แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ศักยภาพประชาคมในการจัดการปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก

dc.contributor.authorพิมพวัลย์ บุญมงคลth_TH
dc.contributor.authorPimpawan Boonmongkonen_US
dc.contributor.authorมัลลิกา มัติโกth_TH
dc.contributor.authorนิภรณ์ สัณหจริยาth_TH
dc.contributor.authorแววรุ้ง นาวาบุญนิยมth_TH
dc.contributor.authorธีรศักดิ์ พรหมพันใจth_TH
dc.contributor.authorอัมพร หมาดเด็นth_TH
dc.contributor.authorศุภเลิศ กิจขจรไพบูลย์th_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:23:26Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:50:48Z
dc.date.available2008-12-04T05:23:26Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:50:48Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs0980en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1954en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาถึงศักยภาพประชาคมที่สนองตอบต่อปัญหาความรุนแรงทั้งในระดับมหภาคและปัจเจก โดยวิเคราะห์ตั้งแต่ภาพรวมของสถานการณ์ประชาคม การก่อเกิด แนวคิด พัฒนาการ บทบาท และรูปแบบในการจัดการปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก ซึ่งการวิเคราะห์ศักยภาพการจัดการปัญหาความรุนแรงของประชาคมนี้ได้วิเคราะห์ไปพร้อมกับปัจจัยที่เอื้อหรือที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานภายใต้องค์ประกอบประชาคม 3 ประการ คือ จิตสำนึกประชาคม (Civic Consciousness) โครงสร้างองค์กรประชาคม (Civic Organization) เครือข่ายประชาคม (Civic Network) โดยวิเคราะห์ภายใต้บริบททางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและภูมิภาค รวมทั้งความเคลื่อนไหวของกระแสโลก การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษาเชิงเอกสาร และการศึกษาเฉพาะกรณี สำหรับวิธีการศึกษาที่ใช้ ได้แก่ การทำ Mapping ประชาคมต่างๆ ที่มีการทำงานด้านความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กที่มีอยู่ในประเทศไทย การทบทวนเอกสาร การค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์และบุคคล การศึกษาเฉพาะกรณีใช้วิธีการสัมภาษณ์ระดับลึก การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การสังเกต ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ทฤษฎีเชิงวิเคราะห์แนวคิดประชาสังคม แนวคิดสตรีนิยม แนวคิดบทบาทความสัมพันธ์หญิงชาย (Gender) และแนวคิดทฤษฎีเชิงวิพากษ์ ผลการศึกษา ประชาคมที่มีการจัดการปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กในสังคมไทยจำนวน 89 องค์กรมีแนวคิดหลักในการทำงานเป็นแนวคิดด้านสิทธิ คือ สิทธิมนุษยชน สิทธิสตรี สิทธิเด็ก และแนวคิดบทบาทความสัมพันธ์หญิงชาย (Gender) ส่วนยุทธศาสตร์การทำงานเป็นการทำงานในชุมชนมากขึ้น มีการทำงานเชิงบูรณาการที่เคลื่อนไหวทั้งเชิงนโยบาย การปฏิรูปกฎหมาย การณรงค์ปรับเปลี่ยนทัศนะของสังคมเรื่องความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก งานป้องกันปัญหา การให้ความช่วยเหลือผู้ถูกกระทำรุนแรงที่มีความละเอียดอ่อนเข้าใจความรู้สึก ความต้องการและสภาพปัญหามากขึ้น รวมทั้งการฟื้นฟูช่วยเหลือให้ผู้ถูกกระทำรุนแรงกลับคืนสู่สังคมได้ โดยมีการทำงานที่เป็นสหสาขามากขึ้น ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อศักยภาพของประชาคมที่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน คือ ประสบการณ์การทำงาน แนวทางการพัฒนาและการเคลื่อนไหวในสังคมระดับนานาชาติ นโยบายและการสนับสนุนจากภาครัฐ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพขององค์กรชาวบ้านในชุมชน คือ โครงสร้างสังคม และวัฒนธรรมของชุมชน อันได้แก่ ระบบคิดชายเป็นใหญ่ที่ฝังรากลึก ระบบเครือญาติ ระบบอาวุโส ระบบอุปถัมภ์ ชนชั้นทางสังคม การเมืองระดับต่างๆ การให้ความสำคัญกับอำนาจที่เป็นทางการ และที่สำคัญคือ ความเชื่อของชุมชนต่อปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงที่มองว่าเป็นปัญหาส่วนตัว มิใช่ปัญหาส่วนรวม ปัจจัยเหล่านี้เป็นทั้งส่วนสนับสนุนและเป็นอุปสรรคในการทำให้เกิดประชาคมในการจัดการปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก รวมทั้งความสำคัญต่อการสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนตระหนักและร่วมกันป้องกันปัญหา นอกจากนี้ กระบวนการสนับสนุนให้ชุมชนมีการทำงานด้านความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กขององค์กรต่างๆ จากภายนอกชุมชน มีผลต่อศักยภาพประชาคม โดยเฉพาะกระบวนการทำงานเพื่อสร้างให้เกิดความเข้าใจวิธีคิด วิเคราะห์ปัญหาร่วมกับชุมชน และการทำงานกับกลุ่มคนในชุมชนที่หลากหลาย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การทำงานจัดการปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก ต้องทำงานควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่มีต่อผู้หญิงด้วย ทิศทางการรณรงค์ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กในระดับสังคมวงกว้าง ต้องเน้นประเด็นให้ชัดเจนว่า (1) ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีสาเหตุมาจากบทบาทความสัมพันธ์หญิงชาย (Gender based Violence) (2) ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่ปัญหาส่วนตัว แต่เป็นปัญหาสังคมที่ทุกคนต้องร่วมกันแก้ไข (3) ผู้ถูกกระทำรุนแรงมีสิทธิที่จะไม่ถูกกระทำรุนแรง รวมทั้งสิทธิที่จะไปขอรับความช่วยเหลือ การทำงานจัดการปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก ต้องมีการเชื่อมและปรับเข้ากับสถานการณ์ปัญหาสังคมอื่นๆ ที่เกิดขึ้น เพราะปัญหาสังคมต่างๆ มีความเชื่อมโยงและเกี่ยวเนื่องกัน เช่น การร่วมรณรงค์ประเด็นความรุนแรงกับเรื่องเอดส์ กับปัญหายาเสพติด ปัญหาการท้องเมื่อไม่พร้อม ควรมีการเชื่อมโยงกับประเด็นบทบาทความสัมพันธ์หญิงชายโดยตลอด ซึ่งจะทำให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ชัดเจน และสามารถแก้ไขปัญหารากเหง้าได้ ควรกำหนดมาตรการหรือการรองรับสิทธิสวัสดิภาพหรือความปลอดภัย สำหรับอาสาสมัครในชุมชน เพื่อให้มีความมั่นใจและสนับสนุนให้มีความร่วมมือในการทำงานมากขึ้น ควรสนับสนุนให้มีการทำงานจัดการปัญหาด้านความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิงในกลุ่มต่างๆ เพิ่มขึ้นและเป็นประเด็นที่ทำงานให้ต่อเนื่อง ทั้งภาคธุรกิจ เครือข่ายวิทยุรถแท็กซี่ องค์กรเอกชนอื่นๆ กลุ่มสตรีนักธุรกิจและสมาคมแม่บ้านจังหวัดต่างๆ สื่อมวลชนแขนงต่างๆ บริษัทโฆษณา และรายการวิทยุ ข้อเสนอแนะต่อการทำงานระดับชุมชน ยุทธศาสตร์การทำงานด้านความรุนแรงในชุมชนจำเป็นที่จะต้องสร้างให้เกิดการทำงานร่วมกันของคนทุกคนในชุมชน เป็นการทำงานพร้อมกันระหว่างผู้นำ อาสาสมัคร และคนในชุมชนทั้งชุมชน ต้องมีการลดช่องว่างความต่างของความรู้ ความเข้าใจระหว่างคนในชุมชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะการเสริมสร้างศักยภาพ สร้างความเข้มแข็งทั้งหญิงและชาย ทั้งผู้นำ อาสาสมัคร และคนในชุมชน การทำงานต้องเริ่มด้วยการให้ชุมชนได้วิเคราะห์ด้วยตนเองถึงความเข้าใจของชุมชนเองต่อปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก ประเด็นสถานการณ์ ระดับความรุนแรง รูปแบบที่ดำรงอยู่ในสังคม มายาคติ ตลอดจนต้องทำให้ทั้งชายและหญิงเข้าใจในประเด็นบทบาทความสัมพันธ์หญิงชายว่าเป็นรากเหง้าของปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง การทำงานในชุมชนต้องมีการประสานกับหน่วยงาน องค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในลักษณะพหุภาคี ซึ่งต้องวางบทบาทแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน และเกื้อกูลกัน การทำงานด้านความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กต้องควบคู่ไปกับงานพัฒนาด้านอื่นๆ โดยอาศัยต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้วในชุมชน คือ กลุ่มต่างๆ ความสัมพันธ์ทางสังคมในชุมชนรูปแบบต่างๆ กลวิธีการทำงานในชุมชน กระบวนการทำงานต้องเริ่มต้นด้วยการค้นหาคนทำงาน ซึ่งอาจมีทั้งผู้ที่มีจิตสำนึกมองเห็นปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กบนพื้นฐานความเข้าใจประเด็นบทบาทความสัมพันธ์หญิงชาย และจิตสำนึกการทำงานเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม การทำงานควรต้องใช้ประโยชน์จากรูปแบบจิตสำนึกที่มีอยู่หลายรูปแบบในชุมชนอันเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้วในชุมชนเป็นลำดับต้น แล้วพยายามเคลื่อนพื้นที่ของจิตสำนึกให้พัฒนาไปสู่จิตสำนึกด้านความเสมอภาคทางเพศให้ได้ ดำเนินการเปิดพื้นที่เพื่อแสวงหาความร่วมมือจากทุกคน ทุกระดับในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักว่าปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กเป็นปัญหาร่วมของชุมชน โดยใช้ยุทธศาสตร์การวิเคราะห์ปัญหาร่วมในชุมชน เพื่อกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกการมีส่วนร่วม การเป็นเจ้าของ และการทำงานในลักษณะประชาคม ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับวิธีคิดเรื่องความรุนแรงของชุมชน วัฒนธรรม บริบททางสังคมที่เอื้อหรือที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการทำงานด้านความรุนแรงของชุมชน มีรูปแบบการปรับเปลี่ยน รื้อสร้างจิตสำนึกและมายาคติเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก รวมทั้งจิตสำนึกของการเข้าร่วมประชาคมด้วยกระบวนการต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ คือ การจัดอบรม การพูดคุยในชีวิตประจำวัน การนำประเด็นบทบาทความสัมพันธ์หญิงชายเข้าแทรกในการอภิปรายเรื่องต่างๆ ในชุมชนทุกครั้งที่มีโอกาส การรณรงค์สร้างจิตสำนึกของชุมชนในเรื่องปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กว่าเป็นปัญหาจากบทบาทความสัมพันธ์หญิงชาย ควรเริ่มจากฐานคิดและการทำงานที่ชัดเจนและเป็นระบบในการรื้อถอนระบบคิดชายเป็นใหญ่ การขุดรากถอนโคนความสัมพันธ์เชิงอำนาจและมายาคติเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงที่ดำรงอยู่ในชุมชนและสังคมในรูปแบบต่างๆ หลังจากการรื้อถอนความคิดชุดเดิมแล้ว ควรตามด้วยการเพิ่มนิยามและความรู้ชุดใหม่เกี่ยวกับผู้หญิงในประเด็นบทบาทความสัมพันธ์หญิงชายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบทบาทและความสำคัญของผู้หญิงในครอบครัวและสังคม การเคารพในสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศ เพิ่มเครือข่ายการทำงานและเสริมศักยภาพคนทำงาน โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน ถอดประสบการณ์การทำงานร่วมกับเครือข่ายภายในและภายนอกองค์กรอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นกลวิธีที่จำเป็นต่อการส่งเสริมศักยภาพประชาคมth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent3572066 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectViolenceen_US
dc.subjectความรุนแรงen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleศักยภาพประชาคมในการจัดการปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กth_TH
dc.title.alternativeCapacity of Civil Society to Intervene on Violence Against Womenen_US
dc.description.abstractalternativeThis study aims to examine the capacity of civic groups that work on issues related with violence against women and children from the macro and micro levels. The scope of the study covers the situational analysis on civic groups that work on issue related with violence against women and children covering their origin, concepts, principles, development, roles, and patterns. The study also focuses on factors that promote or inhibit their potential to be effective. The analysis of the civic group’s capacity is done according to three components of civic groups including civic consciousness, civic organization, and civic network which considering socio-cultural, economic and political context at the global, regional, country and community levels. This study has utilized qualitative, documentary and case study research designs. The research methods used are mapping, documentary review, internet search, telephone interview, in-depth interviews, focus group discussion, key-informant interviews, and observation. Data analysis is based on concepts of civil society, feminism and critical theory.We found that there are 89 civic groups that work on the issue related with violence against women. They are Non Governmental Organizations (NGOs), community-based organizations, media, radio stations, and business enterprises. The concepts used for their motivation are human rights, women’s rights, child’s rights, and gender mainstreaming. The strategies they use are based on community-based, integrative and interdisciplinary approaches. Their work covers policy formulation, advocacy, legal reform, societal campaigns for attitude change, prevention and providing support systems that are women-centered and gender-sensitive as well as helping battered women to return to live in society with dignity.Factors that influence the capacity of NGO civic groups that are working experience, development approach, the women’s movement at the global level, policy and support from the government. Factors that influence the capacity of community-based programs are social structure and cultural system of the community, which includes patriarchy system, kinship system, seniority system, patron-client relations, social class, political system at different level and the bias toward the respect for the formal political structure. An important factor is the community belief of the myth that violence against women is a private issue, not a societal issue. These factors promote or obstruct civic groups in working on issues related with violence against women and children. Moreover, the processes by which various NGOs support communities to work on this issue influence the capacity of civic group at the grass root level, especially the processes of raising community awareness and mobilizing various groups of community members to work on the issue.Recommendations at the Policy LevelWorking on issues related with violence against women and children requires working together on issues related to structural violence Campaigning against violence against women and children at the societal level requires an emphasis on the concept that: 1) violence against women and children is gender-based violence; 2) violence against women and children is not a private, but a public matter; 3) battered women and children have a right to life and to live without violence as well as to seek helpIn order to work on the issue of violence against women and children, we should integrate our work on this issue with other social problems that occur in the communities. This is because most social problems share the same root causes and they are connected to each other. For example, the campaign on the issue of violence against women and children should be done together with campaigns on HIV/AIDS, drug abuse, and unwanted pregnancy among the youth. The campaign should based on a gender perspective, which will help us to be able to successfully solve the root causes of these problems To determine principles regarding rights, welfare or safety of community members in order to support civic groups that work at the community levelTo promote other civil societies to work on issues of violence against women and children such as the taxi network, business women’s groups in various provinces, media, press, advertisement enterprise, creative companies and radio stations.Recommendations at the Community Level Principles: To mobilize community members to work on the issue of violence against women and children is to work with every sector in the community including village leaders, volunteers, and all other community members, both men and women. An effort must be made to close the gap of knowledge among community members and raise the potential of both males and females, leaders and non-leadersTo form a civil society on the issue of violence against women, we should start with getting the community to analyze their own views regarding gender-based violence including situation, magnitude, forms, types, myths etc. This should include an attempt to raise consciousness on the relationship between patriarchy and violence against womenTo work on community-based programs require the networking of other organizations in both the private and government sectors. These sectors require clear and specific tasks and roles that complement each otherTo form civil society on violence against women, we should utilize the social and cultural capital that exists in the community, i.e. various forms social relations existing in the community.Strategies:To form a civil society on violence against women, we should start work with persons who have a clear understanding of gender issues and persons who are most concerned with working for societal benefit. We can organize community-based programs on violence against women with both types of people, which is considered social capital for us. However, we should try to change the consciousness from the non-gender one to gender perspectiveTo create a strong awareness of the gender-based violence problem, the stage of problem analysis by the community members and the mobilization of broad-based participation from different groups of community members are important community awareness-raising. We should thoroughly consider the community’s views on violence, socio-cultural context that promotes or inhibits community participation and the formation of civil society to address violence against womenTo create an awareness needed to form civil society for violence against women is to deconstruct and reconstruct the consciousness and myths related with gender-based violence. The process of deconstruction and reconstruction can utilize both formal and informal methods including formal training by volunteers and chatting in everyday life conversation. Gender issues must be embedded in content of the messageTo do awareness raising on gender-based violence problem, to deconstruct the production and reproduction of patriarchy and myths related with violence against women that exist in Thai society is important. The deconstruction process should also involve the production of new set of knowledge on women and gender system, including roles of women in the family and society, human right and gender equalityTo expand the network among various civic groups by sharing and exchanging the working experiences regularly is the key mechanism to strengthen the potential of civil groups to work for violence issue.en_US
dc.identifier.callnoHV1000 พ718ศ 2546en_US
dc.identifier.contactno45ค014en_US
.custom.citationพิมพวัลย์ บุญมงคล, Pimpawan Boonmongkon, มัลลิกา มัติโก, นิภรณ์ สัณหจริยา, แววรุ้ง นาวาบุญนิยม, ธีรศักดิ์ พรหมพันใจ, อัมพร หมาดเด็น and ศุภเลิศ กิจขจรไพบูลย์. "ศักยภาพประชาคมในการจัดการปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1954">http://hdl.handle.net/11228/1954</a>.
.custom.total_download114
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0980.pdf
ขนาด: 1.873Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย