การสังเคราะห์วิสัยทัศน์ของประชาคมเภสัชกรสำหรับการปฏิรูประบบสาธารณสุขภาพ
dc.contributor.author | คทา บัณฑิตานุกูล | en_US |
dc.contributor.author | Katha Bunditanukul | en_US |
dc.contributor.author | เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข | en_US |
dc.contributor.author | พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร | en_US |
dc.contributor.author | รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ | en_US |
dc.contributor.author | สุนทรี วัชรดำรงกุล | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:22:55Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:47:39Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:22:55Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:47:39Z | |
dc.date.issued | 2543 | en_US |
dc.identifier.other | hs0775 | en-EN |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1890 | en_US |
dc.description.abstract | การสังเคราะห์วิสัยทัศน์ของประชาคมเภสัชกรสำหรับการปฏิรูประบบสุขภาพวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดของประชาคมเภสัชกรเครือข่ายหลักและสังเคราะห์เป็นวิสัยทัศน์ของระบบสุขภาพแห่งชาติที่ต้องการเพื่อสังเคราะห์ให้เห็นบทบาทของเภสัชกรในมิติใหม่ คือบทบาทที่สามารถจะเป็นกำลังขับเคลื่อนระบบสุขภาพแห่งชาติตามที่ต้องการเพื่อเสนอตัวอย่างระบบงานที่น่าจะมีการปฏิรูป หรืองานที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของระบบงานเภสัชกรรมในมิติใหม่วิธีการศึกษาประชากรและการสุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างเป็นเภสัชกร หรือเป็นตัวแทนบุคลากรอื่นที่ไม่ใช่เภสัชกรที่มาจากหลากหลายวิชาชีพ โดยมีคุณสมบัติในการเป็นผู้นำทางความคิด (Opinion leader) มีส่วนได้รับผลกระทบ (Stakeholders) และเคยสัมผัสกับเภสัชกร หรือระบบเภสัชกรรมมาก่อน เช่น เจ้าของร้านขายยา องค์กรเอกชน แพทย์ พยาบาล สื่อมวลชน ผู้นำชุมชน รวมทั้งประชาชนผู้ใช้ยา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิจารณญาณ (Judgement Sampling) ของผู้รับผิดชอบโครงการเป็นหลัก กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนของประชาชน 4 ภาคคือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ คัดเลือกได้ผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นเภสัชกรและบุคลากรอื่นคิดเป็นสัดส่วน 2.17 ต่อ 1 (เภสัชกร 152 และบุคลากรอื่น 70 คน) โดยมีสัดส่วนเป็น 36 : 7 (5.14 : 1) ในภาคกลาง, 29 : 12 (2.42 : 1) ในภาคเหนือ, 20 : 11 (1.82 : 1) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 28 : 23 (1.22 : 1) ในภาคใต้ และครั้งสุดท้ายรวมตัวแทนจาก 4 ภาค ได้สัดส่วนเป็น 39 : 17 (2.29 : 1)วิธีการรวบรวมข้อมูลโครงการนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและจากเอกสารการประชุม ซึ่งมีการจัดประชุมระดมความคิด 5 ครั้งในภาคกลาง (จังหวัดนครปฐม) ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดอุดรธานี) ภาคใต้ (จังหวัดสงขลา) และรวม 4 ภาค (จังหวัดกาญจนบุรี) ระหว่างวันที่ 28 เม.ย. ถึง 8 ก.ค. 2543 โดยใช้วิธีการประชุมแบบมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างอนาคตเป็นหลัก (Future Search Conference, FSC) ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ใช้เทคนิคการระดมความคิดในการวางแผนพัฒนา (Appreciation Influence Control, AIC)สรุปผลระบบสุขภาพไทยวิธีคิดและปรากฏการณ์ปัญหาสุขภาพประชาชนไม่พึ่งตนเอง หวังพึ่งหมอและกินแต่ยารับอิทธิพลจากกระแสตะวันตก ซึ่งกระทบต่อสังคมไทยทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตที่ส่งผลต่อสุขภาพ เช่น การกินอาหารจานด่วน การไม่ดูแลสุขภาพตนเองไม่รู้สิทธิของตนเอง เช่น ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นร่วมกับแพทย์บุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ เภสัชกร ฯมุ่งการรักษาโรค ไม่รักษาคน ไม่เห็นคุณค่าของคนคิดแบบแยกส่วน ไม่มององค์รวมของผู้ป่วย ไม่ทำงานเป็นทีมทำงานแบบตั้งรับ ไม่คำนึงถึงการป้องกันหรือส่งเสริมสุขภาพทำงานเชิงธุรกิจ เช่น แพทย์พาณิชย์ เภสัชกรแขวนป้ายรับแนวคิดแบบตะวันตก ลืมภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องสุขภาพและยา รวมทั้งสมุนไพรบางครั้งไม่คำนึงถึงจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ1.3 ระบบการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะระบบราชการที่ไม่กระจายอำนาจไม่มีอิสระ ได้รับอิทธิพลทางการเมืองสูงประชาชนไม่สามารถเข้าถึงบริการได้การขาดหลักประกันสุขภาพสำหรับประชาชนทั่วไป รวมทั้งความไม่เป็นธรรมในระบบบริการวิสัยทัศน์ประชาคมเภสัชกรรมในระบบสุขภาพไทยวิสัยทัศน์วิชาชีพเภสัชกรรมที่จะตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ระบบสุขภาพ แบ่งเป็น 4 ประเด็น คือ นโยบาย การบริการ บุคลากร และ ระบบบริหารจัดการนโยบายปรับกระบวนทัศน์ของผู้ที่อยู่ในระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพกระจายอำนาจจากส่วนกลางฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพึ่งตนเองส่งเสริมสิทธิผู้บริโภคการบริการประกันคุณภาพบริการ เพื่อคุมครองผู้บริโภคและเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนสร้างสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งตนเอง และป้องกันโรคใช้ข้อมูลข่าวสารให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการให้บริการระบบเครือข่ายเพื่อความต่อเนื่องในการบริการทุกระดับบุคลากรมีสำนึกสาธารณะยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางมองสุขภาพองค์รวมทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณให้บริการที่มีคุณภาพ ทำงานเป็นทีมในระบบบริการพัฒนาให้ทันกับวิทยาการใหม่ๆมีคุณธรรม และ จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพมีการกระจายตัวที่เหมาะสมทั่วประเทศระบบบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพที่เสมอภาคและมีประสิทธิภาพมีระบบยาที่มีประสิทธิภาพ มีพื้นฐานมาจากการวิจัยและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพึ่งตนเองในเรื่องยาโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และการตัดสินใจยุทธศาสตร์ทางเภสัชกรรมเพื่อปฏิรูประบบสุขภาพจากวิสัยทัศน์วิชาชีพเภสัชกรรมที่จะตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ระบบสุขภาพนั้น นำมากำหนดยุทธศาสตร์สำหรับวิชาชีพเภสัชกรรมได้ดังต่อไปนี้มีองค์กรวิชาชีพ ที่เป็นสหวิชาชีพด้านสาธารณสุข ซึ่งมีหน้าที่ดังนี้กำหนดนโยบายการบริหารส่งเสริมการวิจัยในสหวิชาชีพเพื่อการบริการประชาชนเผยแพร่บทบาทหน้าที่ของสหวิชาชีพเพื่อความเข้าใจแก่ประชาชนเป็นศูนย์กลางรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนผลิตบุคลากรทางเภสัชกรรม ที่มีคุณสมบัติดังนี้เกิดระบบคุณค่า และรักษาวัฒนธรรมตะวันออกเป็นเภสัชกรที่มีความรู้ เกิดปัญญามีจรรยาบรรณเป็นแนวทางในการประกอบวิชาชีพมีทักษะการประกอบวิชาชีพ สามารถบูรณาการองค์ความรู้เพื่อการปฏิบัติงานจริงทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้บริการพื้นฐาน (Primary care provider) ในระบบบริการในชุมชนสร้างระบบการประกันสุขภาพชุมชน เพื่อการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นกองทุนชุมชน รวมเงินมาจากประชาชน (และจากรัฐ) เพื่อให้ความคุ้มครองเรื่องสุขภาพแก่สมาชิกส่งเสริมการป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพ เป็นกิจกรรมหลักกองทุนซื้อบริการสุขภาพจากผู้ให้บริการ เช่น ร้านขายยา แพทย์แผนไทย และอื่นๆประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในนโยบาย การดำเนินงาน รวมทั้งร่วมจ่ายเมื่อใช้บริการระบบยาเป็นระบบผสมผสานระหว่างแผนตะวันตกและตะวันออกเน้นการวิจัยและพัฒนายาเพื่อการพึ่งตนเองในเรื่องยาโดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น สมุนไพรมีการประกันคุณภาพยาที่เป็นสากลสร้างระบบการกระจายยาที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสม และคุ้มค่า (cost-effective) ในทุกระดับสร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโยงในระบบสุขภาพรวมทั้งเข้าถึงประชาชนทั่วไปส่งเสริมบทบาทของเภสัชกรรมชุมชนในฐานะของผู้ให้บริการพื้นฐาน (Primary care provider) ให้เป็นบริการเชิงรุก | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 2715271 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Systems Reform | en_US |
dc.subject | การปฏิรูประบบสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การประกันสุขภาพ | en_US |
dc.title | การสังเคราะห์วิสัยทัศน์ของประชาคมเภสัชกรสำหรับการปฏิรูประบบสาธารณสุขภาพ | en_US |
dc.title.alternative | Development of pharmacy vision for health system reform | en_US |
dc.description.abstractalternative | Development of Pharmacy Vision for Health System ReformObjectives: The major objectives of the project are:To brainstorm from pharmacy-related group, their thoughts and to synthesize as vision of the new national health system;To synthesize the new role of pharmacist that can drive the new national health system; and To show an initiative of a new drug system for national health system reform.MethodologySample and sampling technique Both pharmacists and non-pharmacists from several sectors are invited to participate in the meetings. They are opinion leader and are stakeholders in the system, and (for non-pharmacists) have been interacted with pharmacists before. They are drug store owners, non-governmental organizations (NGOs), physicians, nurses, journalists, community leaders, as well as the general public. Samples are selected by judgemental sampling by the investigators. Representatives are from all four regions, the north, northeast, south, and central. Altogether, the ratio of pharmacists to non-pharmacists is 2.17 to 1 (152 to 70, with a ratio of 36:7 (5.14:1), 29:12 (2.42:1), 20:11 (1.82:1), 28:23 (1.22:1), and 39:17 (2.29:1) for the central, north, northeast, south, and combined 4-region, respectively.Data collection Five meetings of brainstorming are held, each in the central, north, northeast, south, and the last one, the combined 4-region, during 28 April and July 8, 2000. The places are Nakorn Pathom, Chiang Mai, Udorn Thani, Songkhla, and Kanchanaburi Province respectively. Future Search Conference (FSC) technique, a participatory method for mutual learning, is used as a means to get information from the participants. Except for the meeting at Udorn Thani for the northeast region, where the Appreciation, Influence, Control (AIC) technique is used.Health System SummaryThinking process and health problemsThe general publicAre dependent on physicians'services and drugs, not self-sufficient,Are influenced by western way of life which impacted upon all aspects of Thai society, economics, politics, social, as well as cultural. Evidences are the changing health behavior such as eating fast food and not taking good care of personal health.Are not aware of consumer’s right. An example is being passive when consulting with physicians.Health personnel such as physician, pharmacistFocus on treating a disease, not the person who is sick.Lack a holistic approach in treating patients, as well as lack of a team approach.Emphasize treatment rather than prevention and health promotion,Health becomes a business enterprise,Based on western thinking process, local wisdom on health and drug are neglected,Lack of professional ethics.Management systemInefficiency, particularly the centralized government bureaucracy.Under political influence.Inaccessibility to services among the population.Lack of health insurance for the general public as well as inequity to services.Pharmacy Vision for the New Thai Health SystemFour different aspects of vision will be discussed: policy, services, personnel and management system.Policy. Priorities are: change in paradigm of all parties involved, health participation among the general public, decentralization of power, self-reliance by going back to community wisdom and heritage, and promote consumer’s right.Services. Included are: quality assurance for consumer protection and improve quality of life, health promotion and prevention rather than treatment, optimization of health information among the population, community involvement is services provision, and a network of health services to all the people.Personnel. Characteristics of health personnel are: public service, patient-focused care, holistic approach with bio-psychosocial and spiritual dimension, quality service, team-work, equitable distribution of personnel throughout the country, and professional ethics.Management system. The new system should: have universal health coverage with equity and efficiency, be an efficient drug system with a strong research and development foundations on community wisdom, be accountable, and with strong community development approach.Strategies for pharmacy toward health system reformProfessional organization. A multidisciplinary professional organization should be established with the obligations to: policy development, promote multidisciplinary research of health service, promote the multidisciplinary health approach to the population, and serve as a center for public grievance.Pharmacy personnel. Future pharmacists should possess the following characteristics: have value system based on eastern culture, be a knowledgeable pharmacist with professional ethics, competent in practice skills, and act as a team of primary care provider in community health services.A community health insurance fund. This is a community insurance scheme, funded by and for community with the goal to health provision to members. Participation from the community in setting up the policy as well as operation decision is essential. Primary missions are health promotion and prevention. Services for the members are purchased from health providers such as drug stores, traditional medicine, etc.Drug system. The new system should: be an integrated system among eastern and western philosophy, focus on research and development for self-reliance (such as herbal medicine), have standard quality assurance. Also needed is an effective and accountable drug distribution system, promotion of rational and cost-effective drug utilization, a health information network accessible by the public,, and promotion of pharmacist as primary care provider. | en_US |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 ค136ก 2543 | en_US |
dc.subject.keyword | Pharmacy | en_US |
dc.subject.keyword | เภสัชกรรม | en_US |
dc.subject.keyword | เภสัชกร | en_US |
dc.subject.keyword | ประชาคมเภสัชกร | en_US |
dc.subject.keyword | ประกันสุขภาาพ | en_US |
dc.subject.keyword | ยา | en_US |
dc.subject.keyword | ร้านยา | en_US |
dc.subject.keyword | ระบบยา | en_US |
.custom.citation | คทา บัณฑิตานุกูล, Katha Bunditanukul, เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข, พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร, รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ and สุนทรี วัชรดำรงกุล. "การสังเคราะห์วิสัยทัศน์ของประชาคมเภสัชกรสำหรับการปฏิรูประบบสาธารณสุขภาพ." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1890">http://hdl.handle.net/11228/1890</a>. | |
.custom.total_download | 175 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 8 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย