แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

โครงการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาผลกระทบของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีต่อกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค กรณีศึกษาใน 4 จังหวัด

dc.contributor.authorพีระมน นิงสานนท์th_TH
dc.contributor.authorPeeramon Ningsanonden_US
dc.contributor.authorพัฒน์พงษ์ อุดมพัฒน์th_TH
dc.contributor.authorศิริพร ขุมทองth_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:21:55Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:44:51Z
dc.date.available2008-12-04T05:21:55Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:44:51Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1166en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1758en_US
dc.description.abstractการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นแนวทางหลักที่มีความสำคัญของยิ่งของกระทรวงสาธารณสุข และได้มีการดำเนินการและพัฒนาการมาอย่างยาวนาน ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งระบบสาธารณสุขจากโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วย โดยได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงจากเรื่อง การจัดสรร งบประมาณ การกระจายบุคลากร การบริหารจัดการ การประเมินผลงาน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรคในด้านต่าง ๆ ดังกล่าว และผลต่อคุณภาพของกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพตามสิทธิประโยชน์หลัก ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยศึกษาใน 4 จังหวัด คือ สุรินทร์ พังงา ลำพูน และนครสวรรค์ เน้นวิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนและPCU/สถานีอนามัย ผลการวิจัยพบว่า ปี 2545 การจัดสรรงบประมาณไปยัง PCU มีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ส่งผลให้มีการมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดสรรในแต่ละจังหวัดในปี 2546 เป็นไปอย่างมีรูปแบบมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดงบประมาณขั้นต่ำที่จะต้องจัดสรรให้ PCU/สอ. การจัดสรรงบดำเนินการให้โดยตรงจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทำให้การบริหารงานใน PCU/สอ. มีความคล่องตัวยิ่งขึ้นมีกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น รูปแบบการจัดสรรงบประมาณควรเน้นให้เกิดการสร้างแรงจูงใจในการทำงานส่งเสริมสุขภาพในระดับ PCU ให้ได้ การแบ่งส่วนงบประมาณในการจ่าย เพื่อทำแผนงานโครงการควรทำอย่างรอบคอบเป็นระบบ และต้องมีหน่วยติดตามกำกับที่เข็มแข็งในระดับ CUP การกระจายบุคลากรลงสู่พื้นที่ยังไม่บรรลุผลเท่าที่ควร ในการพยายามให้มีแพทย์หรือพยาบาลประจำ PCU ส่วนหนึ่งเพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงการจัดสรรงบเงินเดือนบุคลากรแบบที่กันเงินเดือนไว้ในระดับ CUP ในปี 2545 ไปเป็นกันเงินเดือนไว้ในระดับจังหวัดในปี 2546 การบริหาร เครือข่ายบริการในรูปคณะกรรมการบริหาร CUP ยังมีปัญหาในเรื่องการบริหารบุคคล เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานโดยเฉพาะใน PCU หรือ สถานีอนามัย มีความสับสนในระบบการบังคับบัญชา เรื่องทิศทางของนโยบายต่าง ๆ ไม่เป็นไปในทางเดียวกัน เจ้าหน้าที่เกิดความไม่แน่ใจในแนวทางปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่มีผลกระทบทำให้ปริมาณกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ทำอยู่ก่อนหน้านี้ลดลง ส่วนในด้านคุณภาพยังไม่สามารถสรุปได้งานวิจัยนี้แบ่งการวิเคราะห์กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่เริ่มมีนโยบายและวิธีการหลังมีโครงการ UC ได้แก่ งานสำรวจและใช้งานแฟ้ม ครอบครัว งานคัดกรองกลุ่มเสี่ยง งานส่งเสริมสุขภาพในประชาชนทั่วไปกลุ่มที่มีนโยบายและวิธีการชัดเจนตั้งแต่ก่อนมีโครงการ UC ได้แก่ งานเยี่ยมบ้าน งานแม่และเด็ก งานเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน งานวางแผนครอบครัวพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณและคุณภาพของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพหลังนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเฉพาะในด้านผู้ให้บริการ ได้แก่ รูปแบบจัดสรรงบประมาณ ความสม่ำเสมอ และสิ่งสนับสนุน การวางแผนการใช้ทรัพยากรและการกำหนดกลุ่มเป้าหมายร่วมกันใน CUP การนิเทศติดตาม กำกับ และประเมินผลอย่างต่อเนื่องการปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่ต่องานสร้างเสริมสุขภาพ รูปแบบใหม่ การสร้างความสัมพันธ์กับอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ และประสิทธิภาพของระบบรายงานth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1103012 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Insurance Systemsen_US
dc.subjectHealth Promotionen_US
dc.subjectHealth Prevention and Controlen_US
dc.subjectHealth Aadministrationen_US
dc.subjectHealth Policyen_US
dc.subjectInsurance Healthen_US
dc.subjectระบบประกันสุขภาพen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleโครงการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาผลกระทบของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีต่อกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค กรณีศึกษาใน 4 จังหวัดth_TH
dc.title.alternativeThe qualitative research for studying the impact of universal coverage insurance policy on the heath promotion and disease prevention in 4 provincesen_US
dc.description.abstractalternativeThe health promotion and disease prevention is the important issue in Ministry of Public Health that has been developed and progressed for a long time. While, the public health system changed from the Universal coverage insurance policy has also impact on changing in the heath promotion and disease prevention by taking the result of this budget allocation, health personnel allocation, managing administration, achievement evaluation. The purpose of research is for studying the impact of Universal coverage insurance policy on these health promotion and disease prevention aspects. Moreover, the result for the quality of health promotion activity in Universal coverage insurance policy by studying in four provinces, which are Surin, Phang-nga, Lumphun, and Nakonsawan emphases on the qualitative method collection from the central hospital, general hospital, and PCU/heath center. The result of the research found that there are various models of budget allocation in each province in 2002. Some problems in the system occur from them. Method in budget allocation was changed in each province in 2003 such as to setting the minimum budget that have to allocate to PCU/health centre. The directly budget allocation from provincial health office makes administration management in PCU/health centre more flexible in health promotion activity. The model of budget allocation that helps personnel expect should emphasis on making motivation in health promotion activity in the level of PCU. The budget allocation in paying out for handling project plan should make it well organizes, and must have strongly monitoring and evaluation unit in CUP level. The health personnel allocation to health center/PCU is not successful in attempting to have doctor or nurse in PCU. Perhaps, the cause is the salary budget allocation changed from capitation, which included salary in CUP level in 2002 to included salary in provincial level in 2003. The CUP’s board system also has a problem about personnel administration, health officer especially, in PCU or health centre have the confusion about the line of command and direction of policy, which do not go in the same way. The health officer is not sure in doing their activities. However, the Universal coverage insurance policy has not impact on number of health promotion activity, but the impact of quality cannot summarize.This research allots the health promotion and disease prevention activity analysis into 2 groups.The group that has policy and method after having the Universal coverage insurance policy such as family folder, and health examination in risk group.The group that has policy and obvious method before having the Universal coverage insurance policy such as home visit, mother and child care, EPI program, and family planning activity, and health promotion in community. It found that there are the factors, which has impact on the quality and quantity of health promotion activity after the Universal coverage insurance policy in service provider aspect; example of, the budget allocation form, consistency and supporting factor, resource planning, participating setting same goal in the CUP, continuously monitoring demonstration, supervising, and evaluation, adjustment of attitude in health care personnel in new paradigm of health promotion, making relation with the health volunteer, and efficiency of health report systems.en_US
dc.identifier.callnoWA540 พ798ค [2547?]en_US
dc.identifier.contactno46ค061en_US
.custom.citationพีระมน นิงสานนท์, Peeramon Ningsanond, พัฒน์พงษ์ อุดมพัฒน์ and ศิริพร ขุมทอง. "โครงการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาผลกระทบของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีต่อกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค กรณีศึกษาใน 4 จังหวัด." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1758">http://hdl.handle.net/11228/1758</a>.
.custom.total_download84
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1166.PDF
ขนาด: 611.1Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย