dc.contributor.author | กุศล สุนทรธาดา | en_US |
dc.contributor.author | Kusol Soonthorndhada | en_US |
dc.contributor.author | อุไรวรรณ คนึงสุขเกษม | en_US |
dc.contributor.author | กาญจนา ตั้งชลทิพย์ | en_US |
dc.contributor.author | สุรีย์พร พันนึ่ง | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:20:48Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:36:31Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:20:48Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:36:31Z | |
dc.date.issued | 2541 | en_US |
dc.identifier.other | hs0443 | en_EN |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1611 | en_US |
dc.description.abstract | สถานการณ์และองค์ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กในประเทศไทย งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ ประมวลและสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กไทย ที่อยู่ในรูปของงานวิจัย วิทยานิพนธ์ เอกสารเชิงนโยบาย บทความและเอกสารสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย แล้วนำมาจัดหมวดหมู่ เพื่อนำเสนอให้เห็นภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์การเลี้ยงดูเด็กไทย โดยเน้นเด็กอายุ 0-5 ปี วิธีการศึกษาวิจัย ข้อค้นพบที่น่าสนใจ และชี้ให้เห็นถึงประเด็นหรือมุมมองที่มีการศึกษาวิจัยไว้แล้วจำนวนมากและที่ยังขาดไป รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในด้านการปรับปรุงนโยบายการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นและวิธีการวิจัยที่ควรทำการศึกษาวิจัยต่อไปแก่องค์กรทุนและนักวิจัยที่สนใจ ผลการสังเคราะห์พบว่า การที่ขนาดครัวเรือนเล็กลง ครอบครัวเปลี่ยนจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว การอพยพย้ายถิ่น การที่สตรีมีโอกาสเข้าร่วมในตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สถาบันครอบครัวลดบทบาทของการอบรมเลี้ยงดูเด็กลงไป ทำให้เด็กจำนวนมากไม่ได้รับการเลี้ยงดูให้มีพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาอย่างเหมาะสมตามวัย ในขณะที่สถานเลี้ยงดูเด็กได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่สถานเลี้ยงดูเด็กยังคงประสบปัญหาด้านคุณภาพของบุคลากรที่มีประสบการณ์ในด้านการเตรียมความพร้อมแก่เด็กก่อนวัยเรีนและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน ทำให้การเตรียมความพร้อมด้านสติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของเด็กยังมีข้อบกพร่องอยู่ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ยังก่อให้เกิดการกระจายของสื่อต่าง ๆ มากมาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กทั้งด้านบวกและด้านลบ สำหรับปัจจัยสนับสนุนในด้านการพัฒนาเด็กไทยนั้น ได้มีการกำหนดแนวทางไว้ค่อนข้างชัดเจน ทั้งในระดับนโยบาย แผนระดับชาติ และแผนปฏิบัติการ แต่การผลักดันนโยบายและแผนงานระดับชาติไปสู่การปฏิบัติยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม องค์กรเอกชนก็มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้การบริหารงานด้านการพัฒนาเด็กเป็นไปอย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น แต่มักขาดความต่อเนื่องและพลัง ด้วยข้อจำกัดด้านบุคลากรและงบประมาณ จากการสำรวจเอกสาร 150 ชิ้น พบว่า งานศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นภาพตัดขวาง (crossection) โดยใช้การสำรวจด้วยแบบสอบถามหรือแบบทดสอบ และวางกรอบการอบรมเลี้ยงดูเด็กไทยไว้เฉพาะปัจจัยนำเข้า (input) และกระบวนการในการเลี้ยงดูเด็ก (process) หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง มีงานวิจัยน้อยชิ้นที่จะดูผลลัพธ์ (output) หรือผลกระทบ (impact) ของการเลี้ยงดูเด็ก นอกจากนี้งานศึกษานี้ยังให้ข้อเสนอแนะในด้านการพัฒนานโยบาย การปรับปรุงการดำเนินงานของภาครัฐในด้านเด็ก และข้อเสนอแนะในด้านการวิจัยอีกมากมาย โดยเฉพาะงานวิจัยที่ครอบคลุมทั้งปัจจัยนำเข้าในการอบรมเลี้ยงดูเด็กทั้งในครอบครัว และสถานเลี้ยงดูเด็ก ตลอดจนกระบวนการ/วิธีการอบรมเลี้ยงดู รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นต่อตัวเด็กทั้งในระยะสั้นและระยะยาว | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | Age Groups | en_US |
dc.subject | Child-Care | en_US |
dc.title | สถานการณ์และองค์ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Child-care situations in Thailand: s synthesis report | en_US |
dc.description.abstractalternative | Child-Care Situation in Thailand: A Synthesis ReportThis reports aims at synchronizing the state of knowledge of child care situation in Thailand. The analysis is basically derived from the existing documents such as research reports, theses, the government white papers and academic articles. It was revealed that changes in child care patterns are associated with demographic factors. The most outstanding factors is change in family structure from the extended family to the nuclear family. An increase in labor force participation of women affects their domestic role and this results in child development physically, emotionally and socially. The emergence of child care centres does not help to mitigate child development problems due the inadequate experience of personnel in stimulating child development. A lack of qualified personnel and the participation from parents and community become problematic. Moreover, the influence of the media affects the development of children in both negative and positive ways. Based on 150 research studies, it is obvious that the main points of research concentrate on the input factors of child rearing process. While the studies on output factors and the impacts are limited in numbers due to the complicated process of research design and assessment. The need of intensive research to investigate the interaction between family and child development is a priority. An endeavor to combine the qualitative research with the the qualitative research will be the alternative to improve the quality of data for program implementation. There is a need for research at the national level ot provide useful information for action. Epidemiological research in physical development with a strong emphasis on the preschool children in quite useful and more reliable to understanding the magnitude of the problems while research in emotional and mental development is quite limited. The only existing studies focus on the children with mental health problem who seek treatment at the the government hospitals and the mental counseling units are available but not sufficient. This research should be expanded in size in order to cover the whole population. Research with an emphasis on skill and intellectual development is also important. The previous research studies concentrate on the assessment of the learning process and attitude test rather than the evaluation of the effectiveness of the teaching process and attitude test rather than the evaluation of the effectiveness of the teaching process. Those studies test do not reflect a sharp and clear direction for the effective resolution due to the improper standardized tools used for measurement. Research in policies for implementation, law and plans for children and youth are rare. Most studies focus on evaluation and monitoring the effectiveness of law, policies and plans for child development. Research in child investment, policy evaluation, data system for indicators of child development should be a priority. Insofar, research in those components have been carries out by the small institutions and cannot be applies effectively for the national programs. | en_US |
dc.identifier.callno | HQ769 ก248ส 2541 | en_US |
dc.subject.keyword | การดูแลเด็ก | en_US |
dc.subject.keyword | องค์ความรู้ | en_US |
dc.subject.keyword | การอบรมเลี้ยงดูเด็ก | en_US |
dc.subject.keyword | ครอบครัว | en_US |
dc.subject.keyword | การพัฒนาเด็กไทย | en_US |
.custom.citation | กุศล สุนทรธาดา, Kusol Soonthorndhada, อุไรวรรณ คนึงสุขเกษม, กาญจนา ตั้งชลทิพย์ and สุรีย์พร พันนึ่ง. "สถานการณ์และองค์ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กในประเทศไทย." 2541. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1611">http://hdl.handle.net/11228/1611</a>. | |
.custom.total_download | 254 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 6 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |