Show simple item record

Issues associated with the Ping river and public health conditions

dc.contributor.authorสมพร จันทระth_TH
dc.contributor.authorSomporn Chantaraen_US
dc.contributor.authorชิตชล ผลารักษ์th_TH
dc.contributor.authorวีระ วงศ์คำth_TH
dc.contributor.authorชมนาด พจนามาตร์th_TH
dc.contributor.authorนงเยาว์ อุดมวงศ์th_TH
dc.contributor.authorChitchon Palaraken_EN
dc.contributor.authorWeera Wongkhomen_US
dc.contributor.authorChomnard Potjanamarten_US
dc.contributor.authorNongyao Udomwongen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:22:53Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:47:31Z
dc.date.available2008-12-04T05:22:53Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:47:31Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs1071en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1884en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก: รายงานฉบับสมบูรณ์สภาพปัญหาของแม่น้ำปิงกับภาวะสุขภาพของชุมชนth_TH
dc.description.abstractโครงการศึกษาสถาพปัญหาของแม่น้ำปิงกับภาวะสุขภาพของชุมชนได้ทำการศึกษาสภาพปัญหาดังกล่าวเพื่อการประเมินผลกระทบทางสุขภาพเป็นระยะประมาณ 8 เดือน คือตั้งแต่เดือนธันวาคม 2545 ถึง กรกฎาคม 2546 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของแม่น้ำปิงและภาวะสุขภาพของชุมชนในลุ่มน้ำทั้ง 4 มิติคือ สุขภาพกาย สุขภาพสังคม สุขภาพจิต และสุขภาพจิตวิญญาณ 2) เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดจากปัญหาแม่น้ำปิง 3) วางมาตรการเพื่อลดผลกระทบรวมทั้งสร้างกระบวนการเรียนรู้ในระดับท้องถิ่นและผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะ จากการสำรวจพื้นที่ศึกษาของโครงการอันประกอบด้วย 3 อำเภอ ในจังหวัดเชียงใหม่คือ อำเภอแม่ริม อำเภอเมือง และอำเภอสารภี พบว่าทั้งสามพื้นที่นี้มีความคล้ายคลึงกันคือ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเมือง แต่มีความต่างในเรื่องการใช้พื้นที่ อำเภอแม่ริมซึ่งเป็นพื้นที่ด้านเหนือ (ต้นน้ำ) เป็นพื้นที่ชานเมืองที่อยู่ในระยะการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง เนื่องจากมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายๆ แห่ง จึงมีความเจริญอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่อีกด้วย ส่วนอำเภอเมืองเป็นพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำปิงมากที่สุดในแง่การใช้ทัศนียภาพริมสองฝั่งน้ำ เป็นที่รวมของกิจกรรม เช่น ร้านอาหาร บ้านเรือน ที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิตที่หลากหลาย มีประชากรค่อนข้างหนาแน่น ส่วนพื้นที่อำเภอสารภีเป็นพื้นที่ท้ายน้ำที่ยังคงสภาพความเป็นชนบทและมีวัฒนธรรมพื้นบ้านหลงเหลืออยู่ พื้นที่ทั้งสามจึงมีความสัมพันธ์กันทั้งทางภูมิศาสตร์ สังคม และระบบนิเวศ บนความพึ่งพาแม่น้ำสายเดียวกัน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ของต้นน้ำ จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่อื่นๆ ได้ ทั้งในมิติทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ จากการเล็งเห็นความสำคัญในการจัดการแม่น้ำปิงของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมักส่งผลกระทบต่อประชาชนในท้องถิ่นทั้งทางบวกและทางลบ ทางโครงการฯ จึงได้จัดการประชุมสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นระหว่างนักวิจัยโครงการกับตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้ข้อสรุปว่ายังมีมาตรการหลายๆ อย่างที่หน่วยงานภาครัฐปฏิบัติโดยการทำตามนโยบายเพียงอย่างเดียว ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องที่ ยังผลให้เกิดการต่อต้าน หรือขาดความร่วมมือจากภาคประชาชน นอกจากนี้ยังมีมาตรการบางประการที่ซ้ำซ้อนกันของหลายๆ หน่วยงาน ทำให้เสียเวลาและสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐบาลโดยใช่เหตุ จากประเด็นปัญหาต่างๆ ดังกล่าวนำไปสู่การทำแบบสอบถามกว่า 500 ชุด เพื่อสอบถามข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ศึกษาถึงประเด็นความรู้สึกและประสบการณ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำปิงและสุขภาพทั้ง 4 มิติ ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าปัญหาที่รุนแรงที่สุด คือ แม่น้ำปิงมีขนาดแคบลงและตื้นเขิน การพังทลายของหน้าดินบริเวณริมตลิ่ง และการบุกรุกพื้นที่เพื่อประกอบกิจการธุรกิจและการเกษตร ตามลำดับ ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนทั้งทางด้านสุขภาพสังคม เช่น การลดลงของการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณี ด้านสุขภาพจิต เช่น ความรู้สึกหงุดหงิด หรือวิตกกังวลกับคุณภาพน้ำที่แย่ลงหรือการเห็นแม่น้ำถูกบุกรุก ด้านสุภาพกาย เช่น การเกิดผื่นคันอันอาจเนื่องมาจากการสัมผัสน้ำในแม่น้ำ ด้านสุขภาพจิตวิญญาณทั้งในแง่ลบ เช่น การบุกรุกพื้นที่น่านน้ำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และแง่บวก เช่น การคงอยู่ของวัฒนธรรม ประเพณี ซึ่งเป็นสื่อในการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของแม่น้ำปิง ผลการศึกษาจากแบบสอบถามได้ถูกประมวลและวิเคราะห์ พร้อมทั้งนำเสนอในที่ประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหัวข้อเรื่อง “แม่น้ำปิงกับสิ่งแวดล้อมและภาวะสุขภาพของชุมชน” เพื่อให้ทุกๆ ฝ่ายรับทราบข้อเท็จจริงและประเด็นปัญหาต่างๆ พร้อมทั้งรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งได้ข้อสรุปว่าสาเหตุของการเกิดปัญหาประกอบด้วย 1) ปัญหาจากการพัฒนาเมืองซึ่งส่งผลให้มีสิ่งปนเปื้อนในแม่น้ำ การใช้ประโยชน์จากที่ดินริมน้ำโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อแม่น้ำ และมีการสูญสลายทางประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น 2) ปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้และดูแลรักษาแม่น้ำปิง อันประกอบไปด้วย การบุกรุกแม่น้ำโดยบุคคลบางกลุ่มเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน ปัญหาสัมปทาน ท่าทรายเพื่อดูดทรายจากแม่น้ำโดยบุคคลบางกลุ่มเพื่อผลประโยชน์ และปัญหาการละเมิดกฏหมายของบุคคลหรือการบังคับใช้กฏหมายแบบเลือกปฏิบัติ 3) ปัญหาการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การประกอบกิจกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลของน้ำทำให้เกิดการพังทลายของตลิ่ง เช่นเดียวกับการราดซีเมนต์ริมตลิ่ง ทำให้สูญเสียสภาพภูมิทัศน์ริมน้ำ สาเหตุที่ทำให้ปัญหาเหล่านี้ยังคงอยู่และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความสำนึก ความตระหนักในกรอนุรักษ์และดูแลรักษาแม่น้ำปิง จากประเด็นปัญหาข้างต้นสามารถแก้ไขได้โดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ปลูกจิตสำนึกรักน้ำปิงต่อประชาชนทั่วไป โดยรัฐต้องเป็นผู้ปฏิบัติที่เข้าใจปัญหาในแต่ละท้องถิ่น และดำเนินการแก้ไขตามสภาพปัญหาที่แท้จริง โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ เพื่อผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินนโยบายและการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนสืบไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2440563 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectEnvironmental Healthen_US
dc.subjectEnvironmental Illnessen_US
dc.subjectEnvironmental Pollutionen_US
dc.subjectChiang Maien_US
dc.subjectนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพen_US
dc.subjectอนามัยสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectอนมัยชุมชนen_US
dc.subjectมลพิษทางน้ำen_US
dc.subjectแหล่งน้ำen_US
dc.subjectเชียงใหม่en_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleสภาพปัญหาของแม่น้ำปิงกับภาวะสุขภาพของชุมชนth_TH
dc.title.alternativeIssues associated with the Ping river and public health conditionsen_US
dc.description.abstractalternativeThis study describers a Health Impact Assessment (HIA) to identify issues associated with the Ping River which affect public health. The first step in the project, scoping, has been conducted for 8 months, from December 2002 to July 2003. The main objectives of the project are 1) to study 4 dimensions (physical, mental, social and spiritual) of the public health issues associated with the Ping River; 2) to identify the impacts from those public health problems; and 3) to create learning processes at the local level, which will lead to development of better public policy. The study area was three districts in Chiang Mai Province (Mae Rim, Muang and Saraphree). Each of these districts lie on the Ping River. The main differences between them are in land use. Mae Rim, the northernmost (upstream) District, is rapidly urbanizing from a rural basis, because of its many popular tourist attractions and its position on the main highway north from Chiang Mai. Agriculture is still extensive around Mae Rim. Muang District, in the central part of Chiang Mai province, has a relatively high population density. Here the dominant uses of the Ping River are residential and leisure activities. There are many restaurants on the river banks and the scenery is quite beautiful. The southernmost and most downstream district is Saraphree. This is still a rural area and local culture has been retained. The three districts are connected by the Ping River and share a similar geography, human society and ecology. Any changes in the river’s upstream character will be transmitted to the downstream areas and may influence the physical, mental, social and spiritual dimensions of public health. The realization of the need for effective decision making by governmental organizations which can affect the Ping River, and which can impact local communities in both positive and negative ways, produced a brainstorming seminar between researchers of this project and government representatives from the local and central levels. In the past, local government officers have conducted many missions, without approaching the public for advice, which have promoted resistance to government ideas and a lack of public participation as a consequence. There has also been overlap in the activities of some different government organizations, which has resulted in waste of time and loss of public money. After the brainstorming sessions, more than 500 questionaires were issues to the public living in the areas of study, asking them how issues related to the Ping River related to the 4 dimensions of public health described above. The results of the survey showed that the most serious for the public was loss of access to the Ping River. The river was reported to be narrower and shallower than before, because of soil erosion from the banks and intrusion of businesses into the river area. These issues affect the 4 dimensions public health as follows: 1) Social public health is affected because of fewer traditional cultural activities; 2) the mental health of the population is reduced due to irritation over poorer water quality and/or riverbank intrusions; 3) physical health is worse because of rashes from contact with river water; and 4) spiritual health can be negatively affected by human intrusions into the common river area for private personal benefit without community agreement. Spiritual health can also be affected positively, through the retention of culture and tradition, which respects and values the river. An analysis of the answers and responses from the questionaires was presented to the “Ping River, Environment and Public Health Meeting”, attended by many stake holders. The aim of the meeting was to inform the public, listen to the response and share ideas about the issues. The meeting concluded that the main problems were; 1) Uncontrolled urban development, which caused contamination of water, improper land use along riverbanks and loss of local cultures and traditions; 2) Lack of public participation in decisions over the usage and care of the Ping River, which allowed individuals and small groups to gain personal benefit, and avoid law enforcement; 3) Lack of knowledge of consequences of their actions by managers causing more problems, such as changing the direction river flow increasing bank erosion and concrete construction that ruined river scenery. These issues arose because some government organizations and members of the public still lack appreciation for the importance of conserving the Ping River. The three issues mentioned above could be solved by a public relations program to promote the appreciation of the value of the Ping River to the community. Also government must act with understanding on issues in each particular area and address the real cause of the problems. It is most important to listen to public concerns and get both public and non-governmental organizations, which can be important contributors to policy, to be involved together in the successful long term protection of the Ping River and for sustainable local development.en_US
dc.identifier.callnoWA754 ส265ส 2546en_US
dc.identifier.contactno45ค004en_US
dc.subject.keywordPing Riveren_US
dc.subject.keywordPublic healthen_US
dc.subject.keywordHealth Impact Assessment (HIA)en_US
dc.subject.keywordแม่น้ำปิงen_US
dc.subject.keywordภาวะสุขภาพของชุมชนen_US
dc.subject.keywordการประเมินผลกระทบทางสุขภาพen_US
.custom.citationสมพร จันทระ, Somporn Chantara, ชิตชล ผลารักษ์, วีระ วงศ์คำ, ชมนาด พจนามาตร์, นงเยาว์ อุดมวงศ์, Chitchon Palarak, Weera Wongkhom, Chomnard Potjanamart and Nongyao Udomwong. "สภาพปัญหาของแม่น้ำปิงกับภาวะสุขภาพของชุมชน." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1884">http://hdl.handle.net/11228/1884</a>.
.custom.total_download165
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs1071.pdf
Size: 1.498Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record