dc.contributor.author | สรชัย พิศาลบุตร | en_US |
dc.contributor.author | Sorachai Phisayaboot | en_US |
dc.contributor.author | พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร | en_US |
dc.contributor.author | จรีพร โกลากุล | en_US |
dc.contributor.author | นันทิดา อุ่นจันทร์ | en_US |
dc.contributor.author | นลิน เจนวิทย์วิชัยกุล | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:21:44Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:34:58Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:21:44Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:34:58Z | |
dc.date.issued | 2542 | en_US |
dc.identifier.other | hs0694 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1734 | en_US |
dc.description.abstract | การประเมินผลความพึงพอใจต่อโครงสร้างและระบบการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำรวจความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการต่อโครงสร้างและระบบการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พ.ศ. 2541 ในช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2541 โดยใช้วิธีส่งแบบสอบ-ถาม และการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อดูผลความพึงพอใจต่อโครงสร้างและระบบการทำงานใหม่ และการเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อโครงสร้างและระบบการทำงานใหม่กับโครงสร้างและระบบการทำงานเดิม ทำการประเมินตามงานที่ให้บริการโดยจำแนกตามหน่วยงานหรือกองในระบบเดิมได้แก่ กองควบคุมยา กองควบคุมอาหาร กองควบคุมเครื่องสำอาง กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ กองควบคุมวัตถุอันตราย และกองควบคุมวัตถุเสพติดเป็นหลัก ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้มารับบริการหรือสถานประกอบการ สรุปได้ว่าพนักงานของสถานประกอบการจะมีความพึงพอใจในบริการที่ได้รับในโครงสร้างและระบบงานใหม่โดยเฉพาะจากกองควบคุมเครื่องสำอางและกองควบคุมวัตถุอันตราย (ช่วงค่าความพึงพอใจระดับค่อนข้างมากอยู่ระหว่าง 3.50 ถึง 4.49) ซึ่งเป็นค่าความพึงพอใจที่มากกว่าเดิมเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระบบเดิมด้วย (ช่วงค่าความพึงพอใจมากกว่าเดิมเล็กน้อยอยู่ระหว่าง 3.50 ถึง 4.49) และเมื่อพิจารณาจากทั้งระดับความพึงพอใจของพนักงานสถานประกอบการที่มีต่อระบบงานใหม่และระดับความพึงพอใจต่อระบบงานใหม่เมื่อเทียบกับระบบงานเดิมไปพร้อม ๆ กัน จะประเมินจำแนกตามกองได้ว่า กองควบคุมเครื่องสำอางมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและระบบงานใหม่ดีและดีกว่าระบบเดิม ในขณะที่กองควบคุมยา กองควบคุมอาหารและกองควบคุมวัตถุอันตรายมีการปรับเปลี่ยนที่ดีกว่าระบบเดิม แต่ระบบงานใหม่ยังจะต้องแก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้ามกับกองควบคุมวัตถุเสพติดที่ระบบงานใหม่ได้รับการประเมินว่าดีแต่ยังด้อยกว่าระบบเดิมจึงต้องปรับปรุงแก้ไขเช่นกัน ส่วนกองที่สมควรแก้ไขปรับปรุงโดยด่วนเนื่องจากระบบงานใหม่ถูกประเมินว่ายังไม่ดีและด้อยกว่าระบบเดิมด้วยได้แก่ กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ เมื่อดูผลการสำรวจความรู้สึกของผู้บริหารสถานประกอบการเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคของระบบงานใหม่เมื่อเทียบกับระบบงานเดิม อาจสรุปได้ว่าระบบงานใหม่ในทุก ๆ กองดีกว่าระบบงานเดิม (ค่าเฉลี่ยระดับบริการสูงกว่า 3.0) แต่ยังไม่ดีกว่าระบบงานเดิมอย่างมีนัยสำคัญ (ค่าเฉลี่ยระดับบริการต้องสูงกว่า 3.49) ผลการสำรวจความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สรุปได้ว่าทั้ง เจ้าหน้าที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ และกลุ่มสนับสนุนมีความพึงพอใจต่อโครงสร้างและระบบงานใหม่ในระดับปานกลางค่อนไปทางมากเล็กน้อย (ระดับความพึงพอใจปานกลางมีค่าอยู่ระหว่าง 2.50 ถึง 3.49) โดยที่เจ้าหน้าที่กลุ่มผลิตภัณฑ์จะได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและระบบงานใหม่มากกว่าเจ้าหน้าที่กลุ่มสนับสนุน และเมื่อประเมินผลการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและระบบงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยพิจารณาจากทั้งระดับความพึงพอใจต่อระบบงานใหม่และความพึงพอใจต่อระบบงานใหม่เมื่อเทียบกับระบบงานเดิมไปพร้อม ๆ กัน เจ้าหน้าที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเมินว่าระบบงานใหม่ยังไม่ดีแต่ยังดีกว่าระบบเดิม ซึ่งส่วนที่ต้องแก้ไขปรับปรุงมากที่สุดคือ ด้านความสะดวกรวดเร็วในการติดต่องานและการประสานงาน ส่วนเจ้าหน้าที่กลุ่มสนับสนุนประเมินว่าระบบงานใหม่ยังไม่ดีและด้อยกว่าระบบเดิม จะต้องแก้ไขปรับปรุงในทุก ๆ ด้าน ได้แก่ ความสะดวกรวดเร็วในการติดต่องานและการประสานงาน ความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม ตลอดจนคุณภาพการทำงานโดยรวม และคุณภาพในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Food and Drug Administration--Thailand | en_US |
dc.subject | Food and Drug Administration--administration and organization | en_US |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | en_US |
dc.title | การประเมินผลความพึงพอใจต่อโครงสร้างและระบบการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พ.ศ. 2541 | en_US |
dc.title.alternative | The satisfaction evaluation on the re-structured system of the Food and Drug Administration(FDA) | en_US |
dc.description.abstractalternative | The Satisfaction Evaluation on the Re-structured System of the Food and Drug Administration(FDA) In order to effectively guarantee consumers and clients of FDA the utmost satisfaction, the evaluation on the newly-designed operational system has been initiated and applied to officials in charge and clients involved with the service delivery of FDA. During October to December 1998, a questionnaire and an interviewing on a level of officials and clients’ satisfaction had been distributed to those targeted groups, evaluated and compared with the former operational system in each individual division, ranging from Drug Control Division, Food Control Division, Cosmetics Control Division, Medical Device Control Division, Toxic Substances Control Division to Narcotics Control Division. In general, clients of FDA using the new system of service delivery do content with the re-structuring, especially in Cosmetics Control Division and Toxic Substances Control Division ( the range is between 3.50-4.49). More specifically, when compared with the former system, the results are as follows:The re-structuring is better off by far when applied to the Cosmetics Control Division.The re-structuring is somewhat better than the previous system when applied to Drug Control Division, Food Control Division and Toxic Substances Control Division. However, some possible adjustments would increase more efficiency and satisfaction .The re-structuring is acceptable but less satisfied clients than the previous system was when applied to the Medical Device Control Division. In sum, the evaluation reflected overall satisfaction on the re-structured system when compared to the former one (the range is above 3.0) but was not as outstanding as it has been expected. With regard to the level of satisfaction among officials involved in the FDA, a production division and a support division are contented with the re-structuring (the range is between 2.5-3.49). When compared with the previous system, the production division is convinced that the new one is less satisfied and is expected to be developed both in terms of the promptness of coordination and cooperation. With respect to the supporting division, the evaluation also turned out to be negative in which it implies that the new one does need a strong determination from FDA to develop in almost every sense, from coordination, efficiency, responsibility to overall effectiveness and quality of service delivery. | en_US |
dc.identifier.callno | QV737 ศ813ค 2542 | en_US |
dc.subject.keyword | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา | en_US |
dc.subject.keyword | ความพึงพอใจ | en_US |
.custom.citation | สรชัย พิศาลบุตร, Sorachai Phisayaboot, พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร, จรีพร โกลากุล, นันทิดา อุ่นจันทร์ and นลิน เจนวิทย์วิชัยกุล. "การประเมินผลความพึงพอใจต่อโครงสร้างและระบบการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พ.ศ. 2541." 2542. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1734">http://hdl.handle.net/11228/1734</a>. | |
.custom.total_download | 104 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 0 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |