แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนานโยบายสาธารณะการจัดการทรัพยากรน้ำ : กรณีศึกษาลุ่มน้ำชีตอนบน

dc.contributor.authorสรัญญา วันจรารัตต์en_US
dc.contributor.authorSaranya Wanjararaten_US
dc.contributor.authorอรทัย แฝงจันดาen_US
dc.contributor.authorWhite, Eleanoren_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:23:07Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:47:53Z
dc.date.available2008-12-04T05:23:07Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:47:53Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifier.otherhs1306en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1915en_US
dc.descriptionเอกสารสังเคราะห์องค์ความรู้เรื่องการพัฒนานโยบายสาธารณะการจัดการทรัพยากรน้ำ: กรณีศึกษาลุ่มน้ำชีตอนบนen_US
dc.description.abstractเอกสารสังเคราะห์องค์ความรู้เรื่อง การพัฒนานโยบายสาธารณะการจัดการทรัพยากรน้ำ : ศึกษากรณีลุ่มน้ำชีตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการน้ำระหว่างองค์กรลุ่มน้ำชีตอนบนกับองค์กรลุ่มน้ำปราจีนบุรี-บางประกง และโดนเลสาป ในด้านการพัฒนานโยบาย ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย กลไกการดำเนินงาน โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ 2. ศึกษาความต้องการในการพัฒนาศักยภาพ ประเมินการรับรู้ของคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำชีตอนบนต่อแนวทางการจัดการทรัพยากรน้ำแบบผสมผสาน (IWRM) และ 3. ศึกษาปัญหาและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนบน ดำเนินการศึกษาในกลุ่มผู้บริหาร และสมาชิกองค์กรลุ่มน้ำชีตอนบน คณะอนุกรรมการลุ่มน้ำชีตอนบน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนบนครอบคลุมน้ำชีตอนบนครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ อุดรธานี มหาสารคาม และหนองบัวลำภู และองค์กรลุ่มน้ำปราจีนบุรี-บางประกง และโดนเลสาป โดยวิธีการทบทวนเอกสารและการสัมภาษณ์ ดำเนินการศึกษาระหว่าง 1 เมษายน 2547 ถึง 30 เมษายน 2548 รวม 13 เดือน ผลการศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการน้ำระหว่างองค์กรลุ่มน้ำชีตอนบนกับองค์กรลุ่มน้ำปราจีนบุรี-บางประกง และโดนเลสาป พบว่า การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ลุ่มน้ำของทั้งสององค์กรลุ่มน้ำ ยังไม่มีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างชัดเจน ด้านกลไกการดำเนินงาน โครงสร้าง และบทบาทหน้าที่ไม่แตกต่างกัน องค์กรลุ่มน้ำปราจีนบุรี-บางประกงและโดนเลสาปมีการบริหารจัดการที่คล่องตัวกว่าองค์กรลุ่มน้ำชีตอนบน ลักษณะสภาพปัญหาของการบริหารจัดการน้ำในสององค์กรลุ่มน้ำดังกล่าวพบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกันผลการศึกษาการรับรู้ในบทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำชีตอนบน พบว่าส่วนใหญ่มีความเห็นว่า มีบทบาทหน้าที่ในการจัดทำแผน การพิจารณากลั่นกรองแผนหรือโครงการต่างๆ และการร่วมแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการจัดการน้ำ ส่วนประเด็นความเข้าใจแนวทางจัดการทรัพยากรน้ำแบบผสมผสาน ยังตอบได้ไม่ครอบคลุมและชัดเจน ด้านการประสานงานและการรับรู้ข่าวสารจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่พบว่า การรับรู้มีหลายวิธีคือ ผ่านตัวแทนคณะทำงานระดับพื้นที่ จากการจัดเวทีของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนมากจะนำเสนอข้อมูลที่ได้ให้กับอนุกรรมการโดยผ่านเวทีการประชุมในแต่ละครั้งเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา รูปแบบการติดต่อสื่อสารระหว่างอนุกรรมการกับองค์กรลุ่มน้ำชี ส่วนมากติดต่อโดยผ่านทางจดหมายเชิญประชุม โทรศัพท์ ด้านการสนับสนุนจัดส่งข้อมูลข่าวสารจากแต่ละหน่วยงานไปยังองค์กรลุ่มน้ำชีตอนบนพบว่า ส่วนมากหน่วยงานต่างๆ จะส่งข้อมูลข่าวสารของแต่ละหน่วยงานในรูปแบบของการทำแผนเสนอต่อคณะอนุกรรมการ และการนำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุมผลการศึกษาปัญหาและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนบนด้านปัญหาพบว่า โครงการที่ภาคประชาชนจัดทำมักไม่ได้รับการอนุมัติ คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ระยะเวลาการพิจารณาโครงการมีเวลาจำกัด ขาดข้อมูลภาพรวมของลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการไม่ตระหนักในบทบาทของตนเอง ขาดการประสานงานในคณะทำงานแต่ละระดับ งบประมาณด้านการบริหารจัดการไม่เพียงพอ องค์กรลุ่มน้าชีตอนบนขาดการประชาสัมพันธ์ ด้านความคาดหวังพอสรุปได้ดังนี้คือ องค์กรลุ่มน้ำควรเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นรูปธรรม คณะอนุกรรมการควรดำเนินการแบบบูรณาการ ควรมีการตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง และสามารถประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้ ควรมีทักษะในการรับฟังความคิดเห็น และการติดต่อประสานงาน ไกล่เกลี่ยปัญหาข้อขัดแย้งได้ดี ควรมีพื้นฐานองค์ความรู้ และความสามารถในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับน้ำและคุณภาพชีวิต ควรพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้เชื่อมโยงได้ในคณะทำงานทุกระดับ ควรพัฒนาระบบการติดตาม และประเมินผลการทำงานของคณะกรรมการลุ่มน้ำอย่างต่อเนื่อง ควรส่งเสริมองค์ความรู้และทักษะในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1482353 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Public Policyen_US
dc.subjectEnvironment Healthen_US
dc.subjectนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพen_US
dc.subjectอนามัยสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการพัฒนานโยบายสาธารณะการจัดการทรัพยากรน้ำ : กรณีศึกษาลุ่มน้ำชีตอนบนen_US
dc.title.alternativePublic policy development for water resources management : A case study of upper Chi river basinen_US
dc.identifier.callnoWA525 ส347ก 2549en_US
dc.identifier.contactno47ค051en_US
dc.subject.keywordPublic policyen_US
dc.subject.keywordChi riveren_US
dc.subject.keywordนโยบายสาธารณะen_US
dc.subject.keywordแผนจัดการทรัพยากรน้ำen_US
dc.subject.keywordลุ่มน้ำชีตอนบนen_US
.custom.citationสรัญญา วันจรารัตต์, Saranya Wanjararat, อรทัย แฝงจันดา and White, Eleanor. "การพัฒนานโยบายสาธารณะการจัดการทรัพยากรน้ำ : กรณีศึกษาลุ่มน้ำชีตอนบน." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1915">http://hdl.handle.net/11228/1915</a>.
.custom.total_download126
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1306.pdf
ขนาด: 997.6Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย