แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ระบบบริการสาธารณสุขกับการประกันสุขภาพ : ปัญหาและข้อเสนอในภาพรวม

dc.contributor.authorสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์th_TH
dc.contributor.authorSomsak Chunharasen_US
dc.contributor.authorพงษ์พัฒน์ ปธานวนิชth_TH
dc.contributor.authorเมธ โชคชัยชาญth_TH
dc.contributor.authorเสรี หงษ์หยกth_TH
dc.contributor.authorนิพิฐ พิรเวชth_TH
dc.contributor.authorสุพัตรา ศรีวณิชชากรth_TH
dc.contributor.authorสุทธิชัย จิตะพันธ์กุลth_TH
dc.contributor.authorชาญวิทย์ ทระเทพth_TH
dc.contributor.authorเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติth_TH
dc.contributor.authorไชยนันท์ ทยาวิวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorPongphan Phatanwaniten_US
dc.contributor.authorMet Chokchaichanen_US
dc.contributor.authorSeree Hongyoken_US
dc.contributor.authorNiphit Phiraweten_US
dc.contributor.authorSuphatra Sriwanichakornen_US
dc.contributor.authorSutichai Chitaphankulen_US
dc.contributor.authorChanvit Tharathepen_US
dc.contributor.authorKriengsak Vacharanukulkietien_US
dc.contributor.authorChainan Tayawiwaten_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:50Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:50:49Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:50Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:50:49Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifier.otherhs1223en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1617en_US
dc.descriptionชุดโครงการวิจัยการจัดทำข้อเสนอระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.description.abstractการศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหาของระบบบริการสุขภาพปัจจุบัน ที่ได้รับผลกระทบจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงในภาพรวม แบ่งเป็นสามส่วน คือ อาการแสดงออกที่พบบ่อยในระบบบริการสุขภาพ การวิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และการนำเสนอแนวทางแก้ไขอาการแสดงออกที่สำคัญของระบบบริการสุขภาพ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ ที่ได้จากการทบทวนสถานการณ์ พบปัญหาสำคัญ คือ 1) การดำเนินงานเพื่อให้เกิดหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ 2) ความขัดแย้งระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ 3) ปัญหาคุณภาพบริการ ทั้งระบบประกันคุณภาพ คุณภาพมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยให้ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ คือ ได้รับบริการตามสิทธิ รวดเร็ว และการต้อนรับ รวมทั้งระบบการส่งต่อ การสนับสนุนทางการเงินที่เพียงพอต่อการจัดบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน และขาดกลไกที่ลดภาระความเสี่ยงทางการเงินให้กับหน่วยบริการที่ชัดเจน 4) การวางแผนกำหนดเครือข่ายหน่วยบริการ ทั้งเขตชนบทและเขตเมืองที่ชัด 5) ความไม่ชัดเจนของการกำหนดขอบเขตชุดสิทธิประโยชน์ ทำให้มีช่องว่างของการใช้บริการตามสิทธิของประชาชน 6) ขาดการจัดการและการทำงานในส่วนของบริการสาธารณสุขที่มุ่งให้เกิดแผนงานโครงการที่มีประโยชน์ในระดับประชากร ไม่ใช่ระดับปัจเจก จากการวิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องและสำคัญต่อระบบบริการสุขภาพ พบว่ามีสาเหตุและปัจจัยที่สำคัญ คือ 1) กรณีการจัดบริการในระดับปฐมภูมิ พบว่ากำลังคนในการทำงานไม่เพียงพอกับภาระงานและศักยภาพและคุณภาพไม่เพียงพอ 2) กรณีระบบการส่งต่อที่ยังขาดแรงจูงใจที่เหมาะสม ถูกต้อง ในการส่งต่อผู้ป่วย รวมถึงการปรับปรุงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 3) การจัดสรรเงินให้แก่หน่วยบริการ 4) การบริหารจัดการเรื่องการพัฒนาและกระจายโครงสร้างพื้นฐานระบบบริการสุขภาพในภาพรวมทั้งประเทศในระยะยาว ทั้งภาครัฐและเอกชน จะต้องมีการปรับบทบาทให้ชัดเจนตามภารกิจเพื่อลดความขัดแย้ง 5) ขาดการให้ข้อมูลที่ครอบคลุมและถูกต้องกับประชาชนในเรื่องชุดสิทธิประโยชน์ของการใช้บริการ การเลือกหน่วยบริการเพื่อป้องกันมิให้เกิดความคาดหวังที่เกินจริงและนำไปสู่ความขัดแย้ง ข้อเสนอต่อการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อให้สามารถเน้นงานเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ดังนี้ 1) มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอัตรากำลังของหน่วยบริการให้เป็นไปตามมาตรฐาน และสอดคล้องกับจำนวนประชากรที่ดูแล และภาระงานที่รับผิดชอบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 2) มีวิธีการจัดสรรเงินให้กับงานสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีการจัดประเภทของกลุ่มงานที่ชัดเจน 3) การจัดบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ ควรเน้นให้มีการดูแลผู้ป่วยแบบผสมผสาน ทั้งด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค มีแผนการดูแลประชากรที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่องชัดเจน 4) รูปแบบการบริการจัดการหน่วยบริการปฐมภูมิไม่ควรเน้นเชิงธุรกิจหรือใช้ระบบการแข่งขันแบบเสรี เพราะจะทำให้บริการเป็นไปในลักษณะเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่าเรื่องสุขภาพ และข้อเสนออื่นๆ ต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือ 1) ปรับแยกระบบการจัดสรรเงิน Non-UC ออกมาจากงบประมาณเพื่อการซื้อบริการที่ชัดเจน แต่มีการวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับองค์กรบริหารกองทุนประกันสุขภาพ เพื่อป้องกันปัญหาช่องว่างการทำงาน เพื่อไม่ให้เกิดภาระทางการเงินแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป 2) ปรับปรุงการจัดสรรและการจัดการในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้ ยกเลิกการรวมเงินเดือนส่วนกลาง ให้จัดสรรเงินให้แก่หน่วยบริการระดับอำเภอตามสัญญาที่ทำไว้กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สร้างกลไกการจัดระบบ Reinsurance ในระดับจังหวัด และหรือระดับประเทศ เพื่อรับภาระความเสี่ยงให้กับหน่วยบริการ พัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ รัฐและเอกชน ทุกระดับพื้นที่ โดยมีแผนปรับปรุงการกระจายหน่วยบริการและบุคลากรที่ชัดเจนในระยะยาว และมีระบบจัดสรร Contingency Fund เพื่อไม่ให้กระทบขวัญและกำลังใจในระยะเปลี่ยนผ่าน สร้างระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อสะท้อนต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดบริการที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบ Case-management รวมทั้งระบบปรึกษาหารือทางไกล และพัฒนาคุณภาพระบบบริการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 3) พัฒนากลไกการทำงานในระดับหน่วยบริการและส่วนกลางเพื่อป้องกันและลดข้อขัดแย้งระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ และแก้ไขกฎหมายมาตรา 42 โดยเร็ว พร้อมสร้างความเข้าใจในหมู่ประชาชน และผู้เกี่ยวข้องกับมาตรา 41 และ 4) พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้รับบริการและคุณภาพและประสิทธิภาพของผู้ให้บริการ 5) ควรมีการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพและการจัดบริการ เพื่อให้ท้องถิ่นและภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดระบบประกันสุขภาพมากขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Services Systemsen_US
dc.subjectHealth Insurance Systemsen_US
dc.subjectHealth Servicesen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectระบบประกันสุขภาพen_US
dc.subjectอนามัย, บริการen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleระบบบริการสาธารณสุขกับการประกันสุขภาพ : ปัญหาและข้อเสนอในภาพรวมth_TH
dc.title.alternativeHealth service delivery systems vs health insurance systems : problems and recommendation for developmenten_US
dc.identifier.callnoW84 ส282ร 2549en_US
dc.identifier.contactno48ค016-1en_US
dc.subject.keywordHealth Insuranceen_US
dc.subject.keywordการประกันสุขภาพen_US
.custom.citationสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, Somsak Chunharas, พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช, เมธ โชคชัยชาญ, เสรี หงษ์หยก, นิพิฐ พิรเวช, สุพัตรา ศรีวณิชชากร, สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, ชาญวิทย์ ทระเทพ, เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ, ไชยนันท์ ทยาวิวัฒน์, Pongphan Phatanwanit, Met Chokchaichan, Seree Hongyok, Niphit Phirawet, Suphatra Sriwanichakorn, Sutichai Chitaphankul, Chanvit Tharathep, Kriengsak Vacharanukulkieti and Chainan Tayawiwat. "ระบบบริการสาธารณสุขกับการประกันสุขภาพ : ปัญหาและข้อเสนอในภาพรวม." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1617">http://hdl.handle.net/11228/1617</a>.
.custom.total_download672
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year26
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1223.pdf
ขนาด: 1.085Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย