dc.contributor.author | วัชรา ริ้วไพบูลย์ | en_US |
dc.contributor.author | Watchara Riewpaiboon | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:22:18Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:41:36Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:22:18Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:41:36Z | |
dc.date.issued | 2544 | en_US |
dc.identifier.other | hs0788 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1811 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษากระบวนการและผลลัพธ์การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง แบบผู้ป่วยในของศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ วัตถุประสงค์งานวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษากระบวนการและผลลัพธ์ การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบผู้ป่วยใน สำหรับผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง ของศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ โดยเป็นการศึกษาแบบย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน ระหว่างปีงบประมาณ 2538-2542 ร่วมกับการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลภาคตัดขวางของผู้ป่วยที่รับบริการและกลับบ้านได้ในปีงบฯ 2542 จากการศึกษาเวชระเบียน พบว่ามีการรับผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง เข้าฟื้นฟูฯ แบบผู้ป่วยใน ในเวลาห้าปี รวม 166 ครั้ง (137 คน) คิดเป็นประมาณร้อยละ 25 ของการรับเข้าอยู่ทั้งหมด ซึ่งเป็นการรับเข้าอยู่ที่อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยที่กำหนดเพียง 111 ครั้ง (111 คน) คิดเป็นร้อยละ 67 ผู้ป่วยที่รับเข้าอยู่ 111 ครั้ง เป็นชาย:หญิง ประมาณ 3:2 อายุเฉลี่ย 60.67+11.96 ปี (95%CI for mean = 58.42-62.92 ปี) เป็นอัมพาตซีกซ้ายมากกว่าซีกขวาประมาณ 2-3 เท่า สาเหตุของการเป็นอัมพาตสามารถระบุได้ชัดเจนเพียงร้อยละ 75 ในจำนวนนี้ เป็นจาก Intracerebral infarction มากกว่า Intracerebral haemorrhage ประมาณ 2 เท่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่เสียค่าบริการเอง เนื่องจากมีรัฐสวัสดิการประเภทต่างๆ และส่วนน้อยที่ต้องจ่ายเองในตอนแรกรับ เมื่ออยู่ไประยะหนึ่งก็ขอรับสิทธิ์ฟรีตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 การรับเข้าอยู่เพื่อฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีจำนวนวันนอน/รายเฉลี่ย เป็น 44.22+28.36 วัน (95%CI for mean = 38.88-49.55 วัน) ทั้งนี้มีจุดตัดวันนอนที่สั้นหรือนานเกินที่ 7 และ 150 วัน เมื่อปรับจุดตัดวันนอนเป็น 13 และ 84 วัน ทำให้วันนอน/รายเฉลี่ย เป็น 42.31+19.11 วัน (95%CI for mean = 38.18-46.43 วัน) ผลลัพธ์ของการฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยอัมพาตฯ ที่รับบริการในปี 2542 พบว่าได้ข้อมูลจากแบบสอบถาม 13 ราย จากทั้งหมดที่รับเข้าฟื้นฟูฯ 48 ราย ซึ่งความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (Activity of daily living, ADL.) เป็นดังนี้ 10/13 ราย สามารถควบคุมการขับถ่ายได้เป็นปกติ 6/13 ราย กินอาหาร/ล้างหน้า/แปรงฟัน ได้เอง 4/13 ราย สามารถทาแป้ง/หวีผม/โกนหนวด/ใช้ห้องส้วม/ใส่-ถอดเสื้อผ้า ได้เอง มีเพียง 1/13 รายเท่านั้นที่อาบน้ำเองได้ ส่วนการเดิน (Ambulation) พบว่า 7/13 ราย สามารถเดินได้เองบนพื้นราบ 5/13 ราย สามารถเคลื่อนย้ายตัวเอง (Transfer) ได้ดี สำหรับความสามารถในการดำรงชีวิต สามารถสื่อสารได้ดี 9/13 ราย ถูพื้นได้ 3/13 ราย ออกนอกบ้านได้เอง 2/13 ราย เตรียมอาหารได้เอง 1/13 ราย คนที่ทำไม่ได้หมายถึง ต้องมีคนคอยช่วยเหลือดูแล นั่นคือผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูฯ สามารถช่วยตัวเองได้ระดับหนึ่ง ซึ่งยังบอกไม่ได้ว่านี่คือผลของกระบวนการฟื้นฟูฯ ทั้งหมด อย่างไรก็ตามก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถดำรงชีวิต อย่างน้อยภายในบ้านด้วยตนเองได้ทั้งหมด นอกจากนั้นการศึกษารายกรณีอีก 4 ราย ยังสะท้อนให้เห็นว่าผู้ป่วยแต่ละรายยังมิได้หยุดการแสวงหาการรักษาและฟื้นฟูฯ ภาวะอัมพาตฯ และระบบการติดตามดูแล เพื่อให้รู้ปัญหาเพื่อรักษาระดับผลการฟื้นฟูฯ ที่ได้ และสนับสนุนการปรับตัวให้ดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ยังไม่เพียงพอ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 949723 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Services | en_US |
dc.subject | คนพิการ--บริการทางการแพทย์ | en_US |
dc.subject | Cerebrovascular Disease | en_EN |
dc.subject | Hemiplegia | en_EN |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ | th_TH |
dc.subject | โรคหลอดเลือดสมอง | th_TH |
dc.subject | Storke | en_EN |
dc.subject | คนพิการ | th_TH |
dc.subject | ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ | th_TH |
dc.title | การศึกษากระบวนการและผลลัพธ์ การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมองแบบผู้ป่วยในของศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ | en_US |
dc.title.alternative | Process and outcomes study on rehabilitation service for hemiplegic patient causing by stroke at the Sirindhon National Medical Rehabitation Center | en_US |
dc.description.abstractalternative | Process and Outcome Study on Rehabilitation Service for Hemiplegic Patient Causing by Stroke at the Sirindhorn National Medical Rehabilitation Center Stroke or Cerebrovascular disease (CVD) is the main leading cause of health problem among Thai population. The advance medical technology help the stroke victims to survive longer with another kind of problem, physical impairment and disability. Rehabilitation is another health care intervention which play a major role in restoring physical function and supporting them to return to their own home. The study objective is to analyse the process and outcomes of the in-patient stroke rehabilitation of the Sirindhorn national Medical Rehabilitation center. It was found that stroke with hemiplegia took about 25 percent of the total nuber of admission. One hundred and thirty-seven stroke victims were admitted 166 times within five years (fiscal year 1995-1999) while 111 admissions (cases) was recruited. Among 111 cases, the ratio of male:female was 3:2 whereas the mean age was 60.67+11.96 years (95%CI.= 58.42-62.92 yrs.). Those were left hemiplegia 2-3 times more than right hemiplegia. Seventy-five percent of those could be determined the type of CVD which showed that infarction is 2 times over than haemorrhage. The average length of stay (LOS) was 44.22+28.36 days (95%CI. = 38.88-49.55 days) while 7 and 150 days were used as the trimming points. When the trimming points were substituted with 13 and 84 days, the average LOS became 42.31+19.11 days (95%CI. = 38.18-46.43 days) According to the outcomes study, 13/48 cases of the year 1999 were recruited. It was shown that 10/13 cases were partial independent in performing the activities of daily living while 7/13 cases could walk independently. Moreover, the qualitative data of 4 selected cases pointed that they are still seeking for the treatment and rehabilitation which might cure the disability. Most of the costs for such a health care process were the family's out of pocket money. The results of the study revealed the deficiency of the health care system such as; lacking of the standard of stroke rehabilitation service, non-systematic and unreliable medical record, lacking of the outcome measures for monitoring and evaluation etc.. It was suggested that the quality improving process should be implemented especially at the Sirindhorn National Medical Rehabilitation center, the only national medical rehabilitation institute in Thailand. | en_US |
dc.identifier.callno | WB320 ว212ก 2544 | en_US |
.custom.citation | วัชรา ริ้วไพบูลย์ and Watchara Riewpaiboon. "การศึกษากระบวนการและผลลัพธ์ การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมองแบบผู้ป่วยในของศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1811">http://hdl.handle.net/11228/1811</a>. | |
.custom.total_download | 235 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 5 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |