• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

วิสัยทัศน์การปฏิรูประบบสุขภาพจากมุมมองกลุ่มผู้นำประเทศด้านการพัฒนาสังคม

มัทนา พนานิรามัย; Mattana Pananiramai; ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล; กำจร ตติยกวี; จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์; วิพุธ พูลเจริญ; สุภกร บัวสาย;
วันที่: 2543
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสังเคราะห์วิสัยทัศน์ ปรัชญาและแนวความคิดรากฐานของการปฏิรูประบบสุขภาพสำหรับประเทศไทย และเพื่อจุดประเด็นทางสังคมให้การปฏิรูประบบสุขภาพเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และติดตามในลักษณะประเด็นสาธารณสุข โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วยผู้นำด้านความคิดในการพัฒนาสังคมกลุ่มต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยนักการเมือง 3 ท่าน กลุ่มนักวิชาการ 5 ท่าน กลุ่มผู้นำสังคมของกลุ่มคนหรือชุมชน 4 ท่าน กลุ่มนักธุรกิจ 2 ท่าน และกลุ่มสื่อมวลชน 1 ท่าน ทั้งนี้โดยดำเนินการสัมภาษณ์ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 โดยมีวีดีทัศน์ชุดหนึ่งฉายให้ผู้ให้สัมภาษณ์ชมก่อน เป็นการนำเข้าสู่การสัมภาษณ์ซึ่งมีแนวคำถามกำหนดไว้ล่วงหน้า ผลการศึกษาพบว่าปัญหาและความเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพเป็นสิ่งที่ซับซ้อน ความไม่รู้ของประชาชนนับว่าเป็นรากเหง้าที่สำคัญของปัญหาในระบบสุขภาพ นำไปสู่วิถีชีวิตและการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม ต่อไปสู่ความเจ็บป่วยที่ไม่จำเป็น ซึ่งซ้ำเติมโดยปัญหาในระบบบริการและการขาดหลักประกันสุขภาพ ในขณะที่กลุ่มผู้นำมองว่าระบบสุขภาพที่พึงปรารถนามีองค์ประกอบที่สำคัญมาจากศักยภาพของคนที่มีความรู้ มีจิตใจที่ดีพร้อมด้วยคุณธรรม มีทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น มีการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนก่อเกิดชุมชนที่เข้มแข็ง รู้จักการประสานประโยชน์เพื่อส่วนร่วม มีแนวคิดเชิงป้องกันและตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพของตนเอง นอกจากนี้ยังต้องมีระบบที่เอื้ออำนวยอันมาจากแนวคิดพื้นฐานของสังคม กลไกทางการเมืองที่ดี และการกำหนดนโยบายที่มุ่งสู่การสร้างเสริมสุขภาพของคนในสังคม เปิดโอกาสให้คนมีส่วนร่วมและเสริมศักยภาพในการดูแลตนเอง โดยมีรัฐเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเมื่อถึงคราวจำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ มีความเสมอภาคและตอบสนองตรงความต้องการของสังคม การปฏิรูประบบสุขภาพจึงต้องอาศัยวิสัยทัศน์ที่มองระบบสุขภาพอย่างเป็นระบบที่ระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับนโยบาย ระบบ องค์กร และปัจเจก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้การปฏิรูประบบสุขภาพเป็นเป้าหมายในระดับชาติ มีนโยบายการพัฒนาที่คำนึงถึงสุขภาพ การเสริมพลังแก่สาธารณะ การมีหลักประกันทางสุขภาพ การกระจายอำนาจ การวางระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานที่เหมาะสม ประชาชนมีความเข้มแข็ง มีภาคบริการที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง โดยมีรัฐบาลอยู่ในฐานะผู้สนับสนุนและกำกับดูแล มีผู้ให้บริการที่มีความรู้คู่คุณธรรม และมีผู้บริโภคที่มีความตระหนักในเรื่องสุขภาพ

บทคัดย่อ
This study objective was to synthesise a number of vision, philosophy, and view regarding health reform system in Thailand in order to put these inputs into public debate. A number of social development leaders which were 3 politicians, 5 academics, 4 community leaders, 2 businessmen and 1 representative from mass communication group, were interviewed from August 1999 to February 2000. Prior to the interview, the VDO program was shown to the interviewee and the questions were previously structured. The study found that problems and changes in health system were complicated. The most problematic cause was ill- or un-informed people about health leading to risk living behaviour and poor health. Health system itself particularly lack of health insurance and care quality also jeopardised people’s health. In views of most interviewees, desirable health system should be composed of good cooperation in multi-groups, emphasis on health prevention and promotion, proper structure to support the system, effective political system, response to principles of equity and society’s needs Health system reform needs vision at various levels from top (policy) to individuals. Health reform should be considered as a national goal by having clear policy, strengthening public involvement, creating health insurance, administrative decentralisation, appropriate standard of care, people centred service management, support and supervision by the government, ethical providers and people’s awareness of health
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0842.pdf
ขนาด: 664.2Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 42
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV