• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การเจ็บป่วยราคาแพง: ทางออกคืออะไร

วิชช์ เกษมทรัพย์; วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร; สุวรรณา มูเก็ม;
วันที่: 2544
บทคัดย่อ
ผู้วิจัยเห็นว่าหลักฐานจากการศึกษาที่มีอยู่ เราสามารถระบุได้ว่าระบบการรักษาทดแทนไตสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเป็นบริการที่มีราคาแพง และมีความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสูง โดยผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มผู้มีฐานะยากจนได้รับการรักษาทดแทนไตในสัดส่วนที่น้อยมาก เพราะไม่มีเงินไปจ่ายค่ารักษา และสวัสดิการรักษาพยาบาลไม่เปิดช่องให้เท่ากับสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการหรือประกันสังคมที่ผุ้ป่วยที่ทำการรักษาทดแทนไตได้รับการอุดหนุนค่าใช้จ่ายเกือบทั้งหมด เพราะฉะนั้นทางเลือกที่จะไม่ดำเนินการอะไรเลยเมื่อเห็นปัญหาอยู่ตรงหน้าเป็นทางเลือกที่ไม่ควรพิจารณา แต่การแก้ปัญหาในเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ยากเช่นกันเพราะทุกอย่างถูกกำหนดด้วยข้อจำกัดจากทรัพยากรมีไม่เพียงพอที่จะให้บริการสำหรับคนทุกคน การที่จะส่งเสริมป้องกันโรคนี้เป็นหลักการทางสาธารณสุขที่น่าพิจารณาที่สุด แต่จะป้องกันโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายอย่างไรให้ได้ผลดี เป็นคำถามที่แพทย์และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์คงจะต้องหาคำตอบต่อไปว่าสาเหตุของการเกิดโรคคืออะไรและการที่จะป้องกันที่สาเหตุนั้นต้องทำอย่างไร จะต้องลงทุนอีกเท่าไรในการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดผุ้ป่วยรายใหม่หนึ่งราย ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการหาคำตอบพอสมควร การที่จัดตั้งกองทุนประกันสุขภาพสำหรับโรคราคาแพง ต้องมีจำนวนผู้เข้าร่วมจำนวนมาก (หลายล้านคน) ถึงจะสามารถดำเนินการได้ อาจจะต้องมีการออกกฎหมายเพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าร่วมกับกองทุนนี้ ซึ่งน่าจะมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้โดยนักวิชาการที่เกี่ยวข้องต่อไป จากข้อมูลที่พบว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยทุกคนอาจจะสูงถึงหลายพันล้านบาทวึ่งทำให้การให้การรักษาทดแทนไตแก่ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายทุกคนด้วยการอุดหนุนจากรัฐเป็นไปได้ยาก การสร้างเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ที่จะสมควรจะได้รับบริการให้เข้าถึงบริการและได้รับการอุดหนุนค่ารักษาพยาบาลจากภาครัฐเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยเห็นว่าจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคมที่มีอยู่ ตารางที่ 4-5 เป็นเกณฑ์ที่อายุรแพทย์ได้ให้ความเห็นเพื่อคัดเลือกผู้ป่วยเมื่อทรัพยากรมีจำกัด ซึ่งอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ได้คิดในการแก้ปัญหาสำหรับโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงต่างๆต่อไป อย่างไรก็ตามเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ป่วยนี้เป็นเพียงร่างความเห็นจากแพทย์ผู้ให้บริการพียงฝ่ายเดียว การได้รับความเห็นร่วมจากกลุ่มต่างๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป ผู้ป่วย นักวิชาการสาขาต่างๆ และผู้ที่มีหน้าที่ในการออกกฎระเบียบและนโยบายต่างๆ จะทำให้ได้ทางออกที่เป็นที่ยอมรับและเป็นไปได้ โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมในการให้บริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชน เมื่อทรัพยากรที่ใช้ในการรักษาพยาบาลมีจำกัด
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: DMJ9.pdf
ขนาด: 419.7Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 74
ปีพุทธศักราชนี้: 35
รวมทั้งหมด: 1,266
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]

    International Health Policy Program Foundation (IHPP)


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV