การพัฒนารูปแบบการจัดระบบสร้างเสริมความปลอดภัยในรถยนต์โดยสารรับ-ส่งนักเรียนจังหวัดเชียงราย
dc.contributor.author | งามนิตย์ ราชกิจ | th_TH |
dc.contributor.author | Ngamnith Ratchakit | en_US |
dc.contributor.author | พงศ์พันธุ์ เชิดชู | th_TH |
dc.contributor.author | ภาสกร ณ พิกุล | th_TH |
dc.contributor.author | สุริยา ทวีกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Phongpan Chirdchu | en_US |
dc.contributor.author | Passakorn Napikul | en_US |
dc.contributor.author | Suriya Taveekul | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:23:23Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:32:38Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:23:23Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:32:38Z | |
dc.date.issued | 2545 | en_US |
dc.identifier.other | hs0946 | en-EN |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1948 | en_US |
dc.description | ได้รับรางวัล รองชนะเลิศ ในการประกวดโครงการสร้างกำไรให้สุขภาพชุมชนเมื่อวันที่ 27 พย. 45 | th_TH |
dc.description.abstract | การพัฒนารูปแบบการจัดระบบสร้างเสริมความปลอดภัยในรถยนต์โดยสารรับ-ส่งนักเรียนจังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและหากลวิธีที่เหมาะสมในการจัดระบบสร้างเสริมความปลอดภัยในรถโดยสารรับ-ส่งนักเรียนจังหวัดเชียงราย โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากบุคลากรในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ หน่วยงานตำรวจ ขนส่ง สถานศึกษา สาธารณสุข สื่อมวลชน และชมรมรถรับ-ส่งนักเรียน โดยยึดความปลอดภัยของนักเรียนผู้โดยสารเป็นสำคัญ ประชากรที่ศึกษาได้แก่ ผู้ขับขี่รถรับ-ส่งนักเรียนที่เป็นสมาชิกชมรมรถรับ-ส่งนักเรียนจังหวัดเชียงรายจำนวน 388 ราย ทำการศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม 2544 ถึงเดือนสิงหาคม 2545 รวมเวลา 1 ปี 6 เดือน แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ขับขี่รถฯ จำนวน 213 ราย เก็บข้อมูลเพื่อบอกขนาดของปัญหาโดยใช้แบบสอบถาม การจัดสนทนากลุ่มในกลุ่มหัวหน้าสาย 26 สาย และการเฝ้าระวังพฤติกรรมของบุคคลต่างๆ ทีเกี่ยวข้อง นำข้อมูลและปัญหาที่รวบรวมได้มาจัดประชุมระดมความคิดเห็น และการวางแผนแก้ไขปัญหา ระยะที่ 2 เป็นการดำเนินกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาระบบความปลอดภัยในการใช้รถฯ ได้แก่ การจัดอบรมผู้ขับขี่รถฯ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับรถฯ ที่ปลอดภัย การตรวจสภาพของรถฯ ให้ได้มาตรฐานที่กำหนด การผลิตสื่อ การจัดระบบเฝ้าระวังพฤติกรรมการขับขี่หลังดำเนินมาตรการ การจัดประกวดผู้ขับขี่ดีเด่นในแต่ละสาย เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่ม แบบเฝ้าระวังพฤติกรรมผู้ขับขี่ แบบรายงานการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุในโรงเรียน สถานบริการสาธารณสุข และชมรมรถรับ-ส่งนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 87.8 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 58.1 ปัจจุบันมีการสูบบุหรี่ ร้อยละ 11.7 ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 8.0 มีการตรวจสุขภาพประจำปี ร้อยละ 42.7 มีการคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ร้อยละ 52.1 รถที่ขับส่วนใหญ่เป็นรถตู้ ร้อยละ 90.1 เป็นรถของตนเอง ร้อยละ 93.0 รถมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 9 ปี มีประสบการณ์การขับรถยนต์และรถรับ-ส่งนักเรียนเฉลี่ยนาน 14.7 ปี และ 6.2 ปี ตามลำดับ จำนวนโรงเรียนที่ไปส่งนักเรียนเฉลี่ย 4.9 โรงเรียน/คัน ในรอบ 1 ปี ก่อนดำเนินการมีการเกิดอุบัติเหตุรถชน จำนวน 16 คัน คิดเป็นร้อยละ 7.5 ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาส่วนขาด ได้แก่ การจัดประชุมวิชาการแก่ผู้ขับขี่รถรับ-ส่งนักเรียน จำนวน 329 ราย การตรวจสภาพรถ 257 คัน ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 16 ข้อ ร้อยละ 39.7 รถที่ไม่ผ่านได้ปรับปรุงให้ผ่านเกณฑ์ ภายใน 1 เดือน การตรวจสุขภาพผู้ขับขี่รถรับ-ส่งนักเรียน พบเป็นโรคความดันโลหิตสูง 6 ราย (1.3%) ตรวจสุขภาพฟันจำนวน 219 รายเป็นโรคเหงือกอักเสบทั้งหมด (100%) ตรวจปัสสาวะหาสารแอมเฟตามีนจำนวน 301 ราย พบผลบวกทันทีจำนวน 12 ราย (3.9%) ส่งตรวจยืนยันได้ผลบวก 1 ราย (0.3%) ผลการพัฒนาระบบสร้างเสริมความปลอดภัยในรถรับ-ส่งนักเรียน โดยหน่วยงานพหุภาคีที่เกี่ยวข้องได้ทำการพัฒนาด้านกฎระเบียบจราจร พัฒนาระบบความปลอดภัยของสภาพรถและผู้ขับขี่ พัฒนาด้านสุขภาพของผู้ขับขี่ พัฒนาการเฝ้าระวังพฤติกรรม พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ สร้างระบบเครือข่ายการรักษาและการส่งต่อ พัฒนาระบบความปลอดภัยภายในและภายนอกสถานศึกษา พัฒนาด้านข้อมูลการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนัก ตลอดจนพัฒนาระบบความปลอดภัยของสมาชิกชมรมฯ ในรอบปีการศึกษาวิจัยพบการเกิดอุบัติเหตุจากรถรับ-ส่งนักเรียน จำนวน 3 คัน (0.8%) นักเรียนบาดเจ็บ 7 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับจำนวนการเกิดอุบัติเหตุในรอบปีก่อนดำเนินการโครงการ รูปแบบการดำเนินงานดังกล่าวถือเป็นมิติใหม่ในการทำงานแบบมีส่วนร่วมเชิงรุกของหน่วยงานพหุภาคี ก่อให้เกิดระบบการป้องกันก่อนการเกิดอุบัติเหตุในรถรับ-ส่งนักเรียน ควรมีการขยายผลให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด และเป็นต้นแบบของจังหวัดอื่นเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Traffic Safety--Chiang Rai | en_US |
dc.subject | ความปลอดภัยในท้องถนน--เชียงราย | en_US |
dc.subject | อุบัตเหตุทางถนน | en_US |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการจัดระบบสร้างเสริมความปลอดภัยในรถยนต์โดยสารรับ-ส่งนักเรียนจังหวัดเชียงราย | th_TH |
dc.title.alternative | The model development of safety promotion in the school buses at Chiang Rai province | en_US |
dc.description.abstractalternative | The Model Development Of Safety Promotion In the School Buses at Chiang Rai Province The purpose of this participatory action research was to develop the model to find out the suitable strategy to develop the safety promotion system for the school buses in Chiang Rai province by the process of actively participation from all related sectors in Chiang Rai included :- the Police Units, Transportation Offices, schools/colleges, Public Health Offices, Mass media offices, and Chiang Rai School bus Club. The study population were 388 school bus drivers who were the members of the Chiang Rai school bus club. The study period took one and a half year long from March 2001 to August 2002. It was divided into 2 phases. In the first phase, 213 school bus drivers were random sampling for interviewing by questionnaire to identify the important problems related to the safety of the school bus. The focus group discussion with the key members of the school bus Club were conducted to provide the qualitative data related to the same problems. Surveillance for the risk behavior, brain storming and setting up the action plan were developed. In the second phase, all school bus drivers were invited to participate in the action plan for promoting the safety condition in the school bus transportation such as training program on safety driving, checking up and improving the school bus condition to meet the standard requirement, educational media production, driving behavior surveillance, campaigning a good behavior driving competition, etc. The study tools included : structure questionnaires, guideline for focus group discussion, behavior observation of drivers, accident report of schools, hospitals, and the school bus club. The percentage, mean and standard deviation were used as the descriptive statistics for data analysis. The results of this study in Phase one showed that 87.7 % of the school bus drivers were male, 51.1% had completed a primary education level, 11.7% had a history of smoking, 8.0% had a history of alcohol drinking, 42.7% had a regular physical check up, 52.1% put on seat belt during driving, 90.1% of the school bus was a van-type, and 93.0% owned the school bus. By average, the cars were used for 9 years, the experience in driving a car was 14.7 years and driving a school bus was 6.2 years. One school bus carried the students around 4.9 schools per car. One year before this project started, there were 16 vehicles (7.5%) got the traffic accidents. A number of activities were introduced to solve the problems. A training course for all school bus drivers was organized. The 16 standard conditions for the school bus were applied to check all 257 school buses and 39.7% of them could not pass in the first round but after improving the vehicle conditions within one month, all school bus were met the requirement. All school bus drivers received the health examination from health personnel. The results showed that 6 drivers (0.3%) had hypertension and all of them had gingivitis. Urine test for amphetamine was done for 301 drivers. Twelve (3.9%) of them found positive by the screening test. Confirmatory test was rechecked and only 1 (0.3%) urine specimen provided positive result for amphetamine. The system development for safety promotion of school buses was quite success by the collaboration of public and private sectors in Chiang Rai. Many things had much improved such as better driving behavior follow the traffic regulations, improving the school bus condition, taking care of their health, development of injury surveillance system, driving behavior observation, referral system for emergency and accident, and educational campaign for traffic safety promotion through public medias. During the study period, 3 school buses had accident [0.8%], 10 students were injured, and nobody died. These number of accidents was much less when compared with the previous year. This new approach model which actively participate by all sectors had showed the great impact for preventing the accident caused by the school buses. The lesson learn from this study should be used as a prototype for other provinces to modify for solving their own problems. | en_US |
dc.identifier.callno | WA275 ง337ก 2545 | en_US |
dc.identifier.contactno | 44ค047 | en_US |
dc.subject.keyword | Accident--Preventive and Control | en_US |
dc.subject.keyword | School Bus | en_US |
dc.subject.keyword | รถรับ-ส่งนักเรียน | en_US |
dc.subject.keyword | อุบัติเหตุ | en_US |
.custom.citation | งามนิตย์ ราชกิจ, Ngamnith Ratchakit, พงศ์พันธุ์ เชิดชู, ภาสกร ณ พิกุล, สุริยา ทวีกุล, Phongpan Chirdchu, Passakorn Napikul and Suriya Taveekul. "การพัฒนารูปแบบการจัดระบบสร้างเสริมความปลอดภัยในรถยนต์โดยสารรับ-ส่งนักเรียนจังหวัดเชียงราย." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1948">http://hdl.handle.net/11228/1948</a>. | |
.custom.total_download | 78 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 5 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย