Show simple item record

Study of group process in diabetic patients at Phapak hospital Nakhonphanom province

dc.contributor.authorสุพัฒน์ สมจิตรสกุลen_US
dc.contributor.authorSupat Somchirtsakulen_US
dc.contributor.authorพรรณทิวา สมจิตรสกุลen_US
dc.contributor.authorทิพย์สุดา หริกุลสวัสดิ์en_US
dc.contributor.authorกรรณิการ์ รัชอินทร์en_US
dc.contributor.authorมติกา สุนาen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:21:51Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:46:02Z
dc.date.available2008-12-04T05:21:51Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:46:02Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs0787en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1748en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการคลินิกเบาหวาน ในโรงพยาบาลปลาปาก สามารถให้บริการได้สอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วย และสามารถสร้างความตระหนักให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตน ระบบเดิมเป็นการให้บริการรวมกับผู้ป่วยนอกทั่วไป ให้บริการทุกวันพุธ เวลา 08.00-12.00 น. ผู้ป่วยได้รับการชั่งน้ำหนัก ตรวจวัดความดันโลหิต เจาะเลือดเพื่อตรวจระดับน้ำตาล และรอพบแพทย์ ในระหว่างที่รอพบแพทย์ ผู้ป่วยจะได้รับการสอนสุขศึกษาตามหัวข้อที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ ขั้นตอนการวิจัยเริ่มด้วยการวิเคราะห์การให้บริการระบบเดิม และพบว่า ข้อเสียของระบบบริการเดิมคือการให้บริการมีหลายขั้นตอน และยุ่งยาก ผู้ป่วยที่อดอาหารเช้ามา อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ถ้าต้องรอพบแพทย์นาน และผู้ป่วยได้รับคำแนะนำไม่ตรงกับปัญหาและความต้องการ และไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้ ขั้นตอนที่ 2 เป็นการวางแผน ผู้วิจัยมีความเชื่อว่า กระบวนการกลุ่มจะช่วยให้ทราบปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วย และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในกลุ่มจะช่วยสร้างความตระหนักให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญในการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมอาการของโรค จึงวางแผนใช้กระบวนการกลุ่มมาเป็นกลยุทธ์ในการให้บริการในคลินิกเบาหวาน โดยร่วมมือกับผู้ป่วยในการที่จะหาวิธีจัดระบบบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย เป็นการแก้ปัญหาที่พบจากการให้บริการระบบเดิม หลังจากนั้นก็จะประเมินผลว่าระบบการให้บริการแบบใหม่นี้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยหรือไม่ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวได้ดีขึ้นหรือไม่ ผู้ป่วยมีความเห็นต่อระบบใหม่อย่างไร โดยประเมินจากผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และการปฏิบัติตนเปรียบเทียบก่อนและหลังการให้บริการระบบใหม่ ผลการพัฒนาระบบบริการ มีการแยกหน่วยบริการผู้ป่วยเบาหวานออกจากการให้บริการผู้ป่วยทั่วไป เพิ่มวันในการให้บริการเป็น 2 วันคือ วันพุธ และวันศุกร์ วิธีการให้สุขศึกษาเปลี่ยนแปลงจากการให้สุขศึกษาตามแผนมาเป็นการจัดทำกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานแทน โดยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้ในการปฏิบัติตัว ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย ก่อนและหลังการเข้ากลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนเข้ากลุ่ม และ หลังเข้ากลุ่ม 1 เดือน โดยใช้สถิติ Pair T-test พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 การปฏิบัติตัวเพื่อดูแลตนเองของผู้เข้าร่วมโครงการ พบว่า การปฏิบัติตัวเพื่อดูแลตนเองในด้านการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาและการแสวงหาการรักษาพยาบาล การดูแลสุขวิทยาของร่างกายและเท้า การผ่อนคลายความเครียด และ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมของโครงการ หลังจากการวิจัยนี้เจ้าหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงในแง่ของทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วย มีการปรับท่าทีและบทบาทจากผู้ทำหน้าที่สอนชี้นำ ด้วยคิดว่าตนเองมีความรู้มากกว่า มาเป็นการให้บริการที่เน้นการรับฟังข้อคิดเห็นของผู้รับบริการ เคารพการตัดสินใจของผู้ป่วย ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ และเป็นบทเรียนที่สำคัญยิ่ง อาจกล่าวได้ว่ากระบวนการนี้เป็นกระบวนการพัฒนาบุคลากรและหน่วยงานนั่นเองen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent582497 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectDisbetes (Disease)en_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.titleการพัฒนาระบบการให้บริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลปลาปาก จังหวัดนครพนมen_US
dc.title.alternativeStudy of group process in diabetic patients at Phapak hospital Nakhonphanom provinceen_US
dc.description.abstractalternativeA study of group process in diabetic This study is an application of action research to improve diabetic outpatient service at Plapak Hospital, Nakhonpanom Province. The existing service was run through general outpatient service every Wednesday 8 -12 am. The regular services for diabetic patients included; weighing, blood pressure taking, fasting blood sugar testing, and seeing a physician for medication. While waiting for seeing physician, group health education was conducted by health personnel. In situation analysis, The first step of conducting action research, limitations of the existing service were defined. Firstly, it took times since patients had to do many stops, this might cause them hypoglycemia. Secondly, health education as such was not applicable for patients’ problems. The second stage, 17 insulin-independent diabetic patients were purposively selected to join as research participants. Group discussion technique was introduced to encourage patients’ participation to share their problems as well as ways to solve such problems. The following stage was evaluation. Results from research participants were the feedback of the new service system developed. The service system was rearranged as following: diebetic clinic was seperatety set up from general outpatient clinic; the service was run in every Wednesday and Friday morning; and patient-driven health education which based on self-help group concept was used. The scores of fasting blood sugar, body weight as well as self-care practice on dietary control, pesonal hygiene and foot care, exercise, medication and help-seeking behavior before and after new service system intervention were found statistical significant at 0.05 level by paired-T-test. Patients’ satisfaction in terms of having a say and being recognition were much higher. Consequently, patient were aware that it was their responsibility in living with diabetes. This enabled them to arrange their own self-help group at their villages. The outcome of this research also provided the lessons for health personnel. They changed their way of viewing patients, listened to them more and worked with them as equal partners.en_US
dc.identifier.callnoWL355 ส831ก 2544en_US
dc.subject.keywordAction Researchen_US
dc.subject.keywordSelf-help Groupen_US
dc.subject.keywordOutpatients Serviceen_US
dc.subject.keywordDistrict Hospitalen_US
dc.subject.keywordDiabetes Mellitusen_US
dc.subject.keywordเบาหวานen_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลปลาปากen_US
dc.subject.keywordการวิจัยเชิงปฏิบัติการen_US
dc.subject.keywordผู้ป่วยเบาหวานen_US
dc.subject.keywordคลินิกเบาหวานen_US
.custom.citationสุพัฒน์ สมจิตรสกุล, Supat Somchirtsakul, พรรณทิวา สมจิตรสกุล, ทิพย์สุดา หริกุลสวัสดิ์, กรรณิการ์ รัชอินทร์ and มติกา สุนา. "การพัฒนาระบบการให้บริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลปลาปาก จังหวัดนครพนม." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1748">http://hdl.handle.net/11228/1748</a>.
.custom.total_download485
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year18
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs0787.pdf
Size: 381.7Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record