Show simple item record

[Projection of Illness Patterns and Demand for Doctors]

dc.contributor.authorมัทนา พนานิรามัยen_US
dc.contributor.authorMattana Pananiramaien_US
dc.contributor.authorสมชาย สุขสิริเสรีกุลen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:21:08Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:39:01Z
dc.date.available2008-12-04T05:21:08Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:39:01Z
dc.date.issued2539en_US
dc.identifier.otherhs0036en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1663en_US
dc.description.abstractการพยากรณ์แบบแผนการเจ็บป่วยและความต้องการแพทย์ในอนาคตวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ 1.ศึกษาลักษณะความเจ็บป่วย 2.ศึกษาตัวกำหนดภาวะการเจ็บป่วย 3.ศึกษาการใช้บริการด้านการรักษาพยาบาลจากแพทย์4.พยากรณ์ภาวะการเจ็บป่วยและการใช้บริการด้านการรักษาพยาบาลจากแพทย ์ในอนาคต 5.พยากรณ์และเปรียบเทียบอุปสงค์และอุปทานของแพทย์ 6.ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการผลิตแพทย์ในอนาคต ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้อมูลจากการสำรวจสถานะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยทั้งประเทศครั้งที่ 1 ปี พ.ศ.2534 โดยคณะกรรมการระบาดวิทยาแห่งชาติร่วมกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ระยะเวลาการสำรวจ คือ ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2534 โดยการเก็บข้อมูลจาก 17 จังหวัดทั่วประเทศ โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1) การวิเคราะห์สถานะสุขภาพอนามัยของประชาชน และการศึกษาตัวกำหนดสถานะ สุขภาพและพฤติกรรมการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย 2) เป็นการฉายภาพจำนวนครั้งและแบบแผนการเจ็บป่วยของประชากรไทยในอนาคตเป็นการแสดงความต้องการใช้บริการจากแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาล เป็นความต้องการของแพทย์แล้วเปรียบเทียบกับอุปทานของแพทย์ผู้ให้บริการ โดยใช้ข้อมูลจาก 4 แบบฟอร์มดังนี้ แบบฟอร์ม HES2 เป็นการสัมภาษณ์หัวหน้าครอบครัวเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกในครัวเรือน อาชีพและรายได้ของครัวเรือน แบบฟอร์มHES 3/1 เป็นแบบสัมภาษณ์ประชากรตัวอย่างที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับเพศ อายุ ระดับการศึกษา การเจ็บป่วยเฉียบพลัน และการใช้บริการรักษาพยาบาล การบาดเจ็บและประวัติโรคลมชัก แบบฟอร์ม HES 3/2 เป็นการสัมภาษณ์ตัวอย่างที่มีอายุ ระหว่าง 10-15 ปี ประกอบด้วยข้อมูลเช่นเดียวกับแบบฟอร์มที่ HES 3/1 แต่เพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ เรื่องการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา แบบฟอร์ม HES 3/3 เป็นการสัมภาษณ์ตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป โดยมีข้อมูลเหมือนกับแบบฟอร์ม HES 3/2 แต่เพิ่มข้อมูลในเรื่องการคัดกรองภาวะตับแข็ง นิ่วในทางเดินปัสสาวะ อาการปวดข้อและหลัง ความผิดปกติของปากมดลูก การได้รับยาและการวินิจฉัยโรคเรื้อรังจากแพทย์ กลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคหลอดเลือดหัวใจ ประกอบด้วย 5,882 ครัวเรือน สมาชิกทั้งหมด 22,214 คน ปรากฎว่ามีข้อมูลที่ใช้ได้เพียง 22,178 ตัวอย่าง จากครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ จำนวน 1,862, 1,119, 1,847 และ 1,054 ครัวเรือนตามลำดับ จำแนกเป็นประชากรตัวอย่างจากผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาล และอยู่นอกเขตเทศบาล คิดเป็นร้อยละ 44 และ 56 ตามลำดับผลการศึกษาพบว่าอัตราการเจ็บป่วยของประชาชนไทยอยู่ในระดับที่สูงมาก ประมาณร้อยละ 41 ของประชาชนไทยตอบว่าตนเองมีการเจ็บป่วยในบางลักษณะอย่างน้อยหนึ่งคร ั้งในช่วงเวลาสองสัปดาห์ แต่ถ้าใช้คำจำกัดความของการเจ็บป่วยให้เข้มงวดขึ้น คือจะถือว่าป่วยก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้นคิดว่าตนเองป่วยและต้องหยุดกิจกรรมทุกประเภทอย่างน้อย 24 ชั่วโมง มีประมาณร้อยละ 9.8 ของประชาชนทั้งหมด สำหรับแบบแผนการเจ็บป่วยนั้นเป็นการเจ็บป่วยที่ระบบทางเดินหายใจมากที่สุดถึงร้อยละ 48 ของการเจ็บป่วยทั้งหมด รองลงไปคือโรคที่อาการไม่แจ้งชัด โรคที่ระบบทางเดินอาหารและโรคที่ระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและกระดูก พฤติกรรมการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยพบว่า ส่วนใหญ่จะเลือกใช้บริการจากบุคลากรที่ไม่ใช่แพทย์เป็นทางเลือกครั้งแรก รองลงไปคือการไปพบแพทย์มีประมาณร้อยละ 20 การศึกษาพบว่าประมาณร้อยละ 65 ของผู้ป่วยสามารถหายจากการเจ็บป่วยนั้น ๆ ภายในเวลาสองสัปดาห์ ผู้ที่หายจากการเจ็บป่วยเหล่านี้กว่าร้อยละ 94 หายด้วยวิธีที่ ผู้ป่วยเลือกรักษาครั้งแรกประมาณร้อยละ 50 และ 20 ตามลำดับของผู้ป่วยในเขตและนอกเขตเทศบาลที่หายภายในสองสัปดาห์ตอบว่าแพทย์ เป็นผู้รักษาให้หาย ผลการศึกษาพอสรุปได้อีกว่า การศึกษาที่สูงขึ้นมีอิทธิพลในการเพิ่มอัตราการใช้บริการจากแพทย์เมื่อ เจ็บป่วย แต่จะลดลงตามอายุของผู้ป่วย ในครอบครัวที่ทำการเกษตรเด็กที่ป่วยจะมีอัตราการใช้บริการจากแพทย์ต่ำกว่า แต่สำหรับผู้ใหญ่อัตราการใช้บริการจากแพทย์เปลี่ยนแปลงตามอายุและโรค คือ สูงกว่าบุคคลอื่น ๆ ที่ป่วยด้วยโรคเดียวกัน นอกจากนี้ผู้หญิงจะมีอัตราการใช้บริการจากแพทย์สูงกว่าผู้ชาย ผลของการฉายภาพพบว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการพัฒนา ไม่ได้ช่วยให้การเจ็บป่วยของประชากรลดลงแต่อย่างไร แต่กลับทำให้อัตราการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและชนิดของการเจ็บป่วยก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย เมื่อเปรียบเทียบอุปทานของแพทย์และความต้องการแพทย์จะพบว่า แพทย์แต่ละคนโดยเฉลี่ยสามารถตรวจรักษาผู้ป่วยได้ 675 รายต่อสองสัปดาห์ (ตัวเลขนี้หมายความว่าถ้าแพทย์ทำงานสัปดาห์ละห้าวันและวันละ 8 ชั่วโมง แพทย์จะใช้เวลาอยู่กับผู้ป่วยรายละไม่เกิน 7 นาที) จะมีอุปทานส่วนเกินอยู่แล้วและจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะมีความต้องการแพทย์สูงกว่าอุปทานของแพทย์ในปัจจุบัน และถ้าอัตราการผลิตแพทย์ภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี ช่องว่างดังกล่าวจะหมดไปภายในปี พ.ศ.2553 แต่ถ้าผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจากแพทย์มากขึ้นช่องว่างดังกล่าวจะหมดไปภายในปี พ.ศ.2563 ถ้าอัตราการผลิตแพทย์ภายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8 ต่อปี ช่องว่างระหว่างความต้องการแพทย์และอุปทานของแพทย์จะหมดเร็วขึ้นประมาณ 5 ปีen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent4496787 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยen_US
dc.subjectMedically Underserved Areaen_US
dc.subjectHealthen_US
dc.titleการพยากรณ์แบบแผนการเจ็บป่วยและความต้องการแพทย์ในอนาคตen_US
dc.title.alternative[Projection of Illness Patterns and Demand for Doctors]en_US
dc.identifier.callnoW85 ม6ก 2539en_US
dc.subject.keywordการพยากรณ์en_US
dc.subject.keywordแบบแผนการเจ็บป่วยen_US
dc.subject.keywordความต้องการแพทย์en_US
.custom.citationมัทนา พนานิรามัย, Mattana Pananiramai and สมชาย สุขสิริเสรีกุล. "การพยากรณ์แบบแผนการเจ็บป่วยและความต้องการแพทย์ในอนาคต." 2539. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1663">http://hdl.handle.net/11228/1663</a>.
.custom.total_download125
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year5

Fulltext
Icon
Name: hs0036.pdf
Size: 4.512Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record