dc.contributor.author | ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Thorngwut Doungratanapan | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:22:28Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:48:56Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:22:28Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:48:56Z | |
dc.date.issued | 2547 | en_US |
dc.identifier.other | hs1168 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1829 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาสถานการณ์และการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปากในหน่วยคู่สัญญาบริการระดับปฐมภูมิภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบคุณภาพ ทั้งนี้พื้นที่เพื่อการศึกษาเป็นแบบการคัดเลือกเฉพาะ (purposive selection) จำนวน 8 จังหวัด ประกอบด้วยเชียงใหม่ น่าน ขอนแก่น บุรีรัมย์ สงขลา พัทลุง ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร โดยมีหน่วยคู่สัญญาหลักบริการปฐมภูมิจำนวน ๔๘ หน่วยเป็นกลุ่มตัวอย่างประชากรศึกษา กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง และใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสังเกตตั้งแต่ ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องในการบริหารงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับจังหวัด ทันตแพทย์ ทันตาบุคลากร และประชาชนในระหว่างเดือนกรกฎาคม 2545 ถึงเดือนมีนาคม 2546 ผลการศึกษาพบว่า สิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมทั้งการรักษา การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปากมีความสอดคล้องกับการจัดบริการทันตกรรมที่มีอยู่ในสถานบริการก่อนที่จะมีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันในช่องปากประกอบด้วยการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคในช่องปาก การให้ความรู้สุขศึกษา การเคลือบหลุมร่องฟัน และการให้ฟลูออไรด์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก ประกอบด้วย กลุ่มหญิงมีครรภ์ ในคลินิก ANC กลุ่มเด็กวัยก่อนเรียนใน WBC และในศูนย์เด็กเล็ก กลุ่มเด็กนักเรียนประถมศึกษา แต่กิจกรรมดังกล่าวมีทิศทางที่ลดลง เนื่องจาก ปริมาณผู้มารับบริการที่หน่วยคู่สัญญาหลัก หรือ (CUP) เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะงานบริการรักษาและการใส่ฟัน โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้รับบริการร้อยละ 15-20 และผู้รับบริการที่ต้องการใส่ฟันมีคิวนัด 8 เดือนถึง 2 ปี ทันตแพทย์ส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในแนวคิดส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ที่เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนในการดูแลสุขภาพตนเองและควบคุมภาวะแวดล้อมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ อีกทั้งขาดทักษะการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพช่องปากในระดับชุมชน เงื่อนไขของการจัดสรรงบประมาณสำหรับกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปากก็ยึดโยงอยู่กับกิจกรรมของการให้ความรู้สุขศึกษา การเคลือบหลุมร่องฟัน การให้ฟลูออไรด์ ก็เป็นปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถพัฒนารูปแบบอื่นๆเพื่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้การดำเนินงานพัฒนาการบริการเพื่อให้ได้การรองรับคุณภาพบริการจาก Hospital Accreditation (HA) ก็เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ส่งผลให้ทันตแพทย์ต้องลดละงานอื่น ๆ โดยเฉพาะงานส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก อย่างไรก็ตามทันตแพทย์ส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อหลักการของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ไม่เห็นด้วยกับการประชาสัมพันธ์ภายใต้นโยบาย “๓๐บาทรักษาทุกโรค” เพราะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนมุ่งเน้นสู่การมารับบริการเพื่อการรักษามากกว่าการสร้างเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 2477128 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Promotion | en_US |
dc.subject | Health Prevention and Control | en_US |
dc.subject | Health Insurance Systems | en_US |
dc.subject | Oral Health--Prevention & Control | en_US |
dc.subject | Oral Hygiene | en_US |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ระบบประกันสุขภาพ | en_US |
dc.subject | อนามัยช่องปาก | en_US |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การบริการสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | กระบวนการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการป้องกันโรคในช่องปากในหน่วยคู่สัญญาบริการระดับปฐมภูมิภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระยะที่ 1 : วิเคราะห์สถานการณ์ | th_TH |
dc.title.alternative | Oral health promotion and prevention process in the contracting unit of primary care under the under the universal health coverage policy : Situation analysis | en_US |
dc.description.abstractalternative | This situation analysis of health promotion and oral disease prevention in the contracting unit of primary health care under the health care coveraage insurance policy is a qualitative study. The sample consisted of 48 contracting unit of primary health care located in 8 purposively selected studied areas which are Chiangmai, Nhan, Khonkhane, Bureerum, Songkla, Phattalung, Prathumthanee, and Bangkok. The depth interview using semi-structured questionnaire and the observation techniques were used in the stage of data collection. The respondents were the executive officers, those who involved in the health care service under the health insurance for all policy at the province level, dentists, dental hygienists, and resident population. The study period is between July, 2002- March 2003. The summary is reported as followed. The result of this study was the dental benefits specified in the insurance are conformed with the existing dental service provided prior to the insurance program. These include the general dental treatment such as filling, extraction, scaling, root canal treatment, and prosthodontic treatment, and also the heath promotion and prevention activities such as screening for the high risk group, oral health education, dental sealant and fluoride therapy. The main target groups for health promotion and prevention program are the pregnant women attending ANC, preschool children in WBC and child care centers, primary school children and the elderly. But the activities were decreased because of the increasing of the treatment for dental care in the CUP, approximately 15-20%. Most dentists were lack of understanding in the concept of health promotion and skill in empowerment for the people to take care themselves. The other workload in the hospital, such as , hospital accreditation activities, were the condition for dentists to step down their oral health care promotion and prevention activities. However, most of them still had a good attitude for the principle of the health care insurance project, but they were not agree with the propaganda on the “ 30 bath for all treatment “. | en_US |
dc.identifier.callno | WU113 ท147ก [2547] | en_US |
dc.identifier.contactno | 45ค082 | en_US |
dc.subject.keyword | Oral Disease Prevention | en_US |
dc.subject.keyword | Universal Health Coverage | en_US |
dc.subject.keyword | Contracting Unit of Primary Care | en_US |
dc.subject.keyword | Universal Health Coverage | en_US |
dc.subject.keyword | การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก | en_US |
dc.subject.keyword | หน่วยคู่สัญญาบริการระดับปฐมภูมิ | en_US |
dc.subject.keyword | หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | en_US |
.custom.citation | ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์ and Thorngwut Doungratanapan. "กระบวนการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการป้องกันโรคในช่องปากในหน่วยคู่สัญญาบริการระดับปฐมภูมิภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระยะที่ 1 : วิเคราะห์สถานการณ์." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1829">http://hdl.handle.net/11228/1829</a>. | |
.custom.total_download | 178 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 7 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |