Show simple item record

Management factors change towards implementation of health promotion and disease prevention in the universal converage health insurance program : case study provices inPublic Heatlh Region 6

dc.contributor.authorเกรียงศักดิ์ เอกพงษ์th_TH
dc.contributor.authorKriengsak Ekapongen_US
dc.contributor.authorปรีดา โนวฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorวรางคณา อินทโลหิตth_TH
dc.contributor.authorพิทยา ศรีกุลวงศ์th_TH
dc.contributor.authorวรรณวดี ศิริจันทร์th_TH
dc.contributor.authorวิไลวรรณ เทียมประชาth_TH
dc.contributor.authorPreda Nowrithen_US
dc.contributor.authorWarangkana Inthalohithen_US
dc.contributor.authorPithapya Srikulwongen_US
dc.contributor.authorWanwadee Sirrijanen_US
dc.contributor.authorWilanwan Taimprachaen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:22:30Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:47:13Z
dc.date.available2008-12-04T05:22:30Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:47:13Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs1097en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1833en_US
dc.description.abstractการวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางด้านการจัดการ ได้แก่ การจัดการงบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของหน่วยคู่สัญญาของบริการระดับปฐมภูมิ (CUP) และของหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU) ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยทำการศึกษาทั้ง 7 จังหวัดในเขต 6 ได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ เลย และหนองคาย จำนวน 61 CUP จากทั้งหมด 118 CUP โดยการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ปีงบประมาณ 2545 ทุกจังหวัดในเขต 6 ยึดนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขภายใต้โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีบางจังหวัดปรับโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบงานนี้ แต่บางแห่งก็เพียงเพิ่มฝ่ายหรือตั้งคณะกรรมการเพิ่มเติม จังหวัดต่างๆ จัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิและให้มีบริการงานรักษาพยาบาล งานส่งเสริมสุขภาพ งานป้องกันโรค งานฟื้นฟูสภาพ และงานทันตสาธารณสุข โดยมุ่งให้ทำงานเชิงรุกและใช้หลักการเวชปฏิบัติครอบครัวในการทำงาน อย่างไรก็ตามในแต่ละจังหวัดก็จะมีจุดเน้นของนโยบายแตกต่างกันไปบ้างขึ้นกับแนวคิดพื้นฐานของผู้บริหารและงานส่งเสริมสุขภาพเดิมที่ทำอยู่ก่อนเริ่มโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีการปรับแนวคิดให้ทำงานแบบใกล้ตัวใกล้ใจมากขึ้น งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคยึดชุดสิทธิประโยชน์เป็นหลัก งานที่เพิ่มขึ้นชัดเจนคือการทำแฟ้มครอบครัว การเยี่ยมบ้าน การออกกำลังกาย มีการกระจายบุคลากรจากระดับจังหวัดมายัง CUP รวมทั้งมีการจัดให้พยาบาลวิชาชีพจบใหม่ไปประจำใน PCU ในบางจังหวัดมีการพัฒนาบุคลากรในการปฏิบัติงาน การจัดสรรงบประมาณการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคของจังหวัดไม่ว่าจะให้รายบัตรหรือจัดเป็นสัดส่วนงบประมาณ มีผลทำให้งบประมาณในการดำเนินการมากขึ้นทั้งระดับ CUP และ PCU รวมทั้งการได้รับวัสดุอุปกรณ์อย่างพอเพียงของทั้ง PCU หรือสถานีอนามัยเมื่อเทียบกับก่อนมีโครงการ แต่ระเบียบการเบิกจ่ายที่ซับซ้อนเป็นอุปสรรค การมีส่วนร่วมของประชาชนยังไม่มากนัก ผู้บริหารระดับจังหวัดมีนโยบายเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ แต่การสื่อนโยบายไปให้ถึงผู้ปฏิบัติยังมีปัญหา องค์กรที่รับผิดชอบในระดับจังหวัดบางแห่งยังไม่เป็นเอกภาพ และไม่สามารถส่งต่อนโยบายหรือแนะแนวทางปฏิบัติได้เต็มที่ ผู้ปฏิบัติเกิดความสับสนต่อคำว่าสร้างเสริมสุขภาพว่าคืออะไร งานเก่าที่เคยทำไม่แน่ใจว่าเป็นงานสร้างสุขภาพหรือไม่ งานใหม่ที่เห็นชัดเจนคือการออกกำลังกาย ผลงานขึ้นกับแนวคิดและการสนับสนุนของประธานคณะกรรมการบริหารเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ซึ่งส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับงานรักษาพยาบาลมากกว่างานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การจัดสรรงบประมาณ PCU ปัญหาที่สำคัญคือความขัดแย้งของผู้อำนวยการโรงพยาบาลและสาธารณสุขอำเภอ ซึ่งมีผลต่อการจัดการใน CUP และ PCU แต่โดยรวมมีการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคเพิ่มขึ้น และบาง CUP มีการทำโครงการบนพื้นฐานของการวิเคราะห์และดำเนินการ เพื่อตอบสนองการแก้ไขปัญหาของชุมชน ในปีงบประมาณ 2546 การจ่ายงบประมาณแบบ Fix cost ตรงจากจังหวัดช่วยลดปัญหาความขัดแย้งของ PCU กับผู้อำนวยการโรงพยาบาล และมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน แต่ก็ลดแรงจูงใจในการริเริ่มในการเขียนโครงการเพื่อดำเนินงานให้เหมาะสมของพื้นที่จากการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดนโยบายในการรณรงค์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยกำหนดกิจกรรมและช่วงเวลาให้ดำเนินการเป็นเรื่องๆ อาจไม่เหมาะสมกับพื้นที่ การลดงบประมาณที่จัดสรรให้จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผลกระทบต่อการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพมีปัญหา มีเพียงงานออกกำลังกายที่ชัดเจนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent920331 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherHealth Systems Research Instituteen_US
dc.subjectHealth Promotionen_US
dc.subjectDiseases -- prevention & controlen_US
dc.subjectHealth Administrationen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectการควบคุมและป้องกันโรคen_US
dc.subjectนโยบายด้านสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางด้านการจัดการกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ในโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : กรณีศึกษา จังหวัดในเขต 6th_TH
dc.title.alternativeManagement factors change towards implementation of health promotion and disease prevention in the universal converage health insurance program : case study provices inPublic Heatlh Region 6en_US
dc.description.abstractalternativeThis cross-sectional study aimed to investigate the effect of management factors the implementation of health promotion and disease prevention in the Universal Coverage Health Insurance Program. The study was conducted in 61 Contracting unit for Primary care (CUP) among 118 CUP of all 7 provinces of Regional 6. These provinces are Khon Kaen, Undornthani, Nongkai, Skolnakorn, Loei, Kalasin and Nongbualampoo. The qualitative methods were applied for data collection. The results revealed that in The 2002 Fiscal Year, all 7 provinces of regional 6 followed the health for all policy of the Ministry of Public Health closely. Some provinces modified organization structure of the division responsible for this task, some province added more unit or additional committee. Each province set up PCU to provide curative, health promotion, disease prevention, rehabilitation and dental public health with proactive work based on family medicine principle. However, there are slightly difference in focus point of this policy which came from different basic thinking of administrator and previous health promotion work. There was adaptation of concept to be based mainly on benefit package. Additional works which clearly showed were family file, house call, and exercise. There was personnel distribution form provincial level to CUP including sending new nursing graduates to work at PCU in some provinces, There were personnel development, budget allocation for health promotion and disease prevention based on individual card or proportional budget resulting in more budgets for both CUP and PCU and additional supplies for PCU and health center if compared with before project implementation. However, there were still some problems with finance regulation, not much public participation, communication of officers about health promotion. The outcome depended on concepts and supports of chairman of primary health care network which majority of them are still focused on curative rather than health promotion and discase prevention. Budget allocation to PCU had important problem from conflicts between hospital directors and public health district chief. However, there was overall increase in health promotion and disease prevention. Some CUP had project to analyze try to help solving community problems. In 2003 budget year, fix cost distribution of budget helped reduce the conflicts between PCU and hospital director and easier implementation, but it reduced incentive to write project to do the work that suit the area. The policy of the Ministry of Public Health to carry out health promotion and disease prevention by separating activities and duration may not suit every area. The reduction of budget allocation to the provinces in the Northeast effected health promotion work especially exercise.en_US
dc.identifier.callnoWA590 ก768ก 2546en_US
dc.identifier.contactno45ค62en_US
dc.subject.keywordUniversal Health Coverageen_US
dc.subject.keywordระบบประกันสุขภาพen_US
.custom.citationเกรียงศักดิ์ เอกพงษ์, Kriengsak Ekapong, ปรีดา โนวฤทธิ์, วรางคณา อินทโลหิต, พิทยา ศรีกุลวงศ์, วรรณวดี ศิริจันทร์, วิไลวรรณ เทียมประชา, Preda Nowrith, Warangkana Inthalohith, Pithapya Srikulwong, Wanwadee Sirrijan and Wilanwan Taimpracha. "การเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางด้านการจัดการกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ในโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : กรณีศึกษา จังหวัดในเขต 6." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1833">http://hdl.handle.net/11228/1833</a>.
.custom.total_download46
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs1097.pdf
Size: 1.011Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record