แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

กองทุนและการจัดการสวัสดิการสุขภาพชุมชน : บทเรียนและทางเลือก

dc.contributor.authorวัฒนา สุกัณศีลth_TH
dc.contributor.authorWattana Sukunsinen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:53Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:34:17Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:53Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:34:17Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs0838en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1624en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษารูปแบบ พัฒนาการและการบริหารจัดการของกองทุนและการจัดการด้านสุขภาพของชุมชน รวมทั้งวิเคราะห์ถึงเงื่อนไขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสุขภาพของชุมชนในประเด็นสำคัญๆ หลายอย่างคือ พัฒนาการและการปรับเปลี่ยนของกองทุนและการจัดสวัสดิการสุขภาพภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค ความคิด ความหมาย และระบบการจัดการปัญหาสุขภาพของชุมชน ความเข้มแข็งของกองทุน หรือกลุ่มออมทรัพย์ โดยเฉพาะความเข้มแข็งด้านการเงิน (financial viability) อิทธิพลและผลกระทบของกองทุนและกิจกรรมด้านสุขภาพ ตลอดจนรูปแบบความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งของกองทุนกับการจัดสวัสดิการสุขภาพและกิจกรรมพัฒนาด้านอื่นๆ ด้วย การวิจัยครั้งนี้ได้อาศัยวิธีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบกองทุนชุมชน ที่มีบทบาทในการจัดสวัสดิการสุขภาพใน 3 ภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ทั้งนี้เพื่อจะได้เข้าใจกระบวนการทำงาน ผลกระทบ ลู่ทางการพัฒนาและส่งเสริมบทบาท ตลอดจนปัญหาและข้อจำกัดของกองทุนในการจัดการสุขภาพในชุมชนได้ครอบคลุมและชัดเจนยิ่งขึ้น โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายลักษณะ ได้แก่ การศึกษาทบทวนและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ การวิจัยในพื้นที่ โดยใช้วิธีการศึกษาสำรวจสภาพทั่วๆ ไปในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพอนามัย จากนั้นก็จะเป็นการศึกษาเจาะลึกในประเด็นคำถามและปัญหาที่สำคัญๆ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้รู้ สมาชิก คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่รัฐ การสนทนากลุ่ม การสังเกตและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกองทุนและชุมชนในโอกาสต่างๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการวิเคราะห์มีทั้งข้อมูลในระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่มและชุมชน โดยอาศัยข้อมูลจากการเก็บรวบรวมในพื้นที่และจากเอกสารของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาจากชุมชนที่เลือกเป็นกรณีศึกษาทั้ง 6 ชุมชน ในภาคใต้ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการความเป็นมาของกลุ่มออมทรัพย์และกองทุนชุมชน กระบวนการและวิธีการทำงาน รูปแบบการจัดสวัสดิการสุขภาพและปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ที่หลากหลายและซับซ้อน กลุ่มและกองทุนเหล่านี้ มีความแตกต่างกันในหลายด้าน ขณะที่ก็มีลักษณะร่วมบางอย่างที่คล้ายคลึงกันเช่นกัน ความแตกต่างและคล้ายคลึงกันนี้ แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของบริบทและเงื่อนไขทางสังคม สภาพลักษณะชุมชน พัฒนาการความเป็นมาและเป้าหมายของกลุ่มและกองทุน วิธีการและกระบวนการบริหารจัดการในการแก้ปัญหาและการปรับเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่ของกลุ่มและกองทุนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของกลุ่มและชุมชนในแต่ละพื้นที่th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent3507749 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Welfareen_US
dc.subjectสวัสดิการสุขภาพen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectไทย(ภาคใต้) -- กองทุนชุมชนen_US
dc.subjectไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- กองทุนชุมชนen_US
dc.subjectไทย(ภาคกลาง) -- กองทุนชุมชนen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleกองทุนและการจัดการสวัสดิการสุขภาพชุมชน : บทเรียนและทางเลือกth_TH
dc.title.alternativeCommunity health fund and its administration : roles and alternatives for developmenten_US
dc.description.abstractalternativeDevelopment and administration of community health fund were studied to explore factors and conditions which were involved in its administration. A number of major issues were;changes and development of circumstances at micro and macro level, thoughts, definitions and administrative system of community,strengths of health fund particularly financial viability,community health activities andlinkages of health funds to health benefits and development of other community activities. Comparison of 6 community funds was used in this study. Three regions in which the sampled community funds were located were the central, the North-eastern and the Southern region. Data were collected from existing Thai and international document and research, surveying socio-economic status of communities, interviewing key persons, discussing in group and participating community activities if opportunity available. Data were grouped into three levels, individual, family and group / community. The results showed certain differences and similarities in sampled communities, which were predisposed by community circumstances, development and goals of community funds.en_US
dc.identifier.callnoHV4959 ว398ก [2544]en_US
dc.identifier.contactno41ค039en_US
dc.subject.keywordกองทุนชุมชน, ปัญหาและอุปสรรคen_US
dc.subject.keywordกองทุนสุขภาพชุมชนen_US
dc.subject.keywordบริการสุขภาพen_US
dc.subject.keywordการพัฒนาศักยภาพของชุมชนen_US
.custom.citationวัฒนา สุกัณศีล and Wattana Sukunsin. "กองทุนและการจัดการสวัสดิการสุขภาพชุมชน : บทเรียนและทางเลือก." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1624">http://hdl.handle.net/11228/1624</a>.
.custom.total_download154
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0838.pdf
ขนาด: 2.096Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย