แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมปี 2544

dc.contributor.authorวีระพงศ์ จินะดิษฐth_TH
dc.contributor.authorWeerapong Jinaditen_US
dc.contributor.authorสุชาติ คงระวะth_THt
dc.contributor.authorSuchart Kongravaen_EN
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:22:32Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:50:35Z
dc.date.available2008-12-04T05:22:32Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:50:35Z
dc.date.issued2545en_US
dc.identifier.otherhs0897en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1838en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยการสำรวจสภาพปัญหา บทบาท ศักยภาพและอุปสรรค ด้านการจัดการมูลฝอย การจัดการประปาหมู่บ้านและการควบคุมโรคไข้เลือดออก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสำหรับปลัดอบต. จำนวน 514 ชุด ได้รับตอบกลับจำนวน 498 ชุด คิดเป็นร้อยละ 96.9 และการเยี่ยมพื้นที่สัมภาษณ์เจาะลึก ประชาชน ประธานหรือกรรมการบริหารอบต. และปลัดหรือรองปลัดอบต. จำนวน 20 ตำบล ทั่วประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากการสัมภาษณ์เจาะลึก ผลการสำรวจ พบว่า อบต.ได้รับการร้องเรียนเรื่องมูลฝอยบ่อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 78.1 รองลงมาคือการขาดแคลนน้ำสะอาดและการระบาดของโรคไข้เลือดออก คิดเป็นร้อยละ 63.3 และ 34.5 ตามลำดับ และส่วนใหญ่เห็นว่าการจัดการมูลฝอยเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน ตามด้วยการควบคุมโรคไข้เลือดออก ส่วนการเยี่ยมพื้นที่สัมภาษณ์เจาะลึก ด้านการจัดการมูลฝอย พบว่า มีปัญหาการลอบทิ้งมูลฝอยข้างทาง ปัญหามูลฝอยตกค้าง และปัญหาสถานที่กำจัดซึ่งพบว่า บางแห่งหมดสัญญา บางแห่งมูลฝอยเต็ม และบางแห่งใกล้แหล่งน้ำผิวดิน โดยเกือบทั้งหมดใช้วิธีกำจัดไม่ถูกหลักสุขาภิบาล ด้านการจัดการประปาหมู่บ้าน พบว่ามีปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำ ปริมาณน้ำ การบริหาร และขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการควบคุมโรคไข้เลือดออก พบว่า อบต.ขาดบุคลากรสาธารณสุข บุคลากรอื่นที่มีอยู่ขาดความรู้ ประสบการณ์ด้านการควบคุมโรคไข้เลือดออก และมีปัญหาด้านการประสานงานกับสถานีอนามัย อบต.ขาดทั้งบุคลากร งบประมาณ และเทคโนโลยี ด้านบุคลากร พบว่า อบต.ร้อยละ 73.3 ไม่มีการแต่งตั้งกรรมการบริหารให้รับผิดชอบงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านงบประมาณ พบว่า อบต.แต่ละชั้นส่วนใหญ่มีรายได้ลดลงในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ของการจัดชั้นอบต.ท่ามกลางปัญหาและอุปสรรคเหล่านี้ พบว่า อบต.บางแห่งมีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาของตนเองโดยวิธีการต่างๆ เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกมูลฝอยเพื่อลดปริมาณมูลฝอยที่ต้องกำจัด คืนรายได้จากการรีไซเคิลสู่ประชาชนเป็นการตอบแทน และมีการทำปุ๋ยชีวภาพจากขยะ การแก้ปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม อบต.จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และการควบคุมโรคไข้เลือดออก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องผลิตคู่มือสำหรับการปฏิบัติงานและต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถเฉพาะในการปฏิบัติงานth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent576570 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectEnvironmental Healthen_US
dc.subjectSubdistrict Administration Organizationen_US
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบลth_TH
dc.subjectการกระจายอำนาจth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมปี 2544th_TH
dc.title.alternativeRoles of subdistrict administration organization (SAO) in environmental health management 2001en_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to evaluate the roles and problems of Subdistrict Administration Organization (SAO) in environmental health management. Study issues included the roles, capabilities and obstacles in solid waste management, village water supply management and DHF control. Data collection was done using a questionnaire self-completed by the secretary of SAOs of each of the 514 SAOs. 498 responded (96.9%). Site visitation and in-depth interview of executive board members and the secretaries of SAOs were carried out in 20 subdistricts. Data were analyzed using percentage, mean and standard deviation and content analysis. The results from the questionnaire showed a high level of complaints about solid waste (78.1%) than the problems of clean water and DHF control. (63.3% and 34.5%) The site visitations revealed that solid waste was often dumped on the side of the road. Slow elimination and lack of land for treatment were important problems. Some sites were near water sources. Water supply was often insufficient and there was poor public participation and DHF control. Generally SAOs did not have enough manpower, budget and technology for environmental health management. 73.3% did not have an environmental health committee. The actual income of most SAOs was below the criteria set by law. Although there were many problems as those mentioned above, some SAOs were quite successful in reducing the disposal load, promoting the recycling process and producing bio-fertilizer from garbage. It is recommended that personnel competent in environmental health management are needed for most SAOs. The government should produce a manual for these works and train the personnel properly.en_US
dc.identifier.callnoWA546 ว846บ 2545en_US
dc.identifier.contactno44ค052en_US
dc.subject.keywordโรคไข้เลือดออก, การควบคุมth_TH
dc.subject.keywordประปาหมู่บ้านth_TH
dc.subject.keywordอนามัยสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subject.keywordอบตth_TH
dc.subject.keywordขยะมูลฝอยth_TH
.custom.citationวีระพงศ์ จินะดิษฐ, Weerapong Jinadit, สุชาติ คงระวะ and Suchart Kongrava. "บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมปี 2544." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1838">http://hdl.handle.net/11228/1838</a>.
.custom.total_download171
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0897.pdf
ขนาด: 748.9Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย