dc.contributor.author | นิธินาถ เอื้อบัณฑิต | en_US |
dc.contributor.author | Nithinat Auabandit | en_US |
dc.contributor.author | มงคลรัตน์ อุ่นแก้ว | en_US |
dc.contributor.author | มยุรีย์ คำอ้อ | en_US |
dc.contributor.author | มลทา ทายิดา | en_US |
dc.contributor.author | ยุวดี อดทน | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:21:58Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:44:56Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:21:58Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:44:56Z | |
dc.date.issued | 2544 | en_US |
dc.identifier.other | hs0809 | en-EN |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1767 | en_US |
dc.description.abstract | โรคปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และการใช้ยาชุดของประชาชน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และสาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อและข้อ วิธีการดูแลตนเองเมื่อมีอาการปวด และการกระจายของยาชุดแก้ปวดกล้ามเนื้อในชุมชน เขตอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น รูปแบบการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงสำรวจพรรณนา (Descriptive survey study) สถานที่ทำการศึกษา : ชุมชนเขตอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง : -แหล่งจำหน่ายยาชุด 86 แห่ง ในหมู่บ้าน 12 หมู่บ้านที่ได้รับการสุ่มเลือกจากหมู่บ้านทั้งหมดของอำเภอน้ำพองโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ได้รับการสุ่มเลือกทั้ง 12 แห่ง จำนวน 685 คน (ทำการสุ่มเลือกมาแบบ Cluster randomization โดยใช้หลังคาเรือนเป็นหน่วยสุ่ม) วิธีการ : -ทำการล่อซื้อยาชุดจากแหล่งจำหน่ายในหมู่บ้านที่ได้รับการสุ่มเลือก แล้วทำการสำรวจโดยเปิดเผยซ้ำ นำยาที่ได้มาทั้งหมดไปวิเคราะห์ชนิดของยา เปรียบเทียบยาชุดที่ได้จากการสำรวจทั้งสองวิธี -สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างถึงอาการปวดและพฤติกรรมการรักษาตนเอง แล้วทำการตรวจร่างกายผู้ที่มีอาการปวดภายใน 7 วันก่อนการให้สัมภาษณ์ เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดโดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรคมาตรฐานที่กำหนดโดย American Rheumatism Association ผลการวิจัย : มีการจำหน่ายเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อในร้านชำทุกร้านของหมู่บ้าน จำนวน 68 แห่ง และพบแหล่งขายตรงจากการล่อซื้ออีก 18 แห่ง พบยาชุดทั้งสิ้น 51 รูปแบบ เมื่อทำการวิเคราะห์ตัวยาพบว่าในจำนวนนี้ ร้อยละ 10 มี corticosteroid เป็นส่วนประกอบอย่างเดียว ร้อยละ 16 มีเฉพาะ NSAIDs เป็นส่วนประกอบ และร้อยละ 71 มียาทั้งสองกลุ่มเป็นส่วนประกอบ corticosteroid ที่พบทั้งหมดอยู่ในรูปของ dexamethasone ขนาด 1-3 เม็ดต่อชุด ส่วน NSAIDs พบ Indomethacin และ Phenylbutazone เป็นส่วนใหญ่ ประชากรกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 74 เคยมีปัญหาเรื่องปวดกล้ามเนื้อและข้อ ผู้ที่มีอาการปวดภายใน 7 วันพบถึงร้อยละ 43 สาเหตุของอาการปวดส่วนใหญ่เกิดจากการทำงาน ภาวะที่พบมากที่สุดคือปวดหลังส่วนล่างพบร้อยละ 54 โดยมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อหลังยอกและข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อมมากที่สุด ภาวะที่พบรองลงมา ได้แก่ เอ็นรอบข้ออักเสบร้อยละ 25 myofacial pain syndrome ร้อยละ 17 ข้อเสื่อมร้อยละ 17 โรคข้ออักเสบเรื้อรังที่ต้องการการรักษาต่อเนื่องพบเพียงร้อยละ 9 จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เคยมีอาการปวดทั้งหมด 508 ราย พบว่าร้อยละ 58 เคยกินยาชุด ส่วนใหญ่กินเป็นครั้งคราวเมื่อเกิดอาการ มีผู้ที่กินยาชุดเป็นประจำมีร้อยละ12.5 ในจำนวนนี้ 1 ใน 4 ยอมรับว่ากินยาชุดทุกวัน กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 95 ทราบว่ายาชุดมีอันตรายโดยมีแหล่งข้อมูลที่สำคัญคือ สื่อโฆษณาและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่เมื่อมีอาการปวดร้อยละ 68 เลือกที่จะรักษาตัวเอง โดยร้อยละ33 ซื้อยาชุดกินเองแม้จะทราบว่ายาชุดมีอันตรายเนื่องจากสะดวก หาง่าย และราคาถูก ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกวิธีรักษาของกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด ได้แก่ ประสบการณ์ในอดีตและคำแนะนำจากญาติและเพื่อน วิธีการรักษาอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้ยาชุดที่เป็นที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ การนวดและการประคบร้อน รองลงมา ได้แก่ การไปรับการรักษาตามสถานพยาบาลแผนปัจจุบัน แต่มีเพียงร้อยละ 6.7 เลือกไปสถานีอนามัยทั้งที่เป็นสถานพยาบาลที่ใกล้บ้านมากที่สุด สรุปผลและข้อเสนอแนะ : ยาชุดซึ่งมียาอันตรายเป็นส่วนประกอบยังเป็นปัญหาของชุมชน มีการกระจายของยาอยู่ทั่วไปในหมู่บ้าน ประชาชนหาซื้อได้ง่ายและเป็นที่นิยมแม้ประชาชนส่วนใหญ่จะทราบถึงอันตรายของยาชุดก็ตาม อาการปวดข้อและกล้ามเนื้อที่พบในชุมชนส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานและใช้เวลาในการรักษาไม่นาน โรคทางรูมาติซั่มที่เรื้อรังและรักษายากพบได้น้อยมากในชุมชน เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับการปวดกล้ามเนื้อและข้อประชาชนมักเลือกวิธีที่สะดวก ราคาถูกและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของตนเอง วิธีการแก้ปัญหาการใช้ยาชุดแก้ปวดเมื่อยในชุมชนควรให้ทางเลือกในการรักษาที่เน้นความสะดวก ง่าย ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เช่น การแพทย์แผนไทย การนวดและการประคบ ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยให้สามารถดูแลรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อที่พบบ่อยในชุมชนได้ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 2780258 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Muscular Diseases | en_US |
dc.subject | Khon Kaen | en_US |
dc.subject | กล้ามเนื้อ--โรค | en_US |
dc.subject | ข้อ,โรค | en_US |
dc.subject | ขอนแก่น | en_US |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การศึกษาโรคปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และการใช้ยาชุดของประชาชนอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น | en_US |
dc.title.alternative | A community survey of musculoskeletal pain and manangement in Namphong district, Khon Kaen province | en_US |
dc.description.abstractalternative | A Community Survey of Musculoskeletal Pain and Management In Namphong District, Khon Kaen ProvinceObjective: Studying of incidence and cause of muscleskeletal pain and epidermiologic of Ya-chud in Namphong district, Khon Kaen Province.Study design: Descriptive survey studyLocation of study: Rural community in Namphong district, Khon Kaen Province.Sample Population:Distributor of Ya-chud in 12 villages of Namphong district which simple random sampling amount 86 distributors.Population in Namphong district,who age over 15 years-old,lived in the villages amount 685 persons which clustur random sampling.Methadology:Surrogate survey and open survey on distributors in the villages. Analyted component of Ya-chud and compared between two-way.Interviewed sample population in musculoskeletal pain and self-care,then examination in sample who had musculoskeletal pain recently on 7 days before interviews to diagnosis caused of musculoskeletal pain by American Rheumatism Association.Result: Groseries in rural villages had Ya-chud and surrogate survey had directed sale Ya-chud amount 18. Total Ya-chud which surveyed have 51 types. Analytical component in each type,10% had corticosteroid only,16% had NSAIDs only,71% have corticosteroid plus NSAIDs. Corticosteroid had dexamethasone since 1 to 3 tablets in each set. Almost NSAIDs had indomethacine and/or phenylbutazone. 74% of population used to musculoskeletal pain; 43% had pain recently 7 days before interviewed. Cause of musculoskeletal pain refered from work.Examination in patient who had pain recently amount 264;54% is LBP, 25% is soft- tissue rheumatism,17% is myofacial pain syndrome,17% is peripheral osteotitis,prolong treatment is 9%. Caused of LBP from back muscle strian and L-spondylosisInterviewed on population who had musculoskeletal pain 508 and 58% used to use Ya-chud for pain when they had pain syndrome; 12.5% used to use Ya-chud and ¼ used every day. 95% of population had known side effect from health worker and advertising ,68% used to treatment when they had pain syndrome and 33% choose to used Ya-chud because of convenient and low price. Impact of decision to treated from experience and household.Excepted Ya-chud they had massage and hot compress.Health facility has popular too; 6.7% choose to go to health center because nearly house.Conclusion and dissicustion :Ya-chud had dangerous component and community problem ;they had distributed in general of rural community of Thailand. Population bought freedom from groserlies, although they known side effect from Ya-chud. Musculoskeletal had refered from work and short-course therapy. Chronic rheumatism disease which prolong treatement had few in community. When they had pain symtom,they choose to low cost treatment, comfortable and related daily life. Solved of Ya-chud is present convenience treatment , low price ad effectiveness, such as massage, compress and develop health worker of health center to treat simple musculoskeletal diseases in community. | en_US |
dc.identifier.callno | WE550 น612ก 2544 | en_US |
dc.subject.keyword | Musculoskeletal Pain | en_US |
dc.subject.keyword | โรคปวดข้อ | en_US |
dc.subject.keyword | โรคปวดกล้ามเนื้อ | en_US |
dc.subject.keyword | การใช้ยา | en_US |
dc.subject.keyword | ยาชุด | en_US |
.custom.citation | นิธินาถ เอื้อบัณฑิต, Nithinat Auabandit, มงคลรัตน์ อุ่นแก้ว, มยุรีย์ คำอ้อ, มลทา ทายิดา and ยุวดี อดทน. "การศึกษาโรคปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และการใช้ยาชุดของประชาชนอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1767">http://hdl.handle.net/11228/1767</a>. | |
.custom.total_download | 803 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 17 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 4 | |