แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาระบบการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

dc.contributor.authorกัญญาลักษณ์ ณ รังษีth_TH
dc.contributor.authorKanyaluk Na Rangsien_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:50Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:38:46Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:50Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:38:46Z
dc.date.issued2545en_US
dc.identifier.otherhs0977en_EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1615en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้ใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จากการศึกษาสถานการณ์ ผู้ป่วยและครอบครัวได้สะท้อนให้เห็นว่า ระบบการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทำให้ ผู้ป่วยได้รับบริการไม่ครบถ้วน ไม่ครอบคลุมกับสภาพปัญหาและความต้องการ องค์ความรู้ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพที่แนะนำให้กับผู้ป่วยไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่แท้จริง คำแนะนำด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพบางอย่างขาดการคำนึงถึงอัตมโนทัศน์ของผู้ป่วย ระบบการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพของกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูขาดระบบการนัดหมายเพื่อติดตามผล ผู้ป่วยบางรายไม่ได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพอีกเลยหลังออกจากโรงพยาบาล ทั้งนี้เนื่องจากหลังการมาพบแพทย์เพื่อติดตามการรักษา แพทย์มิได้ส่งผู้ป่วยไปปรึกษาและรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพจากกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูและบุคลากรกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูก็มิได้นัดหมายให้มารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพอีกและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความลำบากในการไปรับบริการที่โรงพยาบาล นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและญาติมีความต้องการการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องในสภาพแวดล้อมที่บ้าน ทีมวิจัยได้นำข้อมูลจากการศึกษาสถานการณ์ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมร่วมกับกลุ่มงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาปรับปรุงการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและได้สรุปเป็นรูปแบบใหม่ของการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ดังนี้ คือ หน่วยงานในกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาจะรับผิดชอบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกัน โดยจะให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดและวิธีการทางกิจกรรมบำบัดแก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ส่งปรึกษาทุกรายและก่อนออกจากโรงพยาบาลผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำวิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นและสำคัญและนัดหมายผู้ป่วยให้มารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องในวันที่แพทย์อายุรกรรมนัดมาติดตามผลการบำบัดรักษาครั้งแรกหลังออกจากโรงพยาบาลและเมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้านซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของกลุ่มงานเวชกรรมสังคม ผู้ประสานงานของกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูจะส่งข้อมูลทุกอย่างของผู้ป่วยให้แก่ผู้ประสานงานกลุ่มงานเวชกรรมสังคมและผู้ป่วยจะได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องที่บ้านจากทีมแพทย์และพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว หรือเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยที่ประจำในพื้นที่และใช้ระบบการประสานข้อมูลเพื่อให้บริการของทั้งสองกลุ่มงานมีความเชื่อมโยง เพื่อช่วยแนะนำแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ป่วยได้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะ ควรนำระบบการประสานข้อมูลและการประสานระบบบริการระหว่างกลุ่มงานทั้งสองไปใช้สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคอื่นๆ ที่ต้องการการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อน ผู้ป่วยอัมพาตแขนขา ผู้ป่วยเด็กสมองพิการ ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงภาระงานและจำนวนบุคลากรที่มีอยู่จริงด้วยเสมอth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1043199 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectStrokeen_US
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการพัฒนาระบบการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of rehabilitation services for stroke patients at Maharat Nakhon Ratchasima Hospitalen_US
dc.description.abstractalternativeThe study aimed to develop a new rehabilitation service system for stroke patients at Maharaj Hospital, Nakorn Ratchasima Province. The situation analysis showed some pitfalls of the existing system. For instances: there were underserved for occupational therapy services; the routine services and information given were not responsive to clients’ needs, in terms of supporting their self-concept; inadequate system to follow up discharged patients; and the increasing need for home rehabilitation service because of the inconvenience of client transportation. Participatory action research (PAR) was applied to work out among other related service providers or stakeholders to identify an alternative system. Those were physicians, physiotherapists and community nurses. Duration of the study was during The modified service was described as follows; The rehabilitation services would cover physical therapy and occupational therapy for every consulted case, even though it was not mentioned by physician. The essential rehabilitation guidelines had been set up to fit with Isan context. The follow up system was set up, and had to correspond with physician appointment date. Making linkages with community nurses to provide rehabilitation home care. Setting up the record and report systems for continuity of care between hospital and home care. Recommendations from this study were that this system should be applied for patients with other chronic conditions, such as paralysis or cerebral palsies, to whom rehabilitation services were needed. However, implementation of the recommended system should take personnel existing workloads for granted.en_US
dc.identifier.callnoWL355 ก383ก 2545en_US
dc.identifier.contactno44ค020en_US
dc.subject.keywordMaharat Nakhon Ratchasima Hospitalen_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาen_US
.custom.citationกัญญาลักษณ์ ณ รังษี and Kanyaluk Na Rangsi. "การพัฒนาระบบการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1615">http://hdl.handle.net/11228/1615</a>.
.custom.total_download517
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year19
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0977.pdf
ขนาด: 660.7Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย