. The WHO’s health and environment cause-effect framework has been applied to this study. According to this model, the industrial development is the driving force causing hazardous chemical uses and pollution in this area. The increasing in chemical uses and pollution becomes the pressure for local environmental quality. The air pollution and related health impacts, chemical accident, illegal hazardous waste dumping and chemical contamination in water resources and food web have been the most serious environmental problems in this area. The three epidemiological studies during 1997 to 2000 show the association between the exposure to air pollution and acute health impacts, especially in respiratory and central nervous systems. The state of socio-economic factors and social supports in these local communities has also been degraded. The changes in economic, social, and demographic structure cause local people to live with higher uncertainty, both in economic and social senses. The rate of out-patient per population in mental disorders, in this area, has been significantly increased, from slightly lower than regional and national average in the past to almost three times higher than regional and national average at present. The situation has become more serious after Thailand economic crisis in 1997. The WHO’s health and environment cause-effect framework can be applied as a hypothetical model for assessing health impacts. To understand the complexity of health impacts, the combination and triangulation of qualitative and quantitative analyses are highly recommended. As a participatory learning process, it is also very important to ensure meaningful public participation within HIA process, specifically, by avoiding technical barriers. | en_US |
dc.identifier.callno | WA754 ด837ก 2544 | en_US |
dc.identifier.contactno | 44ข068 | en_US |
.custom.citation | เดชรัต สุขกำเนิด, Decharut Sukkumnoed, รุ่งทิพย์ สุขกำเนิด, จตุพร เทียรมา and สมพล โชคดีศรีสวัสดิ์. "การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ จากโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก : กรณีศึกษาการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1608">http://hdl.handle.net/11228/1608</a>. | |
.custom.total_download | 173 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 11 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |