สถานภาพการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพของหนังสือพิมพ์รายวัน
dc.contributor.author | พนม คลี่ฉายา | th_TH |
dc.contributor.author | Phanom Khlichaya | en_US |
dc.contributor.author | นภวรรณ ตันติเวชกุล | th_TH |
dc.contributor.author | รัตนา ทิมเมือง | th_TH |
dc.contributor.author | Naphawan Tantiwetchakul | en_US |
dc.contributor.author | Ratana Timmuang | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:23:14Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:48:02Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:23:14Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:48:02Z | |
dc.date.issued | 2548 | en_US |
dc.identifier.other | hs1185 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1929 | en_US |
dc.description | ภายใต้ชุดโครงการวิจัย : ชุดโครงการวิจัยระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพเพื่อประชาชน | en_US |
dc.description | ชื่อหน้าปก : รายงานวิจัยสถานภาพการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพของหนังสือพิมพ์รายวัน | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบปริมาณและรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาสุขภาพของสื่อหนังสือพิมพ์ ระบุบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำเสนอเนื้อหาสุขภาพทางหนังสือพิมพ์ การให้ความสำคัญแก่การนำเสนอเนื้อหาสุขภาพข้อจำกัดในการทำงาน การตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งให้ทราบถึงความต้องการ วิธีการเข้าถึง การตอบสนองต่อข่าวสารสุขภาพของผู้รับสารเนื้อหาสุขภาพจากหนังสือพิมพ์ โดยวิธีวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชน กรุงเทพธุรกิจ โพสต์ทูเดย์ ผู้จัดการ และแนวหน้า ในช่วงเดือนกันยายน 2547 รวมทั้งสิ้น 84 ฉบับ วิธีสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเสนอเนื้อหาสุขภาพทางหนังสือพิมพ์ทั้ง 6 ฉบับ จำนวน 33 คน และการสนทนากลุ่มผู้รับสาร จำนวน 6 กลุ่ม จำแนกตามเพศ ช่วงอายุ และพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาสุขภาพในหนังสือพิมพ์การวิจัยพบว่า เนื้อหาสุขภาพที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวันมีเรื่องเกี่ยวกับโรคมากที่สุด และพบการนำเสนอสาระด้านการป้องกันโรคมากที่สุด รวมทั้งปรากฏการนำเสนอในรูปแบบคอลัมน์มากที่สุด เนื้อหาสุขภาพปรากฏในส่วนเนื้อในและส่วนพิเศษ ในหน้าสตรี วิทยาการ ชีวิตสุขภาพ และ ต่างประเทศ ตลอดจนหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ด้วยเช่นกัน ขณะที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสนอเนื้อหาสุขภาพ ประกอบด้วย บรรณาธิการ หัวหน้าข่าว ผู้สื่อข่าว ผู้เขียนคอลัมน์ และแหล่งข้อมูลที่เป็น ผู้เชี่ยวชาญและผู้ประสานการให้ข้อมูล เมื่อพิจารณาบทบาทการเสนอพบว่า บรรณาธิการ หัวหน้าข่าว ผู้เขียนคอลัมน์ มีบทบาทในการคัดกรองเนื้อหาที่จะนำเสนอ โดยพิจารณาเลือกจากเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้ ต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายของหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้สื่อข่าว และผู้เขียนคอลัมน์เป็นผู้ที่มีบทบาทด้านการเรียบเรียงนำเสนอ ส่วนบทบาทด้านการให้ข้อมูลสำหรับการนำเสนอ เป็นบทบาทของผู้เป็นแหล่งข้อมูล โดยแหล่งข้อมูลสุขภาพ ประกอบด้วย แหล่งข้อมูลบุคคล แหล่งข้อมูลองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร รวมถึงแหล่งข้อมูลประเภทสื่ออื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเสนอเนื้อหาสุขภาพทุกกลุ่มตระหนักถึงบทบาทในการนำเสนอเนื้อหาสุขภาพของตน และให้ความสำคัญกับการเสนอเนื้อหาสุขภาพ บรรณาธิการ หัวหน้าข่าว และผู้สื่อข่าว มีความต้องการเนื้อหาสุขภาพที่มีผลกระทบในวงกว้าง ผู้อ่านนำไปใช้ประโยชน์ได้ สอดคล้องกับแนวทางของหนังสือพิมพ์ อุปสรรคสำคัญในการนำเสนอเนื้อหาสุขภาพ ประกอบด้วย ความยากของเนื้อหาและศัพท์เฉพาะด้านสุขภาพ การขาดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา ผลประโยชน์แฝงทางธุรกิจ และแนวนโยบายของหนังสือพิมพ์จากการสนทนากลุ่มพบว่า หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงผู้รับสารทุกเพศและทุกช่วงอายุ ผู้รับสารระบุชัดเจนว่า ตนเองไม่ได้คาดหวังการได้รับข้อมูลสุขภาพเป็นหลักจากการเปิดรับหนังสือพิมพ์ โดยเนื้อหาสุขภาพจะเป็นเนื้อหาลำดับท้าย ๆ ที่ผู้รับสารเลือกอ่าน ส่วนเนื้อหา และข่าวสารสุขภาพที่ต้องการขึ้นอยู่กับความสนใจตามช่วงอายุและเพศ รวมถึงความใส่ใจด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล และปูมหลังความเจ็บป่วยของตนเอง และ / หรือ คนในครอบครัว ผู้รับสารที่อ่านเนื้อหาสุขภาพในหนังสือพิมพ์เป็นประจำมักจะติดตามอ่านคอลัมน์ประจำในหนังสือพิมพ์ที่ตนอ่าน รวมทั้งอ่านคอลัมน์สุขภาพอื่น ๆ และมีการเสาะแสวงหาข่าวสารจากสื่ออื่น ๆ ร่วมด้วย สำหรับผู้รับสารซึ่งไม่ได้อ่านเนื้อหาสุขภาพในหนังสือพิมพ์เป็นประจำ มีการติดตามเนื้อหาสุขภาพทางหนังสือพิมพ์อย่างไม่ต่อเนื่อง ไม่กระตือรือร้นในการแสวงหาข้อมูลสุขภาพ ยกเว้นกรณีที่ตนหรือคนในครอบครัวมีการเจ็บป่วย หลายคนในกลุ่มนี้เป็นผู้รับสารสุขภาพเป็นประจำจากสื่ออื่น นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้รับสารมีการตอบสนองต่อเนื้อหาสุขภาพ 3 ลักษณะ ได้แก่ นำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ทันที ในกรณีข้อมูลนั้นสอดคล้องกับสถานการณ์หรือความต้องการของตนเอง แนะนำข้อมูลให้กับคนรอบข้างกรณีที่ข้อมูลมีความสอดคล้องกับสถานการณ์หรือความต้องการของบุคคลนั้น และสะสมข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากสื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างและรักษาฐานข้อมูลส่วนบุคคล | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 3143167 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Systems | en_US |
dc.subject | Information Service | en_US |
dc.subject | Health Communication System | en_US |
dc.subject | บริการสารสนเทศ | en_US |
dc.subject | ระบบสื่อสารสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | สถานภาพการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพของหนังสือพิมพ์รายวัน | th_TH |
dc.title.alternative | The situation of health communication in Thai Daily Newspapers | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to examine the quantity and to identify format of health-related contents in Thai daily Newspapers, to identify distinctive parties involving in process of health message delivery, and to study the concerning parties in terms of their preferences in delivering different health-related messages, their work limitations, their awareness of roles and functions as pressmen, as well as to study the newspaper’s readers concerning types of health information they wanted, their means in searching these information, and their responses towards all health information acquired from the newspaper. This research employed three methods including content analysis, in-depth interview, and focus group. Six Thai newspapers were purposively selected as the sample for content analysis. The total of 84 issues publicized during September 2004 were analyzed. Thirty-three health-related personals working for the six Thai newspapers were interviewed. Furthermore, six focus groups representing newspaper readers, who were different in term of their reading behavior concerning health-related contents, ages, and genders, were conducted. In conclusion, the results from content analysis showed that the most frequent health-related topic and health-related theme found among the sample was topic concerning various deceases, and theme concerning health prevention. Moreover, the most frequent presentation format of health message was the column format. Health-related content could be found in various sections such as women, technology, health, and foreign news sections, as well as the front page.Concerning parties in delivering health-related message consisted of editors in chief, news editors responsible for health-related desks, reporters, columnists and health-related informants. The research found that some specific parties partly shared their roles and functions. Editors in chief, news editors, and columnists mainly acted as message screeners based on their own judgment towards the impact of each topic or content upon readers. Reporters and columnists obviously perform their roles in rewriting and adjusting health-related contents and formats. Health-related informants including the health specialists and the information coordinators played their roles in delivering health-related information. Besides health-related informants, other information sources of the press were government and non-government organizations, documents, and various media channels, locally and internationally. Definitely, each concerning party realized the importance of their role-playing in health-related message delivery. Contents they had paid attention were contents that had tremendous effect upon the public, in term of its benefit and interest. Obstacles in producing health-related messages obviously mentioned in the interviews were difficulties in understanding specific terminologies and particular health-related contents, the thin line between public and private interest over some health-related issues, and the press-owned company’s policy towards health-related content.From the focus group interviews, it was obvious that newspaper was still the accessible medium for different types of readers. Interestingly, attendants mentioned that to read health-related content was not their main purpose in reading newspapers. Therefore, their expectation of exposing health-related content in newspapers was relatively low. Moreover, health-related contents or messages which the readers sought for were different among age groups, gender-based concerns, individual’s health consciousness, and individual’s and or family members’ illness. Further, the findings demonstrated that heavy readers of health-related content were habitually exposed to health-related columns in newspapers and most of them were very active in seeking for other information they would like to know by the use of other media. Light readers of health-related content in newspapers were passive in seeking health information unless they or their family members were ill. Some of them were identified themselves as heavy users of health-related content of other mass medium.Three patterns of responses were found among readers due to their exposure to health-related message. First, due to their own confrontation with health-related problems or concerns, the readers would immediately implement the information they just exposed. The second pattern was to advice surrounding people after considering the involvement of the content upon each person’s situation. Thirdly, the reader would gather all concerned information to build up and to maintain their personal health-related database, and would use this information later whenever needed in the future. | en_US |
dc.identifier.callno | W26.5 พ187ส 2548 | en_US |
dc.identifier.contactno | 47ค061 | en_US |
dc.subject.keyword | Health Communication | en_US |
dc.subject.keyword | Thai Daily Newspapers | en_US |
dc.subject.keyword | Health Message Delivery | en_US |
dc.subject.keyword | หนังสือพิมพ์รายวัน | en_US |
dc.subject.keyword | สื่อหนังสือพิมพ์ | en_US |
dc.subject.keyword | สุขภาพ | en_US |
.custom.citation | พนม คลี่ฉายา, Phanom Khlichaya, นภวรรณ ตันติเวชกุล, รัตนา ทิมเมือง, Naphawan Tantiwetchakul and Ratana Timmuang. "สถานภาพการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพของหนังสือพิมพ์รายวัน." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1929">http://hdl.handle.net/11228/1929</a>. | |
.custom.total_download | 35 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 0 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย