แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การเจ็บป่วยราคาแพง: ทางออกคืออะไร

dc.contributor.authorวิชช์ เกษมทรัพย์en_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรen_US
dc.contributor.authorสุวรรณา มูเก็มen_US
dc.date.accessioned2008-09-27T10:39:49Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:56:14Z
dc.date.available2008-09-27T10:39:49Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:56:14Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.citationวารสารมูลนิธิโรคไต. 15,29(2544) : 35-41.en_US
dc.identifier.otherDMJ9en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/166en_US
dc.description.abstractผู้วิจัยเห็นว่าหลักฐานจากการศึกษาที่มีอยู่ เราสามารถระบุได้ว่าระบบการรักษาทดแทนไตสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเป็นบริการที่มีราคาแพง และมีความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสูง โดยผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มผู้มีฐานะยากจนได้รับการรักษาทดแทนไตในสัดส่วนที่น้อยมาก เพราะไม่มีเงินไปจ่ายค่ารักษา และสวัสดิการรักษาพยาบาลไม่เปิดช่องให้เท่ากับสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการหรือประกันสังคมที่ผุ้ป่วยที่ทำการรักษาทดแทนไตได้รับการอุดหนุนค่าใช้จ่ายเกือบทั้งหมด เพราะฉะนั้นทางเลือกที่จะไม่ดำเนินการอะไรเลยเมื่อเห็นปัญหาอยู่ตรงหน้าเป็นทางเลือกที่ไม่ควรพิจารณา แต่การแก้ปัญหาในเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ยากเช่นกันเพราะทุกอย่างถูกกำหนดด้วยข้อจำกัดจากทรัพยากรมีไม่เพียงพอที่จะให้บริการสำหรับคนทุกคน การที่จะส่งเสริมป้องกันโรคนี้เป็นหลักการทางสาธารณสุขที่น่าพิจารณาที่สุด แต่จะป้องกันโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายอย่างไรให้ได้ผลดี เป็นคำถามที่แพทย์และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์คงจะต้องหาคำตอบต่อไปว่าสาเหตุของการเกิดโรคคืออะไรและการที่จะป้องกันที่สาเหตุนั้นต้องทำอย่างไร จะต้องลงทุนอีกเท่าไรในการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดผุ้ป่วยรายใหม่หนึ่งราย ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการหาคำตอบพอสมควร การที่จัดตั้งกองทุนประกันสุขภาพสำหรับโรคราคาแพง ต้องมีจำนวนผู้เข้าร่วมจำนวนมาก (หลายล้านคน) ถึงจะสามารถดำเนินการได้ อาจจะต้องมีการออกกฎหมายเพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าร่วมกับกองทุนนี้ ซึ่งน่าจะมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้โดยนักวิชาการที่เกี่ยวข้องต่อไป จากข้อมูลที่พบว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยทุกคนอาจจะสูงถึงหลายพันล้านบาทวึ่งทำให้การให้การรักษาทดแทนไตแก่ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายทุกคนด้วยการอุดหนุนจากรัฐเป็นไปได้ยาก การสร้างเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ที่จะสมควรจะได้รับบริการให้เข้าถึงบริการและได้รับการอุดหนุนค่ารักษาพยาบาลจากภาครัฐเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยเห็นว่าจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคมที่มีอยู่ ตารางที่ 4-5 เป็นเกณฑ์ที่อายุรแพทย์ได้ให้ความเห็นเพื่อคัดเลือกผู้ป่วยเมื่อทรัพยากรมีจำกัด ซึ่งอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ได้คิดในการแก้ปัญหาสำหรับโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงต่างๆต่อไป อย่างไรก็ตามเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ป่วยนี้เป็นเพียงร่างความเห็นจากแพทย์ผู้ให้บริการพียงฝ่ายเดียว การได้รับความเห็นร่วมจากกลุ่มต่างๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป ผู้ป่วย นักวิชาการสาขาต่างๆ และผู้ที่มีหน้าที่ในการออกกฎระเบียบและนโยบายต่างๆ จะทำให้ได้ทางออกที่เป็นที่ยอมรับและเป็นไปได้ โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมในการให้บริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชน เมื่อทรัพยากรที่ใช้ในการรักษาพยาบาลมีจำกัดen_US
dc.format.extent429783 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectโรคไตen_US
dc.titleไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การเจ็บป่วยราคาแพง: ทางออกคืออะไรen_US
dc.typeArticleen_US
dc.subject.keywordไตวายเรื้อรังen_US
dc.subject.keywordการเจ็บป่วยen_US
.custom.citationวิชช์ เกษมทรัพย์, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร and สุวรรณา มูเก็ม. "ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การเจ็บป่วยราคาแพง: ทางออกคืออะไร." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/166">http://hdl.handle.net/11228/166</a>.
.custom.total_download1215
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month11
.custom.downloaded_this_year121
.custom.downloaded_fiscal_year23

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: DMJ9.pdf
ขนาด: 419.7Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย