dc.contributor.author | วีระศักดิ์ พุทธาศรี | th_TH |
dc.contributor.author | Weerasak Putthasri | en_US |
dc.contributor.author | สมหญิง สายธนู | th_TH |
dc.contributor.author | วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร | th_TH |
dc.contributor.author | Somying Saithanu | en_US |
dc.contributor.author | Viroj Tangcharoensathien | en_US |
dc.contributor.author | สำนักงานนโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:22:11Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:45:23Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:22:11Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:45:23Z | |
dc.date.issued | 2546 | en_US |
dc.identifier.other | hs1041 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1797 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจที่มีต่อธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน รวมถึงการปรับตัวและผลลัพธ์จากการดำเนินการ ข้อมูลจะประกอบด้วยเอกสารการดำเนินการ รายงานการเงินและการสัมภาษณ์ผู้บริหารของโรงพยาบาลตัวอย่าง 75 แห่ง ร่วมกับข้อมูลจากโครงการสำรวจโรงพยาบาลเอกชนปี พ.ศ. 2544 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ส่วนมุมมองของการกำหนดนโยบายได้จากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมโรงพยาบาลเอกชน สถาบันการเงิน และผู้ที่กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง โดยเก็บข้อมูลการดำเนินการของโรงพยาบาลได้ 29 แห่ง (38.6%) ร่วมกับข้อมูลโครงการสำรวจโรงพยาบาลเอกชนจำนวน 326 แห่ง สัมภาษณ์ผู้บริหารโรงพยาบาลจำนวน 31 แห่ง (41.3%) ร่วมกับการวิเคราะห์รายงานการเงินของโรงพยาบาล 62 แห่ง (82.6%) จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าศักยภาพและการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชน พ.ศ. 2544 โรงพยาบาลเอกชนมีการกระจายหนาแน่นอยู่ในภาคกลางมากที่สุด รองลงมาคือ กรุงเทพฯ โดยโรงพยาบาลขนาดไม่เกิน 50 เตียงมีจำนวนมากที่สุด (53.37%) มีจำนวนผู้ป่วยในมารับบริการเฉลี่ย 4,569 รายต่อแห่งและผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 181.94 ครั้งต่อแห่งต่อวัน จำนวนวันป่วยนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 4.55 วันต่อคน อัตราครองเตียงเฉลี่ยทั้งประเทศที่ 38.76% และระหว่าง ปี 2539-2543 มีการลดลงของจำนวนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในสถานการณ์ลงทุนและการเงินของโรงพยาบาลเอกชน ในปี 2543 โรงพยาบาลได้จดทะเบียนประกอบการในรูปบริษัทจำกัดหรือบริษัทจำกัด (มหาชน) มากที่สุด (72.09%) การลงทุนส่วนใหญ่จะอาศัยเงินลงทุนภายประเทศ (92.64%) ผลการดำเนินการในปี พ.ศ. 2543 ในภาพรวมยังขาดทุนเฉลี่ย 9.50 ล้านบาทต่อโรงพยาบาล โดยมีเพียงโรงพยาบาลขนาดมากกว่า 200 เตียงเท่านั้นที่มีค่าเฉลี่ยรายได้เป็นบวก คือ 20.58 ล้านบาท สำหรับสภาพคล่องของธุรกิจ มีเพียงหนึ่งในสาม(35.48%) เท่านั้นที่มีค่าเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) เป็นบวก ซึ่งจะสอดคล้องกับค่าอัตราส่วนอัตราส่วนเงินสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Ratio) อย่างไรก็ตามแม้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มากกว่า 200 เตียงจะมีเงินทุนหมุนเวียนติดลบมาก แต่ค่าอัตราส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนจะดีกว่าโรงพยาบาลขนาดอื่นๆ สำหรับโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นหน่วยการลงทุนหมวดสุขภาพมีจำนวน 10 แห่ง (ไม่นับ 3 กลุ่มมีผลประกอบการต่ำกว่าที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้ต้องอยู่ในหมวดบริษัทที่ต้องปรับปรุงกิจการ) พบว่ายอดขายที่เป็นการบริการรักษาพยาบาล ต้นทุนการบริการและกำไรขั้นต้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่กำไรสุทธิในช่วงเริ่มต้นวิกฤติเศรษฐกิจจะมียอดขาดทุนเป็นครั้งแรก แต่เมื่อถึงปี 2544 ยอดกำไรสุทธิเริ่มสูงขึ้นเป็นบวก โดยน่าจะมีผลร่วมจากโครงสร้างบัญชีและการแก้ไขจัดการลงทุน เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นต้น ส่วนการลงทุนภาพรวมโรงพยาบาลเอกชนพบว่าจะมีสัดส่วนที่เป็นสินทรัพย์ถาวรมากกว่าส่วนทุน (Efficiency Ratio > 1.0) เนื่องมาจากมีการลงทุนสร้างอาคารและอุปกรณ์ไปมาก และได้ส่งผลกระทบกับเงินทุนหมุนเวียนของการดำเนินกิจการในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ผลกระทบและลักษณะการปรับตัวหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ มีจำนวนโรงพยาบาล 76.99% ที่ได้รับผลกระทบกับจำนวนผู้ป่วยใน รองลงมาเป็นผลกระทบต่อจำนวนผู้ป่วยนอก (69.33%) ซึ่งโรงพยาบาลขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบของจำนวนผู้ป่วยมากกว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มที่จ่ายเงินค่ารักษาเอง เนื่องจากกำลังซื้อของประชาชนลดลง และการลดสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการในการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลจำต้องลดพื้นที่บริการลดลงตามจำนวนผู้มารับบริการไปด้วยและหันมาสนใจกลุ่มประกันสังคมมากขึ้น โรงพยาบาลทุกขนาดต่างก็มีภาระหนี้สินที่มีดอกเบี้ยแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะปี 2541-2543 โรงพยาบาลขนาด 51-100 เตียง ทั้งหมดต้องรับภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น โดยค่าเฉลี่ยของภาระดอกเบี้ยของโรงพยาบาลที่มีหนี้สินนั้นจะสูงขึ้นตามขนาดของโรงพยาบาล การปรับตัวที่เกิดขึ้นมีทั้งลดขนาดและปิดกิจการ หลังวิกฤติเศรษฐกิจหนึ่งปีเริ่มมีโรงพยาบาลบางแห่งขอลดขนาดจำนวนเตียงลง 6 แห่ง และมี 43 แห่งที่ขอปิดกิจการเลย ส่วนจำนวนบุคลากรในระบบไม่ได้ลดจำนวนมากนักเพียงแต่จะได้รับผลกระทบในเรื่องค่าตอบแทน เช่น การปรับลดเงินเดือน นอกจากนี้ยังมีการขยายบริการอื่นๆ ที่นิยม ส่วนใหญ่เป็นการจัดชุดบริการแบบเหมาจ่าย เช่น การคลอด การตรวจสุขภาพ เป็นต้น แนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจ คู่แข่งรายใหม่ที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชนเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยากเพราะ อุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชนใช้เงินลงทุนสูง ต้นทุนของการเริ่มผลิตสูง เช่น ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากร และเครื่องมือแพทย์ อีกทั้งการหาแพทย์และการชักจูงแพทย์เข้ามาทำงานในโรงพยาบาลเอกชนเปิดใหม่ทำได้ยาก อาจเป็นโอกาสให้ผู้ป่วยเพิ่มอำนาจการต่อรองผู้ซื้อในอุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชนนั้นสูงขึ้น สื่อสารมวลชนและองค์การต่างๆ ของรัฐบาลและเอกชนพยายามเพิ่มอำนาจการต่อรองของผู้ป่วยโดยการออกกฎหมาย กฎระเบียบเพื่อเพิ่มสิทธิของผู้ป่วย ภาวะการแข่งขันของโรงพยาบาลเอกชนจะเน้นเรื่องของภาพลักษณ์ที่ดีโดยเน้นที่การคัดเลือกแพทย์ที่มีคุณภาพทางด้านความรู้ความชำนาญ การทำการตลาดที่เหมาะสมจะทำให้ภาพลักษณ์ของคุณภาพการรักษาพยาบาลในสายตาของผู้ป่วยสูงขึ้น และส่วนใหญ่ยังคงจะมุ่งเน้นไปยังฐานลูกค้าที่มีระดับรายได้ปานกลางไปถึงสูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อการบริการและความสะดวกสบาย ปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลต่ออุตสาหกรรม ประกอบด้วย พรบ.สุขภาพแห่งชาติ, พรบ.หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, นโยบายการเป็นศูนย์บริการสุขภาพของภูมิภาค, การเปิดเสรีทางการค้า เป็นต้น ข้อเสนอเชิงนโยบายได้แก่ การใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลรัฐและเอกชน การกำหนดจำนวนและขนาดของโรงพยาบาลตามพื้นที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน การควบคุมเรื่องคุณภาพบริการจากแนวโน้มของค่าบริการราคาเดียวจากการเหมาจ่ายรายหัว มีหน่วยงานที่ให้คำแนะนำในการเข้าสู่ธุรกิจโรงพยาบาล การประสานงานเพื่อเพิ่มส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกันและความเสมอภาคของการตรวจสอบและใช้นโยบายของรัฐ เช่น การรับรองคุณภาพบริการ จะต้องดำเนินการเท่าเทียมกันทั้งของโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โดยเน้นที่ประชาชนต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับประโยชน์สูงสุด | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 2924714 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Hospitals, Private | en_US |
dc.subject | Hospitals | en_US |
dc.subject | Hospital Administration | en_US |
dc.subject | Economics, Hospital | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาล -- การบริหาร -- ไทย | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | บทบาทและการปรับตัวของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยต่อสภาวะก่อนและระหว่างวิกฤติเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2539-2544) | th_TH |
dc.title.alternative | Private hospital industry in Thailand after the economic crisis, 1996-2001 | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research aims to study an impact of economic crisis towards private hospital sector and their copying mechanism. Methodologies used were document research, questionnaire survey on throughput to 75 sample hospitals, in-depth interview of medical and non-medical directors and practicing physician in sample hospitals, financial analysts, key member in Private Hospital Association and related key policy makers. The response rate of questionnaire survey on sample hospitals and their financial statements and in-depth interview of private hospitals were 38.6%, 82.6% and 41.3% respectively. In 2001,diffusion and utilization of private sector was crowed in central region and Bangkok, the capital city of Thailand. Hospitals having more than 50 beds absorbed a large share of private hospitals at 53.37%. Private hospital statistic services presented 4,569 of inpatients visit per hospital, 181.94 of outpatients visit per day per hospital and 38.76% of occupancy rate. The number of both inpatient visit and outpatient visit decreased during 1996-2001. In 2000, 72.09% of private hospitals registered as company limited and public company limited. Source of fund were from local investment. Their operating loss per hospital was at 9.5 million Baht. However, large hospitals ((200 beds) had operating profit at 20.58 million Baht. About one third of private hospitals, 35.48%, had positive working capital and current ratio. Thought large hospitals had surplus working capital, their current ratios were better than other hospitals. There were ten hospitals registered in Stock Exchange of Thailand (SET) excluding three hospitals needed debts restructuring because their operating were under requirement of SET. Income (sale revenue) and cost from providing medical services and operating profit tended to increase continually in hospitals registered in SET. During economic crisis, however, they started to be difficulty with loss net profits. They coped with crisis by organization and/or debts restructuring leading to positive net profit in 2001. Since private hospitals invested more in fix assets than in equities their efficiency ration was > 1.0 and affected their working capital during the crisis. Economic impacts toward private hospitals were decreasing in number of inpatients (76.99% of total private hospitals) and outpatients (69.33%). Small hospitals were affected more than large hospitals. Decreasing in consumers’ purchasing power and civil service medical benefit scheme affected hospitals having main revenue from out-of-pocket. They had to lower ward services and be contracted hospital in Social Security Scheme. All private hospitals had interest burden especially in 1998-2001. Interest burden varied with the hospital size. The larger hospital was the more interest burdened. Private hospitals’ copings to economic crisis were down sizing and permanent shutdown. One year after crisis, 6 hospitals downed sizing and 43 hospitals shutdown. Number of medical and non-medical staffs decreased insignificantly but they received lower return. Most private hospitals increase their revenue by launching delivery package and medical check up. New competitors were hard to entry to the private hospital industry due to high investment e.g. investment in technologies and medical staffs. This let purchasers had more purchasing power. Media, private agencies and government agencies tried to increase purchasing power through legislate regulation and laws e.g. declaration of patients rights. Competitive form among private hospitals were establishing public image through providing medical care by high expert physician. Expanding market by penetrating service to middle to higher economic group was conducted. External environment e.g. National Health Act, National Security Health Act, policy on center of regional health provision and Trade liberalization may affect the performance of private hospital sector. We recommend having share resources between public and private sector, defining number and size of hospitals according to health needs are policy recommendations. There should be quality control of medical care under capitation, establishing organization to suggest investment for new entries and more coordination between public and private sectors in making policy decisions. Quality insurance program should be implement impartially between public and private sector by focusing on ultimate customer protection. | en_US |
dc.identifier.callno | WX159.JT3 ว837บ 2546 | en_US |
dc.identifier.contactno | 45ข102 | en_US |
dc.subject.keyword | Private Hospital | en_US |
dc.subject.keyword | Economic Crisis | en_US |
dc.subject.keyword | โรงพยาบาลเอกชน | en_US |
dc.subject.keyword | วิกฤติเศรษฐกิจ | en_US |
.custom.citation | วีระศักดิ์ พุทธาศรี, Weerasak Putthasri, สมหญิง สายธนู, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, Somying Saithanu, Viroj Tangcharoensathien and สำนักงานนโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. "บทบาทและการปรับตัวของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยต่อสภาวะก่อนและระหว่างวิกฤติเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2539-2544)." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1797">http://hdl.handle.net/11228/1797</a>. | |
.custom.total_download | 100 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 3 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |