แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ความเป็นธรรมทางสุขภาพระดับครัวเรือน : การสำรวจครัวเรือนรอบที่ 2 และการตรวจร่างกายครั้งที่ 1

dc.contributor.authorศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัยth_TH
dc.contributor.authorSupasit Pannarunothaien_US
dc.contributor.authorดิเรก ปัทมสิริวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorสุกัลยา คงสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorDirek Patamasiriwaten_US
dc.contributor.authorSukalaya Kongsawatten_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:22:42Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:18:58Z
dc.date.available2008-12-04T05:22:42Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:18:58Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1210en_US
dc.identifier.otherระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1859en_US
dc.description.abstractนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องการสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมไม่เป็นอุปสรรคกีดขวาง การศึกษาครั้งนี้เพื่อประเมินผลของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2546 โดยการสำรวจซ้ำครัวเรือนเดิมที่ทำการสำรวจครั้งแรกในปี 2544 ครอบคลุมครัวเรือนประมาณ 4,000 ครัวเรือนในจังหวัดสุโขทัย อุบลราชธานี สมุทรสาคร ภูเก็ต และยังทำการสำรวจสุขภาพด้วยการตรวจร่างกายประชาชนใน 2 อำเภอของจังหวัดสุโขทัย อัตราการพบครัวเรือนเดิมประมาณร้อยละ 77 และพบสมาชิกครัวเรือนคนเดิมร้อยละ 70 จังหวัดที่พบครัวเรือนเดิมและสมาชิกคนเดิมมากที่สุดคืออุบลราชธานี จังหวัดที่พบต่ำที่สุดคือภูเก็ต ความเป็นธรรมในการมีหลักประกันสุขภาพดีขึ้น คือผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพ ลดจากร้อยละ 8.8 ในปลายปี 2544 เหลือร้อยละ 4.3 ในปี 2546 ประชาชนจังหวัดสมุทรสาครยังคงไม่มีหลักประกันสุขภาพสูงที่สุดคือประมาณร้อยละ 7.5 ความเป็นธรรมด้านสุขภาพวัดด้วยคะแนนสถานะสุขภาพที่ประเมินด้วยตนเองพบว่าเมื่ออายุมากขึ้นคะแนนสุขภาพลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับผู้สูงอายุสิทธิบัตรทอง ส่วนผู้สูงอายุสวัสดิการข้าราชการ แม้คะแนนสถานะสุขภาพจะลดลง แต่ก็ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับผู้สูงอายุที่มีสิทธิประกันสังคมมีคะแนนสถานะสุขภาพสูงสุด และคะแนนสุขภาพกลับเพิ่มมากกว่าปีก่อน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยทำนายคะแนนสถานะสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยด้านบวก: คะแนนสถานะสุขภาพปีก่อน รายได้ที่สูงขึ้น การมีงานทำ เพศชาย ปัจจัยด้านลบ: การเจ็บป่วยในรอบ 2 สัปดาห์ การเป็นโรคเรื้อรัง การต้องนอนโรงพยาบาล อายุ การอยู่จังหวัดอื่นๆ เมื่อเทียบกับภูเก็ต ความเป็นธรรมทางสุขภาพของการเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพยังแตกต่างกัน แม้การรับบริการโดยรวมจะต่ำมาก ตัวแปรทำนายการใช้บริการส่งเสริมสุขภาพมากขึ้นได้แก่ อยู่ในเขตเมือง อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เพศหญิง การศึกษาชั้นมัธยมขึ้นไป และสิทธิข้าราชการ แต่การมีสถานะสุขภาพปีก่อนอยู่ในระดับดี-ดีมาก ทำให้การใช้บริการส่งเสริมสุขภาพลดลง ความเป็นธรรมของการรับบริการของผู้ป่วยเรื้อรัง พบว่า ปัจจัยอธิบายพฤติกรรมรับบริการของผู้มีโรคเรื้อรังเปรียบเทียบการสำรวจ 2 รอบ ได้แก่ อายุเพิ่มขึ้นทำให้ประสบการณ์เลือกวิธีไม่รักษาดูแลตนเอง และใช้ภาครัฐมากขึ้น ผู้มีการศึกษาระดับประถมศึกษาเลือกดูแลตนเองและใช้บริการภาครัฐมากขึ้น ระดับมัธยมศึกษาใช้เอกชนมากขึ้น น่าสังเกตว่าผู้มีสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค เลือกไม่รักษาดูแลตนเองและใช้เอกชนเพิ่มขึ้น แต่ใช้ภาครัฐลดลง ผู้มีสิทธิข้าราชการก็ใช้บริการเอกชนมากขึ้น ผู้เป็นโรคเบาหวานเลือกวิธีรักษาที่รัฐและเอกชนมากขึ้น ส่วนการคลังสุขภาพ การจ่ายเงินเองเฉพาะผู้มีโรคเรื้อรัง การสำรวจรอบสองมีลักษณะถดถอยต่อรายได้ลดลงกว่ารอบแรก การตรวจร่างกายผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีผู้รับการตรวจร้อยละ 51 ของผู้ที่ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ครัวเรือนใน 2 อำเภอของจังหวัดสุโขทัย คะแนนสถานะสุขภาพมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับลักษณะเม็ดเลือดแดง ผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคธาลัสซีเมีย มีคะแนนสถานะสุขภาพต่ำกว่า ความตรงกันของการให้ประวัติและการตรวจพบโรคความดันเลือดสูงอยู่ในระดับปานกลาง (Kappa 0.40, p=0.00) และโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูง (Kappa 0.78, p=0.00) คะแนนสถานะสุขภาพของผู้ไม่เป็นโรคเรื้อรังสูงกว่าผู้เป็นโรคเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการสำรวจครัวเรือนเดิมมีอัตราค้นพบครัวเรือนเดิมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง แต่อัตราการมาตรวจร่างกายอยู่ในระดับปานกลาง การใช้วิธีวิจัยเช่นนี้จึงต้องพิจารณาเป็นอย่างยิ่งถึงคุณค่าเพิ่มของวิธีวิจัยแต่ละชนิดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Insurance Systemsen_US
dc.subjectHealth Service Systemsen_US
dc.subjectHealth Policyen_US
dc.subjectInsurance, Healthen_US
dc.subjectHealth Economicen_US
dc.subjectระบบประกันสุขภาพen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectสุขภาพen_US
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.titleความเป็นธรรมทางสุขภาพระดับครัวเรือน : การสำรวจครัวเรือนรอบที่ 2 และการตรวจร่างกายครั้งที่ 1th_TH
dc.title.alternativeHealth equity at household level : The second wave of household survey and first health examination surveyen_US
dc.identifier.callnoWA540 ศ735ค 2547en_US
dc.identifier.contactno46ค056en_US
dc.subject.keywordUniversal Health Coverageen_US
dc.subject.keywordHealth Equityen_US
dc.subject.keywordHealth Careen_US
dc.subject.keywordHouseholden_US
dc.subject.keywordหลักประกันสุขภาพen_US
dc.subject.keywordความเป็นธรรมen_US
dc.subject.keywordการเข้าถึงบริการสุขภาพen_US
dc.subject.keywordการประเมินผลen_US
.custom.citationศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย, Supasit Pannarunothai, ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, สุกัลยา คงสวัสดิ์, Direk Patamasiriwat and Sukalaya Kongsawatt. "ความเป็นธรรมทางสุขภาพระดับครัวเรือน : การสำรวจครัวเรือนรอบที่ 2 และการตรวจร่างกายครั้งที่ 1." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1859">http://hdl.handle.net/11228/1859</a>.
.custom.total_download140
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1210.pdf
ขนาด: 1000.Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย