นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ : การวิเคราะห์ระบบ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ
dc.contributor.author | เดชรัต สุขกำเนิด | th_TH |
dc.contributor.author | Decharut Sukkumnoed | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:23:16Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:48:05Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:23:16Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:48:05Z | |
dc.date.issued | 2544 | en_US |
dc.identifier.other | hs0851 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1932 | en_US |
dc.description.abstract | การวิเคราะห์ระบบการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากโครงการลงทุน/พัฒนาขนาดใหญ่ และนโยบายต่างๆ สุขภาพในปัจจุบันได้ถูกขยายความให้ครอบคลุมถึงมิติทั้ง 4 ของสุขภาพ โดยครอบคลุมในเรื่องของสุขภาพทางกาย สุขภาพทางจิต สุขภาพทางสังคม และสุขภาพทางจิตวิญญาณ ดังนั้นสุขภาพจึงมีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมกายภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคมย่อมต้องส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเป็นความพยายามที่จะคาดการณ์ไปข้างหน้าถึงผลกระทบของการดำเนินกิจกรรม โครงการ แผน และนโยบายต่างๆ ที่มีต่อสุขภาพของประชากร เพื่อส่งเสริมให้มีการนำปัจจัยทางสุขภาพของมนุษย์เข้าไว้ในกระบวนการตัดสินใจ พร้อมทั้งลดปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวพันกับโรคและภัยคุกคามแก่สุขภาพของมนุษย์ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพได้เริ่มพัฒนาขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ และเพื่อส่งเสริมให้มีการนำมิติทางสุขภาพเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ โดยกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่ใช้กันอยู่ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญคือ การกลั่นกรองเบื้องต้น การกำหนดขอบข่ายของผลกระทบ การคาดการณ์ผลกระทบ การประเมินความสำคัญของผลกระทบ การกำหนดมาตรการลดผลกระทบ และการติดตามเฝ้าระวัง แม้ว่าการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจะเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย แต่จากการทบทวนแนวคิดและประสบการณ์ในการประเมินผลกระทบต่างๆ ผู้ศึกษามีความเห็นว่า การประเมินผลกระทบทางสุขภาพน่าจะเป็นกลไกที่จำเป็นและสำคัญในการหลีกเลี่ยง ป้องกัน แก้ไข หรือฟื้นฟูผลกระทบทางสุขภาพจากการพัฒนาและโครงการพัฒนา ขณะเดียวกันการพัฒนากระบวนการดังกล่าวก็ยังมีฐานของเจตจำนงทางสังคมที่สนับสนุนกระบวนการนี้อย่างชัดเจน ทั้งในระดับรัฐธรรมนูญ แผนพัฒนาฯ รวมถึงการร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติด้วย ทั้งนี้ กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่จะพัฒนาขึ้นมาต้องเป็นกระบวนการที่ (ก) มีประสิทธิผลในการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพ (ข) เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนต่างๆ อย่างแท้จริงและเท่าเทียม (ค) สอดคล้องกับสภาพ เงื่อนไข และความพร้อมของหน่วยงานและสังคมไทย และ (ง) เน้นการเรียนรู้และการพัฒนาขีดความสามารถให้กับทุกฝ่าย จากการพิจารณาทางเลือกในการดำเนินการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในช่วงเริ่มต้น การพัฒนากระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพควรเป็นการให้น้ำหนักกับการเป็นกลไกในการเสนอข้อมูล และทางเลือกที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าทางด้านสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในประเด็นสาธารณะ มากกว่าที่จะเป็นกลไกที่มีอำนาจหน้าที่ในการออกใบอนุญาต ร่าง พรบ.สุขภาพแห่งชาติควรกำหนดให้มีการพัฒนาระบบและกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โดยมีหน่วยงานเฉพาะภายใต้การกำกับดูแลของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดยควรมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น ทั้งในประเด็นของกรอบโครงสร้างทางสถาบัน และกรอบการวิเคราะห์ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 1697543 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การปฎิรูประบบสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ | en_US |
dc.subject | นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ : การวิเคราะห์ระบบ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.title.alternative | Analysis of health impact assessment system from large investment projects and public policy | en_US |
dc.description.abstractalternative | Analysis of Health Impact Assessment System from Large Investment Projects and Public PolicyDecharut SukkumnoedSince, health is redefined in Thailand as a complete state of well – being, which is well balanced of a body of intertwined elements of the physical, mental, social and spiritual dimension. Therefore, health is dynamically linked to all factors related to the way of living. Any environmental changes in terms of physical, economic and social conditions occurred in form of development process have a potential impact on the people’s health. Health Impact Assessment (HIA) is the combination of procedures, methods, and tools, which enable a judgement to be made on the positive and negative effects of policies, programs, projects, or other development actions. The overall objective of HIA is to maintain and improve the health of entire community/population by reducing health hazards as well as providing determinants for better health. HIA has been promoted by WHO since the 1980s, before developed and implemented in many developed countries during the 1990s. In general, HIA systems apply the common concept and steps of impact assessment, with the specific focus on human health, which are not adequately covered by existing EIA and SIA systems. Like other impact assessment process, the main steps of HIA process include screening, scoping, analyzing, review, mitigation, decision-making, and monitoring and evaluation.Since, according to Thailand’s experience, the people’s health has been seriously threatened by a series of developmental policy and projects themselves. The study found that HIA should become an essential mechanism to prevent and recover negative health impacts as well as to promote positive health impacts derived from development policies and activities in this country.HIA process and system, which will be developed in Thailand, should be (a) effective enough in health protection and promotion, (b) equally participated by all stakeholders, (c) relevant to contexts and conditions within the operational organizations and Thai society, and (d) emphasizing on participatory learning process and capacity strengthening within Thai society.During an initial stage, HIA system in Thailand should based their ground on being participatory learning process, aiming to provide better information and influence for better decision-making according to health aspects, rather than being approval mechanism. This positioning will provide more times and opportunities to build up information, knowledge, understanding, and recognition within society, which is very important for trust building within HIA system. Therefore, in drafting National Health Act, it should be mentioned clearly that the government should support the development of HIA system by establishing an independent organization under the supervision of the supreme organization of Thailand’s health system. It is also very important to search for more details on appropriated HIA models, especially in analytical and institutional frameworks, as well as, to look for strategic partners in order to develop HIA system in Thailand. | en_US |
dc.identifier.callno | WA754 ด837น 2544 | en_US |
dc.identifier.contactno | 43ข134 | en_US |
.custom.citation | เดชรัต สุขกำเนิด and Decharut Sukkumnoed. "นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ : การวิเคราะห์ระบบ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1932">http://hdl.handle.net/11228/1932</a>. | |
.custom.total_download | 398 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 32 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2427]
งานวิจัย