Show simple item record

An evaluation of social welfare shceme for abused children

dc.contributor.authorอภิญญา เวชยชัยth_TH
dc.contributor.authorApinya Wechayachaien_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:23:05Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:47:49Z
dc.date.available2008-12-04T05:23:05Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:47:49Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs0983en-EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1910en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิด ภาพรวมของรูปแบบและระบบการจัดการ สวัสดิการสังคมด้านความรุนแรงต่อเด็ก ทั้งเด็กที่ถูกกระทำและเด็กที่เป็นผู้กระทำ ทั้งในด้านการป้องกัน การพิทักษ์สิทธิ การสร้างและพัฒนาภูมิคุ้มกันทางสังคม การฟื้นฟูสภาพการให้ความช่วยเหลือ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อค้นหาศักยภาพและข้อจำกัดของระบบ กลไกและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมสำหรับเด็กที่ได้รับความรุนแรง การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตกระบวนการให้บริการแบบมีส่วนร่วม การประชุมกลุ่มสนทนา การศึกษาจากกรณีศึกษาในหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนหลายหน่วยงาน ได้แก่ กองคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ ศูนย์อำนวยการด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสของกรุงเทพมหานคร มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กลุ่มครูกัลยาณมิตร จ.บุรีรัมย์ร่วมกับการทำงานของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ผลการศึกษาที่สำคัญ พบว่า (1) การดำเนินงานด้านสวัสดิการเพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กที่ได้รับความรุนแรง เป็นการดำเนินงานในลักษณะการมุ่งแก้ไขปัญหาที่ตัวเด็กในลักษณะปัจเจก มากกว่าการแก้ไขที่ระบบและกลไกการให้บริการ การดำเนินงานส่วนใหญ่จะเน้นหนักที่งานบำบัดฟื้นฟูในบ้านพักพิง (Shelter Home) รูปแบบหรือกระบวนการการให้การศึกษา ยังไม่สามารถฟื้นฟูสภาพจิตใจ (2) การทำงานในเชิงป้องกัน มีการนำความรู้ แนวคิดและทักษะใหม่ๆ เข้ามาเสริมการทำงานกับเด็กมากขึ้น ทั้งในงานบำบัดฟื้นฟู เช่น ดนตรี ละคร การเล่นฯลฯ มีการขยายงานเชิงป้องกันโดยทำงานกับครอบครัวและชุมชนเพิ่มขึ้น เพื่อเสริมความตื่นรู้ต่อปัญหาของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งตัวเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครอง แกนนำชุมชน ทั้งในชุมชนเมืองและในส่วนภูมิภาค (3) กรณีเด็กที่กระทำความผิด ควรได้รับสิทธิในการบำบัดฟื้นฟูในสภาพที่เหมาะสมตามฐานความผิด วัย และโอกาสในการเปลี่ยนแปลงตนเอง (4) หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีความร่วมมือกันมากขึ้นในการทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อพิทักษ์สิทธิเด็กในจังหวัดต่างๆ การสร้างเครือข่ายในระดับภูมิภาค ระดับท้องถิ่น มีรูปแบบการทำงานร่วมกันในการพัฒนาทีมงาน เริ่มจาก 9 จังหวัดนำร่อง การสร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็กสำหรับช่วยเหลือเด็กต่างชาติมีความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น (5) ระบบสวัสดิการสังคมสำหรับเด็กที่ได้รับความรุนแรง (6) การนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน ได้รับความสำคัญและเป็นที่สนใจจากสาธารณะมากขึ้น แต่การนำเสนอในหลายๆ กรณี อาจมีผลทำร้ายเด็กในทางอ้อมจนส่งผลให้กลายเป็นกระบวนการ “ตัดวงจรความสัมพันธ์” ของตัวเด็ก ครอบครัวและชุมชนออกจากกันโดยสิ้นเชิง (7) ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่ได้รับความรุนแรง (7.1) เร่งการพัฒนาองค์ความรู้และเสริมเทคนิคเชิงลึกในกระบวนการบำบัดฟื้นฟู การสร้างและพัฒนาความเชื่อมั่นและการสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของเด็ก (7.2) การสร้างและพัฒนาระบบการประสานงาน และการสร้างเครือข่ายของระบบส่งต่อ (referral system) ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม การทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ (7.3) เร่งสร้างกลไกและพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์และการดำเนินการทางคดีในแบบ One Stop Service ให้กระจายออกไปอย่างทั่วถึงในสถานพยาบาลต่างๆ (7.4) บ้านพักพิงทั้งของรัฐและเอกชน ควรคำนึงถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เปิดและให้อิสระแก่เด็ก (7.5) การฝึกอบรมควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (7.6) การสร้างเวทีความคิดของบ้านพักพิงทั้งรัฐ เอกชน ส่วนท้องถิ่น ให้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนและต่อยอดประสบการณ์ หรือร่วมกันหาแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาเด็กสำหรับเจ้าหน้าที่ในทุกระดับ (7.7) ควรมีการจัดทีมประเมินผลการดำเนินงานของบ้านพักพิงต่างๆ เพื่อให้เกิดการผลักดันรูปแบบ การประเมินหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม ตลอดจนกระบวนการ/กิจกรรมในบ้าน ควรมีการประเมินทุกปีเป็นประจำ (7.8) ระบบยุติธรรมที่ดำเนินการสำหรับเด็กควรเป็นระบบยุติธรรมที่ทำงานกับครอบครัว ชุมชน (7.9) ควรให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่สื่อมวลชนทุกประเภท และช่วยยกระดับบทบาทการนำเสนอข่าวเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจในมิติเชิงคุ้มครองป้องกันแก่สังคมด้วย (7.10) ควรปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรมต่อเด็ก เยาวชน ทั้งที่เป็นเหยื่อ เป็นผู้กระทำความรุนแรง เป็นกลุ่มเสี่ยง ให้มีสาระที่มีความหลากหลายแตกต่างกัน (7.11) ควรเพิ่มความสนใจและจับตามองความรุนแรงรูปแบบใหม่ๆ ที่มากับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ และควรเร่งสำรวจ ทบทวนกฎหมาย บทลงโทษที่เหมาะสมกับสถานการณ์ใหม่ที่เป็นพลวัต (7.12) เร่งส่งเสริมให้มีกลุ่มนักวิชาชีพอาสาสมัครที่ทำงานกับเด็กให้มากขึ้น (7.13) ควรส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับแนวทางที่ต้องการคำตอบชัดเจนขึ้น เช่น กระบวนการคืนเด็กกลับสู่สังคม กระบวนการคุ้มครองเด็กรูปแบบต่างๆ จากครอบครัว โรงเรียน สถาบันศาสนา ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯลฯ เป็นต้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectViolence--Childrenen_US
dc.subjectความรุนแรงต่อเด็กen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.subjectAbused Childrenen_EN
dc.titleการประเมินระบบสวัสดิการสังคมสำหรับเด็กที่ได้รับความรุนแรงth_TH
dc.title.alternativeAn evaluation of social welfare shceme for abused childrenen_US
dc.identifier.callnoHV1100 อ253ก 2546en_US
dc.identifier.contactno45ค003en_US
.custom.citationอภิญญา เวชยชัย and Apinya Wechayachai. "การประเมินระบบสวัสดิการสังคมสำหรับเด็กที่ได้รับความรุนแรง." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1910">http://hdl.handle.net/11228/1910</a>.
.custom.total_download142
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs0983.pdf
Size: 717.3Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record