แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การจัดชุดบริการสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมในนโยบายประกันสุขภาพถ้วนของประเทศไทย

dc.contributor.authorวีระศักดิ์ พุทธาศรีth_TH
dc.contributor.authorWeerasak Putthasrien_US
dc.contributor.authorจันทนา อึ้งชูศักดิ์th_TH
dc.contributor.authorปิยะฉัตร พัชรานุฉัตรth_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:22:20Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:49:06Z
dc.date.available2008-12-04T05:22:20Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:49:06Z
dc.date.issued2545en_US
dc.identifier.otherhs0974en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1814en_US
dc.description.abstractการจัดชุดบริการสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมในนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ แนวคิดและประสบการณ์การจัดชุดสิทธิประโยชน์ทางสุขภาพช่องปากและเสนอแนะการจัดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมที่เหมาะสมเป็นไปได้สำหรับบริบทสังคมไทยและสอดคล้องกับความต้องการสุขภาพช่องปาก วิธีการศึกษาประกอบด้วยการทบทวนวรรณกรรมร่วมกับการประเมินผลการจัดชุดสิทธิประโยชน์ทันตกรรมที่จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยการจัดสนทนากลุ่มทั้งฝ่ายผู้จัดบริการและผู้รับบริการในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี และท้ายสุดเป็นกระบวนการจัดลำดับความสำคัญของประเภทการบริการ การร่วมจ่ายและเงื่อนไขอื่นๆ ได้จากการจัดอภิปรายแสดงความคิดเห็นร่วมกันของผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มวิชาชีพ และตัวแทนประชาชน ผลการศึกษาพบว่า หลังการดำเนินโครงการนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า จังหวัดปทุมธานี มีผู้มารับบริการทันตกรรมเพิ่มขึ้น โดยงานบริการหลัก คือ อุดฟันเพิ่มร้อยละ 25.3 ขูดหินปูนเพิ่มร้อยละ 25.1 และถอนฟันเพิ่มร้อยละ 16.2 การสะสมของคิวที่รอรับบริการทันตกรรม ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 มีคิวใส่ฟันปลอม 164 ราย รักษารากฟัน 136 ราย การจัดสนทนากลุ่มในส่วนผู้จัดบริการจะมีปัญหาเรื่องการตีความ การเพิ่มจำนวนของผู้รับบริการ และงบประมาณที่ล่าช้าในส่วนการเบิกค่าทำฟันปลอม ในส่วนของผู้รับบริการส่วนใหญ่ต้องการรับบริการรักษาโรคที่มีความเจ็บปวดและปัญหาการบดเคี้ยว การจัดประชุมแสดงความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มวิชาชีพ ตัวแทนประชาชน ได้จัดลำดับความสำคัญของประเภทงานบริการ จะแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1) กลุ่มที่ความสำคัญระดับต้น (คะแนนระหว่าง 4.8-5.0) ประกอบด้วย ฟลูออไรด์ชนิดใช้เฉพาะที่ ฟลูออไรด์ชนิดรับประทาน การรักษาโรคปริทันต์ ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ มะเร็งในช่องปาก ขากรรไกรหัก การติดเชื้อในช่องปากและใบหน้า และการอุดฟันด้วยอมัลกัม ตามลำดับ 2) กลุ่มที่มีความสำคัญระดับกลาง (คะแนนระหว่าง 4.0-4.7) ประกอบด้วยการขูดหินปูน การเคลือบหลุมร่องฟัน แผลหรือพยาธิสภาพในช่องปาก การใส่ฟันทั้งปาก การรักษาประสาทฟันแท้ การผ่าฟันคุด การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้คำปรึกษา การถอนฟัน การรักษาประสาทฟันน้ำนม และการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน 3) กลุ่มที่มีความสำคัญระดับท้าย (คะแนนน้อยกว่า 4.0 ประกอบด้วยการใส่ฟันบางส่วนถอดได้ฐานพลาสติก การใส่ฟันบางส่วนถอดได้ฐานโลหะ ผู้ป่วยฟันซ้อนเก และท้ายสุดคือการใส่ฟันปลอมติดแน่น โดยมีข้อเสนอแนะในการจัดชุดบริการสุขภาพช่องปากมีทางเลือก 3 รูปแบบ คือ ทางเลือกที่หนึ่งจัดชุดสิทธิประโยชน์ตามความจำเป็นเต็มรูปแบบ ทางเลือกที่สองจัดชุดบริการตามความจำเป็นแบบมีเงื่อนไข และทางเลือกที่สามจัดชุดบริการตามกลุ่มอายุและความจำเป็นแบบมีเงื่อนไข การจะเลือกใช้ทางเลือกใดต้องขึ้นกับทรัพยากร บุคลากร และศักยภาพการจัดบริการ ข้อเสนอของชุดสิทธิประโยชน์หากจัดชุดบริการแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มอายุ ซึ่งน่าจะประกอบด้วยกลุ่มอายุ 0-13 ปี ประกอบด้วย การให้ฟลูออไรด์ การเคลือบหลุมร่องฟัน การตรวจสุขภาพช่องปากและให้คำปรึกษา อุดฟันหลังด้วยอมัลกัม การรักษาประสาทฟันแท้ การถอนฟัน การรักษาประสาทฟันน้ำนม พยาธิสภาพในช่องปาก การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน การทำเพดานเทียมในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่กลุ่มอายุ 14-59 ปี ประกอบด้วย การให้ฟลูออไรด์เฉพาะที่ (กลุ่มเสี่ยง) ตรวจสุขภาพช่องปากและให้คำปรึกษา การรักษาโรคปริทันต์และการขูดหินปูน การอุดฟันหลังด้วยอมัลกัม การรักษาประสาทฟันแท้ การผ่าฟันคุด การถอนฟัน พยาธิสภาพในช่องปาก การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน การใส่ฟันปลอมบางส่วนถอดได้ฐานพลาสติกกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ประกอบด้วย การให้ฟลูออไรด์เฉพาะที่ (กลุ่มเสี่ยง) ตรวจสุขภาพช่องปากและให้คำปรึกษา การรักษาโรคปริทันต์และการขูดหินปูน การอุดฟันหลังด้วยอมัลกัม การถอนฟัน พยาธิสภาพในช่องปาก การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน การใส่ฟันปลอมทั้งปาก การใส่ฟันปลอมบางส่วนถอดได้ฐานพลาสติกโดยน่าจะให้ความสำคัญในกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ และควรให้ความสำคัญกับงานส่งเสริมสุขภาพก่อนงานบำบัดรักษาและงานฟื้นฟูสภาพ ด้วยเหตุผลนโยบายแนวคิดการสร้างสุขภาพนำซ่อมสุขภาพ ส่วนทางเลือกระหว่างงานบำบัดรักษาและงานฟื้นฟูสภาพอาจต้องมีการพิจารณาขึ้นกับงบประมาณ ศักยภาพและกำลังบุคลากรที่มี ข้อสรุปงานวิจัยที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงเมื่อจะกำหนดนโยบายชุดสิทธิประโยชน์สุขภาพช่องปาก คือ 1) ทางเลือกที่สามน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีเพราะมีข้อจำกัดทรัพยากร 2) กลไกการร่วมจ่ายจะลดความต้องการในการรับบริการเกินความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหรืออาการที่ต้องใช้เวลาและต้นทุนในการรักษาสูง 3) กำหนดเงื่อนไขการรับริการแต่ละรายการเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง และลดการบริการที่เกินความจำเป็น 4) ในสถานการณ์ปัจจุบันการรักษาบางรายการอาจจะยังไม่เหมาะสมกับการพิจารณาให้อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ เช่น การใส่ฟันปลอมติดแน่น การใส่ฟันบางส่วนถอดได้ฐานโลหะ ผู้ป่วยฟันซ้อนเก เป็นต้น แม้ว่าจะกำหนดการจ่ายร่วมให้มากขึ้นก็ตาม แต่นั่นหมายถึงมีค่าเสียโอกาสของการใช้ทรัพยากร 5) ต้องมีมาตรการและระบบการบริหารดำเนินการที่ดีรองรับระบบ เช่น การจัดการระบบคิว มาตรการดูแลคุณภาพและการส่งต่อหากไม่สามารถทำให้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด ตลอดจนมาตรการการร่วมจ่ายและการเบิกเงินค่าใช้จ่ายราคาแพง เช่น การเบิกค่าทำฟันปลอม ให้รวดเร็วและสะดวกขึ้น เป็นต้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent3798009 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectระบบประกันสุขภาพen_US
dc.subjectทันตกรรม -- บริการ -- ปากen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการจัดชุดบริการสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมในนโยบายประกันสุขภาพถ้วนของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeCore package for oral health care on universal coverage policy, Thailanden_US
dc.description.abstractalternativeCore Package for Oral Health Care on Universal Coverage Policy, Thailand The purposes of this study were to review knowledge, concepts and experiences of the core package for oral health care, and to recommend the proper core package for oral health care in Thai context which was applicable and fit with needs of the oral health care. The study was conducted by reviewing literature, evaluating sample province and stakeholders’ opinion discussing.Results of the study, Pathumthani, sample province, had more dental patients since the Universal Coverage policy had started. For example, tooth filling, scaling, and extraction had increased 25.3%, 25.1%, and 16.2% respectively. However, waiting list or queue was also increased for instant, there were 164 dental substitution cases and 136 root canal treatment cases in February 2002. The focus group discussion of providers found that there were some problems of policy implementation such as unclear definition of package, increase in the number of patients, and management. The focus group discussion of consumers, another side, demanded for kinds of services which could alleviate pains and restore ability of chewing. Delphi stakeholders meeting prioritized all of services into three groups: 1) The first priority (4.8-5.0 score): Topical Fluoride, Systemic Fluoride, Periodontitis treatment, Celt lip & palate, Oral cancer, Oral infection, and Amalgam filling.2) The second priority (4.0-4.7 score): Scaling, Sealant, Oral patho, Full denture, Root canal treatment, Impacted tooth, Oral health examination, Consulting, Extraction, Pulp treatment in primary teeth, and Tooth-colored filling. 3) The third priority (less than score 4.0): Partial denture, Crowding teeth, and Fixed denture.There were three alternative concepts of the package establishment: 1) Full Treatment Need, 2) Treatment Need with some conditions, 3) Treatment Need by age groups (for example 0-13 age group: Fluoride, Sealant, Oral Exam, Amalgam filling, Root canal treatment, Extraction, Pulp treatment, Oral patho, etc / 14-59 age group: Fluoride, Oral exam, Scaling, Periodontitis, Amalgam filling, Root canal treatment, Impacted tooth, Extraction, Oral patho, Tooth-colored filling, Acrylic partial denture / 60+ age group: Fluoride, Oral exam, Scaling, Periodontitis, Amalgam filling, Extraction, Oral patho, Tooth-colored filling, Full denture, Acrylic partial denture). These options were subject to budget, manpower and capacity of services. For policy establishment, there were some suggestions from the research: 1) the third concept was suitable for resource scarcity, 2) co-payment mechanism was a method to control over demand side, 3) condition of treatment care could increase awareness of self care, 4) some treatments with high cost and chair time might not suitable to be in package such as fixed and metal denture, 5) well-organized system of queue, referral system and finance were required. This research may contribute to improve oral health care service. However, it’s needed to have further studies such as, cost of services, public-private mixed service, consumers’ behavior, etc.en_US
dc.identifier.callnoWU20.5 ว849ก 2545en_US
dc.identifier.contactno45ข018en_US
dc.subject.keywordOral Health Careen_US
dc.subject.keywordบริการทันตกรรมen_US
.custom.citationวีระศักดิ์ พุทธาศรี, Weerasak Putthasri, จันทนา อึ้งชูศักดิ์ and ปิยะฉัตร พัชรานุฉัตร. "การจัดชุดบริการสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมในนโยบายประกันสุขภาพถ้วนของประเทศไทย." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1814">http://hdl.handle.net/11228/1814</a>.
.custom.total_download209
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year12
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0974.pdf
ขนาด: 2.472Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย