Show simple item record

National health accounts in Thailand 1994-2001

dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรth_TH
dc.contributor.authorViroj Tangcharoensathienen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:23:01Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:48:45Z
dc.date.available2008-12-04T05:23:01Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:48:45Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1102en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1901en_US
dc.description.abstractผลการจัดทำบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ ระยะที่ 3 พบว่า รายจ่ายสุขภาพทั้งหมด (Total health expenditure-THE) ของประเทศไทยปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 มีมูลค่า ณ ราคาประจำปีเท่ากับ 170,203 ล้านบาท (รวมการสะสมทุน) รายจ่ายสุขภาพของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2544 แม้ว่าจะมีการหดตัวบ้าง ในช่วงที่ประเทศประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540-2542 อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี ณ ราคาคงที่ ในช่วง 8 ปี ดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 1.2 ในขณะที่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีอัตราการเติบโนเฉลี่ยต่อปี ณ ราคาคงที่ คิดเป็นร้อยละ 0.9 สัดส่วนรายจ่ายสุขภาพทั้งหมดของประเทศ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Products-GDP) ณ ราคาคงที่ คิดเป็นร้อยละ 3.2 ในปี พ.ศ. 2537 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอดจนถึงร้อยละ 3.9 ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ หลังจากนั้นสัดส่วนรายจ่ายสุขภาพของประเทศมีแนวโน้มลดลงเป็นลำดับจนเป็นร้อยบะ 3.2 ในปี พ.ศ. 2544 รายจ่ายสุขภาพทั้งหมดต่อหัวประชากร ณ ราคาคงที่ คิดเป็น 2,477 บาท/คน/ปี ในปี พ.ศ. 2537 เพิ่มขึ้นเป็น 3,284 บาท/คน/ปี ในปี พ.ศ. 2540 และลดลงเป็น 2,540 บาท/คน/ปี ในปี พ.ศ. 2544 สัดส่วนรายจ่ายภาครัฐคิดเป็นร้อยละ 45 ของรายจ่ายสุขภาพทั้งสิ้น ในปี พ.ศ. 2537 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นร้อยละ 56 ในปี พ.ศ. 2544 อัตราการเติบโตเฉลี่ย ร้อยละ 7.7 ต่อปี มากกว่าอัตราการเติบโตของส่วนนอกภาครัฐ ซึ่งขยายตัวเพียง ร้อยละ 0.7 ต่อปี แหล่งการคลังที่ใช้จ่ายในระบบสุขภาพของไทยมีที่มาจากสองแหล่งใหญ่ ได้แก่ ภาครัฐส่วนกลาง และภาคครัวเรือน ซึ่งในปี พ.ศ. 2537 มีสัดส่วนร้อยชะ 30.5 และ 44.5 ของรายจ่ายทั้งระบบ ตามลำดับ แต่รายจ่ายของทั้งสองแหล่งดังกล่าว ปรับมาอยู่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ในปี พ.ศ. 2544 คือ มีฝ่ายละ 1 ใน 3 ของรายจ่ายสุขภาพทั้งระบบ เนื่องจากอัตราการเติบโตของภาครัฐส่วนกลาง เฉลี่ยร้อยละ 5.6 ต่อปี แต่ภาคครัวเรือนมีอัตราการหดตัวเฉลี่ย ร้อยละ 0.1 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2544 รายจ่ายประมาณ 3 ใน 4 ของรายจ่ายสุขภาพทั้งประเทศ เป็นรายจ่ายบริการส่วนบุคคล รายจ่ายด้านการส่งเสริมและป้องกันโรค มีประมาณร้อยละ 7-8 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างคงที่แม้ว่าประเทศจะประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนั้นยังมีค่าบริหารจัดการอีกร้อยละ 4 ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2539 และเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเกือบเท่าตัวเป็นร้อยละ 7-8 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา รายจ่ายที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งคือ การลงทุน ในช่วงก่อนภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้ลงทุนด้านสุขภาพร้อยละ 14-18 ของรายจ่ายสุขภาพทั้งสิ้น สัดส่วนดังกล่าวลดลงภายหลังปี พ.ศ. 2540 เหลือร้อยละ 15.9 ในปี 2541 และลดลงอย่างมากเหลือเพียงร้อยละ 5-6 .ในปี 2542-2544 ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2544 รายจ่ายดำเนินการด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.6 ต่อปี โรงพยาบาลของรัฐ มีส่วนแบ่งของการเติบโตสูงที่สุดถึง ร้อยละ 64.8 ของการเติบโตทั้งสิ้น คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 7.5 ต่อปี โรงพยาบาลเอกชนแม้ว่าจะมีส่วนแบ่งรายจ่ายสุขภาพ มากเป็นอันดับสอง แต่ในช่วงปี 8 ปี ดังกล่าว มีอัตราการเติบโตน้อยมากเฉลี่ยร้อยละ 0.3 ต่อปี สำหรับคลินิกเอกชน และร้านขายปลีกยาและเวชภัณฑ์ ซึ่งมีความสำคัญในระบบสุขภาพไทย ในลำดับถัดมา ในช่วงปี 8 ปี ดังกล่าว มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 2.5 และ 3.4 ต่อปีตามลำดับ จากการศึกษาการไหลเวียนของราจ่ายสุขภาพด้านบริการส่วนบุคคล ที่จ่ายจากหน่วยจ่ายแทนไปยังผู้ให้บริการใดเพื่อซื้อบริการประเภทใด พบว่า แบบแผนของรายจ่ายสุขภาพด้านบริการส่วนบุคคลในปี พ.ศ. 2544 เปลี่ยนแปลงไปจากปี พ.ศ. 2537 พอสมควร กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2537 นอกภาครัฐมีสัดส่วนรายจ่ายสูงถึงร้อยละ 63.7 ของรายจ่ายทั้งหมดในระบบในส่วนนี้ภาคครัวเรือนมีบทบาทสำคัญ โดยมีรายจ่าย ร้อยละ 51.7 ซึ่งเป็นการเพื่อซื้อบริการ กรณีผู้ป่วยนอกเป็นหลัก (ร้อยละ 32.9) โดยจ่ายในโรงพยาบาลรัฐร้อยละ 12.3 ในโรงพยาบาลเอกชน ร้อยละ 10.3 ใช้บริการคลินิกเอกชน ร้อยละ 8.8 เป็นการจ่ายเพื่อซื้อบริการ กรณีผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลเอกชน ร้อยละ 5.8 ในโรงพยาบาลรัฐร้อยละ 4.5 การซื้อยากินเอง มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 8.5 ในส่วนของภาครัฐนั้น มีส่วนแบ่งร้อยละ 36.3 เป็นรายจ่ายจากส่วนกลาง ร้อยละ 19.1 เพื่อจัดบริการในโรงพยาบาลของรัฐ กรณีผู้ป่วยนอก ร้อยละ 10 กรณีผู้ป่วยใน ร้อยละ 7.8 ที่เหลือ ร้อยละ 1.2 เพื่อจัดบริการในสถานีอนามัย ในปี พ.ศ. 2544 สัดส่วนนอกภาครัฐลดลงเป็น ร้อยละ 51 โดยที่ภาคครัวเรือนมีรายจ่ายร้อยละ 40.8 (ลดลงจากร้อยละ 51.7 ในปี พ.ศ. 2537) แต่ยังคงเป็นการจ่ายเพื่อซื้อบริการ กรณีผู้ป่วยนอกเป็นหลัก (ร้อยละ 23.2) โดยจ่ายในสถานพยาบาลรัฐ ร้อยละ 8.9 ในสถานพยาบาลเอกชน ร้อยละ 6.1 ใช้บริการคลินิกเอกชน ร้อยละ 7.4 เป็นการจ่ายเพื่อซื้อบริการ กรณีผู้ป่วยใน ในสถานพยาบาลรัฐ ร้อยละ 6.1 (เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2537) ในสถานพยาบาลเอกชน ร้อยละ 3.7 (ลดลงจากปี พ.ศ. 2537) การซื้อยากินเองแม้จะมีสัดส่วนลดลงจากปี พ.ศ. 2537 แต่ยังคงมีสัดส่วนสูงถึง ร้อยละ 7.6 ในส่วนของภาครัฐนั้น มีส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 49 เป็นรายจ่ายจากส่วนกลาง ร้อยละ 24.1 เพื่อจัดบริการใน ในสถานพยาบาลรัฐ กรณีผู้ป่วยนอก ร้อยละ 12 กรณีผู้ป่วยใน ร้อยละ 10.8 สถานีอนามัยร้อยละ 1.3 เมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติกับบัญชีประชาชาติ พบว่า รายจ่ายดำเนินการด้านสุขภาพ ที่ได้จากการจัดทำบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2537 มี มูลค่า 110,167 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 161,752 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2544 ในขณะที่ รายจ่ายอุปโภค บริโภคด้านสุขภาพ จากบัญชีประชาชาติมีจำนวน 168, 244 ล้านบาทในปี 2537 และเพิ่มขึ้นเป็น 277,051 ล้านบาท ในปี 2544 สัดส่วนของรายจ่ายสุขภาพประชาชาติ (SNA) สูงกว่ารายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ (NHA) ประมาณร้อยละ 38-71 ในช่วงดังกล่าว โดยในช่วง 2 ปี หลังความแตกต่างเพิ่มมากขึ้น ความแตกต่างนี้เนื่องมาจากความแตกต่างนอกภาครัฐเป็นส่วนใหญ่หากเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแล้ว พบว่า รายจ่ายดำเนินการด้านสุขภาพ การบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ คิดเป็นประมาณร้อยละ 3 ในช่วงปี 2437-2544 ในขณะที่ รายจ่ายอุปโภค บริโภคด้านสุขภาพ จากบัญชีประชาชาติ คิดเป็นประมาณร้อยละ 4-5 ในช่วงดังกล่าวth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectHealth Expendituresen_US
dc.subjectHealth Serviceen_US
dc.subjectNational Health--Accountingen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลen_US
dc.subjectอนามัย, บริการen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2537-2544th_TH
dc.title.alternativeNational health accounts in Thailand 1994-2001en_US
dc.description.abstractalternativeThe results from conducting the third phase of National Health Accounts (NHA III) shown the estimation of a Total health expenditure (THE) of Thailand in 2001 of 170,203 million baht at current price including capital formation. The total health expenditure of Thailand had gradually increased during 1994-2001 with average of 1.2 percent of annual growth rate at constant price, though, there was a recession due to the economic crisis during 1997-1999. Whereas the average of annual growth rate of Gross Domestic Product (GDP) during the same period was 0.9 percent at constant price. Ratio of THE to GDP at constant price was 3.2 percent in 1994 and reached to 3.9 percent in 1997, the year which Thailand faced the economic crisis, after that period the ratios of THE to GDP had decreased continuously to 3.2 percent in the year 2001. The THE per capita accounted for 2,560 baht at constant price in 2001 which increased from 2,477 baht in 1994. The share of public sector was 45 percent of THE in 1994. However, it dominated the greater part which was equivalent to 56 percent of THE in 2001. It was due to high average annual growth rate of 7.7 percent which was greater than that of non public sector which expanded only 0.7 percent per year. The major sources of healthcare finance in 1997 came from central government and household sector which accounted for 30.5 and 44.5 percent of THE respectively. Nevertheless, the share of these two main sources had become nearly one third of the whole health expenditure each in 2001. It was due to the high average growth rate of central government expenditure which was 5.5 percent per annum while that of the household was 0.1 percent per annum. During 1994-2001, three third of THE of the Thai health system was personal healthcare consumption. Prevention and public health services had its rather stable share of 7-8 percent, though the country had encountered the difficulty during this period. While the ratio of expense on health administration and health insurance was 4 percent during 1994-1996 and sharply increased to 7-8 percent in the year 1997 on ward. The investment on health sector reflected the impact of the economic crisis apparently, its ratios were about 14-18 percent of THE before the crisis and had declined to be 15.9 percent in 1998 and rapidly decreased to 5-6 percent during 1999-2001. The average growth rate of recurrent healthcare expenditure was 5.6 percent per annum during 1994-2001. Public hospitals earned the highest share of growth of recurrent healthcare expenditure which was 64.8 percent of total amount or average 7.5 percent per year. Private hospitals, though occupied the second large of share, their average growth rate was only 0.3 percent per annum during this period. Private clinics and retail sale of medical goods distributors which shared some extent of important role in the Thai health system showed the average growth 2.5 and 3.4 percent respectively. Pattern of personal health care expenditure in 2001 had been changed when compared to that of 1994. In 1994, non-government sector occupied the highest ratio of personal health care expenditures, which was 63.7 percent. Of which 51.7 percent contributed by private households mainly for ambulatory care (32.9 percent), in public hospitals 12.3 percent, in private hospitals10.3 percent, in private clinics 8.8 percent; for in patient care in private hospitals 5.8 percent, in public hospitals 4.5 percent. In addition, private households paid for over the counter medicines 8.5 percent. The government sector earned the rest of share, 36.3 percent. Of which 19.1 percent paid by central government for ambulatory care in public hospitals (10 percent), and public in-patient care (7.8 percent), the rest 1.2 percent was for provision in health centers. In 2001, non-government ratio declined to 51 percent due to the decrease of private households whose expense decreased to 40.8 percent from 51.7 percent in 1994. However, the main service consumed by private households was for ambulatory care (23.2 percent) in public hospitals 8.9 percent, in private hospitals 6.1 percent, in private clinics 7.4 percent. On the other hand, the private household utilization for in-patient care in private hospitals was increased to 6.1 percent whereas that in public hospitals decreased to 3.7 percent. The share of self prescribed medicine declined to 7.6 percent, though its portion was still high. For the government side, its share increased to be 49.1 percent, of which 24.1 percent was contributed by central government for public in-patient and ambulatory care which equivalent to 12 and 10.8 percent respectively, the rest 1.3 percent was for provision in health centers. Compared with NESDB’s SNA, the amount of the1994 NHA’s recurrent expenditures, which accounted for 110,167 million baht and increased to 161,752 million baht in 2001, less than that of NESDB which estimated for 168,244 and 277,051 million baht in the year 1994 and 2001 respectively. The discrepancy rates were 38-71 percent during that period, the discrepancy rates increased sharply especially in the last two years. It was the main reflection of the increase in non-government sector. The ratios of the NHA’s recurrent expenditures to GDP were approximately 3 percent during 1994-2001, while those of the SNA’s health care consumption to GDP were approximately 4-5 percent during the same period.en_US
dc.identifier.callnoW74 ว711บ 2547en_US
dc.identifier.contactno45ค017en_US
dc.subject.keywordHealth Care Serviceen_US
dc.subject.keywordรายจ่ายสุขภาพen_US
.custom.citationวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร and Viroj Tangcharoensathien. "บัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2537-2544." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1901">http://hdl.handle.net/11228/1901</a>.
.custom.total_download104
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs1102.pdf
Size: 5.757Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record