dc.contributor.author | พินิจ ฟ้าอำนวยผล | th_TH |
dc.contributor.author | Pinij Faramnuayphol | en_US |
dc.contributor.author | ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย | th_TH |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:21:11Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:38:17Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:21:11Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:38:17Z | |
dc.date.issued | 2545 | en_US |
dc.identifier.other | hs0948-1 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1669 | en_US |
dc.description.abstract | การขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ จำเป็นต้องอาศัยพัฒนาการด้านองค์ความรู้ที่นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำพาระบบสุขภาพไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ได้ ด้านหนึ่งของการปฏิรูประบบสุขภาพให้ความสำคัญกับประเด็นด้านประสิทธิภาพ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งให้ความสำคัญกับความเป็นธรรม การรักษาซึ่งสมดุลของประเด็นทั้ง 2 เป็นสิ่งที่จะมองข้ามมิได้ ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาเพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่งย่อมจะมีผลกระทบกับอีกประเด็นหนึ่ง หากไม่ได้รับการคำนึงถึงอย่างรอบคอบ ดังนั้น ในด้านของการออกแบบระบบ จึงจำต้องยกระดับเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายขององค์ประกอบต่างๆ ของระบบสุขภาพ และในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาความสมดุลระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบสุขภาพเอาไว้ให้ได้ จึงจะนับได้ว่าเป็นระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ ในด้านของความเป็นธรรมทางสุขภาพ (Fairness in health) เป็นเป้าหมายหนึ่งของการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยมิติย่อยหลายมิติด้วยกัน อาทิเช่น ความเป็นธรรมด้านสถานะสุขภาพ ความเป็นธรรมด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพ ความเป็นธรรมด้านการใช้บริการสุขภาพ และความเป็นธรรมด้านการจ่ายเงิน มิติต่างๆ ดังกล่าวมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน และเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ ที่แวดล้อมระบบบริการสุขภาพ ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยมากมายที่ทำให้สังคมขาดความเป็นธรรม แต่ว่าการออกแบบระบบสุขภาพที่ดีก็จะช่วยลดความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพดังกล่าวได้ หากมีการจัดการที่นำไปสู่การกระจายทรัพยากรสุขภาพที่เป็นธรรม และมีระบบบริการที่เน้นความเสมอภาคของประชาชน ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าติดตามและประเมินเพื่อให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบจากการปฏิรูประบบสุขภาพในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินความเป็นธรรมดังกล่าวด้วย ประเด็นความเป็นธรรมทางสุขภาพมีวิธีการประเมินที่หลากหลาย สำหรับการศึกษาครั้งนี้ ใช้ชุดดัชนีประเมินความเป็นธรรมของการปฏิรูประบบสุขภาพ (Benchmarks of fairness) ที่มีองค์ประกอบที่ค่อนข้างกว้าง ครอบคลุมประเด็นด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ ความมีส่วนร่วม และความอิสระของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดบูรณาการของการประเมินด้านความเป็นธรรม ในเอกสารรายงานผลการวิจัยฉบับนี้จะประกอบด้วย เนื้อหาทั้งหมด 10 บท โดยในบทที่ 1 จะเกริ่นนำถึงความสำคัญและความหมายของความเป็นธรรม รวมทั้งสถานการณ์ความไม่เป็นธรรมในระบบสุขภาพ บทที่ 2 จะกล่าวถึงองค์ประกอบของความเป็นธรรมทางสุขภาพที่ใช้ในการศึกษานี้ รวมทั้งประสบการณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความเป็นธรรมทางสุขภาพ บทที่ 3 ถึง 6 จะนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ความเป็นธรรมทางสุขภาพจากเครื่องมือเชิงปริมาณ บทที่ 7 เป็นการนำเสนอข้อมูลความเป็นธรรมจากเครื่องมือเชิงคุณภาพที่ได้จากประชาคม 10 จังหวัด บทที่ 8 เป็นการวิเคราะห์ภาพรวมของความเป็นธรรมทางสุขภาพ บทที่ 9 เป็นข้อเสนอแนะเชิงระบบจากข้อมูลความเป็นธรรมทางสุขภาพ และบทที่ 10 เป็นการอภิปรายและสรุปผล การศึกษาครั้งนี้เป็นหนึ่งในหลายๆ ความพยายามที่อยากจะเห็นระบบสุขภาพที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทุกคนมีสุขภาพที่ดีอย่างเท่าเทียมกัน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 13309093 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Equity in health | en_US |
dc.subject | ความเป็นธรรมทางสุขภาพ | en_US |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาชุดเครื่องมือวัดความเป็นธรรมทางสุขภาพโดยอาศัยกลไกประชาคม | th_TH |
dc.title.alternative | Development of Health Equity Measurement by Using Civil Society | en_US |
dc.identifier.callno | W84 พ685ก 2545 | en_US |
dc.identifier.contactno | 44ค040 | en_US |
dc.subject.keyword | เครื่องมือ | en_US |
.custom.citation | พินิจ ฟ้าอำนวยผล, Pinij Faramnuayphol and ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. "การพัฒนาชุดเครื่องมือวัดความเป็นธรรมทางสุขภาพโดยอาศัยกลไกประชาคม." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1669">http://hdl.handle.net/11228/1669</a>. | |
.custom.total_download | 144 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 8 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |