Show simple item record

Situation Analysis of Insurance for Car Accident Injuries

dc.contributor.authorไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาลen_US
dc.contributor.authorPaiboon Suriyawongpaisarnen_US
dc.contributor.authorซำแก้ว หวานวารีen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:22:41Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:44:11Z
dc.date.available2008-12-04T05:22:41Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:44:11Z
dc.date.issued2538en_US
dc.identifier.otherhs0071en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1858en_US
dc.description.abstractสถานการณ์ของการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนับตั้งแต่ พระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มีผลบังคับ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2535 ยังไม่มีการประเมินอย่างเป็นระบบว่า เจตนารมย์ของกฏหมายนี้ได้รับการตอบสนองจากผู้เกี่ยวข้องเพียงใด จึงได้มีสำรวจทางโทรศัพท์สัมภาษณ์ผู้บาดเจ็บ หรือญาติที่ไปใช้บริการสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน ในกทม. 258 รายจาก 3223 รายที่ปรากฏรายชื่อในรพ. 10 แห่งที่ให้ความร่วมมือ ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะมีดังนี้ ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการคุ้มครอง ตามเจตนารมย์ของกฏหมาย และมีการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นล่าช้า และมีขั้นตอนในการดำเนินการที่ยุ่งยาก สมควรพิจารณามาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น ในการกำกับการดำเนินการของบริษัทประกันภัย และควรปรับแก้ระเบียบ ให้กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ มีความคล่องตัวในการดำเนินการมากขึ้น หรือพิจารณาระบบเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล ให้แก่สถานพยาบาล โดยให้สัดส่วนแก่โรงพยาบาลของรัฐ มากกว่าของโรงพยาบาลเอกชน พร้อมกับมีระบบติดตามกำดับการใช้จ่าย ให้เหมาะสมและคุ้มค่า ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่รวมทั้งญาติ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องยังไม่ทราบสิทธิเกี่ยวกับการคุ้มครองตามกฏหมายนี้ สมควรประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นทั้งโดยสื่อสาธารณะ และผ่านสถานพยาบาลทุกแห่ง ยานยนต์ส่วนใหญ่ยังไม่ได้จ่ายเบี้ยประกัน ตามพ.ร.บ.ควรมีการประสานงาน ระหว่างกรมการขนส่งทางบก และกรมการประกันภัย เพื่อวางมาตรการให้มีการจ่ายเบี้ยประกัน พร้อมกับการต่อทะเบียนรถประจำปีการนำส่งผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบ ของบุคลากรทางการแพทย์ และยังมีผู้บาดเจ็บจำนวนไม่น้อย รู้สึกไม่พึงพอใจต่อบริการในสถานพยาบาล การดูแลรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ จึงควรได้รับการพัฒนาให้ครอบคลุม ตั้งแต่จุดเกิดเหตุจนถึงสถานพยาบาลร้อยละ 70 ของผู้บาดเจ็บ เกิดจากอุบัติภัย จักรยานยนต์ แต่อัตราดอกเบี้ยประกันภัยจักรยานยนต์ มีจำนวนน้อยที่สุดและน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราเบี้ยประกันสำหรับรถทุกประเภท ถึง 11 เท่า จึงสมควรปรับเบี้ยประกัน สำหรับจักรยานยนต์ ให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยง ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในโดยเฉลี่ย สูงกว่าวงเงิน 10,000 บาท อันเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นถึง 2.8 เท่า และครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยในถูกเก็บค่ารักษาพยาบาลเกินกว่า 20,000 บาท จึงสมควรเพิ่มวงเงินค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างน้อย ให้เพียงพอกับค่ารักษาพยาบาล เพื่อให้ผู้บาดเจ็บที่มีโอกาสรอดชีวิตได้พ้นจากภาวะวิกฤตควรยกเลิกการพิสูจน์ถูกผิดอันเป็นอุปสรรคต่อการคุ้มครองผู้ประสบภัย ตามเจตนารมย์ของ กฏหมายen_US
dc.format.extent1714976 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectEconomics -- Financing, Organizeden_US
dc.subjectInsurance -- Insurance, Healthen_US
dc.subjectInsurance, Accidenten_US
dc.subjectInsurance -- Health, Reimbursementen_US
dc.subjectระบบประกันสุขภาพen_US
dc.titleสถานการณ์ของการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถen_US
dc.title.alternativeSituation Analysis of Insurance for Car Accident Injuriesen_US
dc.subject.keywordพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยทางรถen_US
dc.subject.keywordอุบัติเหตุen_US
dc.subject.keywordอุบัติเหตุทางถนนen_US
.custom.citationไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, Paiboon Suriyawongpaisarn and ซำแก้ว หวานวารี. "สถานการณ์ของการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ." 2538. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1858">http://hdl.handle.net/11228/1858</a>.
.custom.total_download35
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs0071.pdf
Size: 1.713Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record