แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมของผู้ที่สังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูล การพัฒนาและการนำไปใช้

dc.contributor.authorศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัยen_US
dc.contributor.authorSupasit Pannarunothaien_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:21:40Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:39:19Z
dc.date.available2008-12-04T05:21:40Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:39:19Z
dc.date.issued2541en_US
dc.identifier.otherhs0280en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1727en_US
dc.description.abstractการวินิจฉัยโรคร่วมของผู้ที่สังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูลการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในมีความสลับซับซ้อนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง ในสหรัฐอเมริกา สวัสดิการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุประสบปัญหาค่าใช้จ่ายสูงเพราะวิธีการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเป็นการเบิกจ่ายแบบย้อนหลังตามค่าใช้จ่ายจริง จึงเปลี่ยนวิธีการจ่ายเงินแก่สถานพยาบาลใหม่เป็นการตกลงราคาล่วงหน้า และใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis related group, DRG) เป็นหน่วยของราคาที่ยอมรับกันระหว่างหน่วยงานรัฐที่ดูแลสวัสดิการฯ และสถานพยาบาลต่างๆ ที่รักษาผู้ป่วย หลังจากนั้น กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมก็เป็นที่แพร่หลายในประเทศต่างๆ ทั้งนี้เพื่อการจ่ายเงินแก่สถานพยาบาลตามจำนวนผู้ป่วยแต่ละราย ไปจนถึงการจัดสรรงบประมาณลงสู่เขตการปกครอง และการเปรียบเทียบผลงานการให้บริการของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมมีความสอดคล้องกับบริบทของระบบสาธารณสุขในประเทศไทย เนื่องจากการจัดกลุ่มผู้ป่วยต้องการข้อมูลที่น่าจะมีอยู่แล้วในปัจจุบัน ได้แก่ การวินิจฉัยโรค หัตถการ/การผ่าตัด อายุผู้ป่วย วิธีการจำหน่ายผู้ป่วย เมื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดกลุ่มวินิฉัยโรคร่วมแล้ว ก็จะทำนายได้ว่า ผู้ป่วยรายนั้นจะต้องนอนรับการรักษาตัวในโรงพยาบาลนานเพียงใด และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาตลอดการนอนครั้งนั้นเป็นเงินเท่าใด ประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นสำหรับระบบสาธารณสุขของไทยคือ การนำมาใช้ในการจัดสรรงบประมาณในภาครัฐ การใช้เป็นหน่วยงานการจ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่สถานพยาบาลตามผู้ป่วยแต่ละราย การประเมินผลงานของโรงพยาบาลระดับต่างๆ การวิจัยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมที่ผ่านมาในประเทศไทย นำข้อมูลผู้ป่วยในของสถานพยาบาลต่างๆ มาจัดกลุ่มตามหลักการของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ที่ใช้ในสวัสดิการผู้สูงอายุในสหรัฐอเมริกา ฉบับแก้ไขครั้งที่ 10 ปี 1990 โดยใช้ข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วย ที่บันทึกด้วย ICD-10 (สำหรับการวินิจฉัยโรค) และ ICD-9-CM (สำหรับหัตถการผ่าตัด) ส่วนการคำนวณหาค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ ประมาณจากข้อมูลการให้บริการแก่ผู้ป่วยแต่ละรายในประเทศไทย โดยวิธีหาต้นทุนจากผู้ป่วย (patient-based costing) และการใช้อัตราส่วนต้นทุน : ราคา แปลงค่าราคาเป็นต้นทุน ซึ่งยังเป็นวิธีการวิจัยที่ยังไม่รู้ค่าต้นทุนที่แท้จริง เมื่อได้รับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์จากข้อมูลการวิจัยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมของผู้ที่สังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูล ข้อมูลจากโรงพยาบาลรามาธิบดี และแหล่งอื่นๆ จึงได้ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่สามารถนำไปใช้ในเบื้องต้น เช่น ใช้เป็นเครื่องวัดความซับซ้อนของโรคที่โรงพยาบาลให้การรักษา ใช้เพื่อจัดสรรงบประมาณหรือจ่ายเงินให้แก่โรงพยาบาลที่สอดคล้องกับความหนักเบาของโรคที่โรงพยาบาลนั้นๆ ดูแลรักษา การนำกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมมาใช้ในแผนการปฏิรูประบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ต้องออกแบบอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ ภายใต้กรอบของเพดานงบประมาณยอดรวม เพราะมิฉะนั้นอาจทำให้เกิดข้อเสียของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม โดยมีการบันทึกรหัสโรคสูงกว่าความเป็นจริง หรือการให้ผู้ป่วยกลับมานอนซ้ำในโรงพยาบาล การนำกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมมาใช้กับระบบสาธารณสุขไทย ต้องมีการปรับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงอย่างต่อเนื่อง (recalibration) ควรสร้างระบบที่สามารถได้ข้อมูลเพื่อปรับค่ามาตรฐานนี้ โดยให้ข้อมูลที่มีคุณภาพเหล่านี้ไหลเข้ามาจากสถานพยาบาลจำนวนมาก และผสมผสานด้วยการศึกษาต้นทุนตามระบบบัญชีต้นทุน เพื่อได้ต้นทุนที่แท้จริงรายกลุ่มโรค ในโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพสูงจำนวนหนึ่งth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1811018 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectPreventive Medicineen_US
dc.subjectDiseasesen_US
dc.titleกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมของผู้ที่สังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูล การพัฒนาและการนำไปใช้en_US
dc.title.alternativeDiagnosis related groups for the low income,development and applicationen_US
dc.description.abstractalternativeDiagnosis related groups for the low income, development and applicationInpatient services are complex and costly. The US Medicare, the elderly health benefit scheme, had faced uncontrollable expenses in the 1970s because the scheme reimbursed hospitals retrospectively. Diagnosis related group (DRG) was invented in the early 1980s to be used in a prospective payment system to control the rising cost. After it has been proved successful, DRG has migrated and been adopted into health care systems in many countries. Some use DRG on a case by case payment basis, some use DRG in a resource allocation formula and some use it to compare the hospitals' activities. DRG is considered non-foreign to the Thai health care context. Classifying cases into DRGs requires information that is readily available (diagnoses, operating room procedures, age, type of discharge). DRG can be used to predict the lengths of stay and resources used to treat patients in the hospitals, so we are able to use DRG for resource allocation, for case-based payment and for comparison between hospitals. Assigning patients into DRGs requires data on ICD-10 and ICD-9-CM (for diagnosis and procedure respectively)of individual patient. So far, research activities on DRG in Thailand based on the 10th revision of Health Care Financing Administration (HCFA-DRG). Relative weight for each DRG is estimated by using patient-based costing methodology and cost to charge conversion ratio, then compare the cost mean of each DRG to the average cost of all patients. After reviewing the weights from many piec of research results and with inpatient data from Ramathibodi hospitals, the final version of relative weights to be used in the Thai context is endorsed by the Health Insurance Office. The uses of DRGs are many folds. In 1997, allication of non-salary recurrent budget to 92 general and regional hospitals used the average relative weights to better reflect their case complexity and cost. The second example, relative weights for different schemes of the low income were used to estimate budget requirements if the Thai government were to propose a universal converage scheme to the majority of Thais. The third example, relative weights were used to evaluate hospital achievements. The future use of DRG within the global budget ceiling in the reform of civil servant medical benefit scheme should be cautiously laid out. Finally, if DRG is to be used in the Thai health care context, it needs to set the system that recalibration of DRG weight can be done systematically. The dataset for hospitals to report for each patient to be examined is the important strategy for continuity of the system. Finally, cost accounting studies in a few efficient hospitals need to be done to tell the true cost of providing care to each DRG.en_US
dc.identifier.callnoW74 ศ246ก 2541en_US
dc.subject.keywordกลุ่มวินิจฉัยโรคen_US
dc.subject.keywordการพัฒนาและการนำไปใช้en_US
.custom.citationศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย and Supasit Pannarunothai. "กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมของผู้ที่สังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูล การพัฒนาและการนำไปใช้." 2541. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1727">http://hdl.handle.net/11228/1727</a>.
.custom.total_download143
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0280.pdf
ขนาด: 1.925Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย