Show simple item record

[Burden of Disease in Thai Population and Concepts for Health Promotion and Prevention]

dc.contributor.authorจิตร สิทธีอมรen_US
dc.contributor.authorChirt Sitthi-Amornen_US
dc.contributor.authorวัฒนา ส.จั่นเจริญen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:23:28Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:36:38Z
dc.date.available2008-12-04T05:23:28Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:36:38Z
dc.date.issued2541en_US
dc.identifier.otherhs0356en_EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1958en_US
dc.description.abstractภาระโรคในคนไทยและแนวคิดเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระยะสิบกว่าปีที่ผ่านมา มีรายงานเรื่องภาระโรคของประชากรในประเทศไทยหลายฉบับที่พยายามรวบรวมข้อมูล ทั้งหมดเท่าที่พบ เช่น รายงานของคณะกรรมการระบาดวิทยาแห่งชาติ, รายงานของสถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย, รายงานของสำนักนโยบายและแผนของกระทรวงสาธารณสุขไทย, รายงานของสำนักนโยบายและแผนของกระทรวงสาธารณสุข, รายงานการสำรวจสุขภาพอนามัยของประเทศไทยและรายงานภาระโรคของวิทยาลัยสาธารณสุข จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย รายงานเหล่านี้มีจุดอ่อนเหมือนกันหมดคือ ข้อมูลที่ได้ไม่ครบถ้วน (ข้อมูลการตายขาดถึงร้อยละ 40), การระบุสาเหตุการตายคลาดเคลื่อนมักจะระบุโรคหัวใจเป็นสาเหตุการตาย) และ การให้คำจำกัดความและการจัดกลุ่มโรคไม่เหมือนกันในแต่ละรายงาน การรวบรวมภาระโรคจึงมีข้อจำกัด อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาภาระโรคที่สำคัญสิบอันดับแรก ก็พบว่าแต่ละรายงานให้ความสำคัญแก่โรคที่มีลักษณะคล้ายกัน และโดยส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงข้อมูลที่ขาดหายไป ผลการวิเคราะห์จากข้อมูลเท่าที่มีพบว่า โรคติดเชื้อในประเทศไทยซึ่งมีภาระสูงในอดีตมีแนวโน้มจะลดลง ยกเว้นการติดเชื้อโรคเอดส์ ซึ่งอาจจะทำให้การควบคุมโรคที่เคยควบคุมได้แล้วยากขึ้น เช่นวัณโรค โรคเรื้อรัง และภาระจากอุบัติเหตุมีแนวโน้มสูงขึ้น ภาระโรคเหล่านี้มีปัจจัยร่วมด้วยหลายประการ เช่น โครงสร้างทางประชากร การย้ายถิ่น ขนาดและความสัมพันธ์ของสมาชิกในครัวเรือน แนวโน้มด้านพฤติกรรมและวิถีชีวิต (การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และพฤติกรรมการกิน), การควบคุมมลภาวะ, การเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงาน,แนวโน้มทางการนำเข้าและการใช้เทคโนโลยี ซึ่งสัมพันธ์กับคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ให้บริการ, ผู้ใช้บริการ และผู้ลงทุน, ช่องว่างที่เพิ่มขึ้นระหว่างคนรวยและคนจน, การกระจายทรัพยากรและโครงสร้างของระบบบริการ และนโยบายสาธารณะของรัฐ รวมทั้งธรรมรัฐที่ต้องมีร่วมกับนโยบาย โรคเรื้อรังที่คาดว่าจะมีปัญหามากได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคมะเร็ง ส่วนภาระจากอุบัติเหตุก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจอยู่มาก ได้ใช้กรณีศึกษาของการควบคุมโรคหัวใจและหลอดเลือดมาวิเคราะห์มาตรการเพื่อ เสริมสุขภาพและป้องกันโรค พบว่า1)การนำมาตรการที่ยอมรับกันมาใช้โดยไม่มีการตรวจสอบไม่ได้ประกันว่า มาตรการต่าง ๆ ที่ยอมรับกันจะใช้ได้ผลคุ้มค่า ดังที่พบในประเทศฟินแลนด์ 2)ต้องใช้มาตรการหลายระดับประกอบกัน ได้แก่ มาตรการทางชีววิทยา (เช่น การคัดกรองและรักษาโรคความดันโลหิตในระยะแรกเริ่ม), มาตรการเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย (เช่น ต้องให้ปรับอาหารเพื่อลดไขมันก่อนใช้ยา), มาตรการปรับสภาพแวดล้อมและโครงสร้างบริการ และมาตรการทางนโยบายสาธารณะโดยพื้นฐานของธรรมรัฐ ได้เคยมีผู้ใช้มาตรการทั้งสี่ในการควบคุมโรคติดเชื้อ เช่น วัณโรคมาก่อน อกจากนี้มาตรการทั้งสี่ยังนำมาใช้กับการควบคุมภาระโรคที่เกิดจากมะเร็ง การติดสารเสพติด และโรคเอดส์en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent3806902 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherวิทยาลัยการสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectHealth Servicesen_US
dc.subjectPreventive Medicineen_US
dc.subjectImmunizationen_US
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคen_US
dc.titleภาระโรคในคนไทยและแนวคิดเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคen_US
dc.title.alternative[Burden of Disease in Thai Population and Concepts for Health Promotion and Prevention]en_US
dc.identifier.callnoQZ140 จ234ภ 2541en_US
dc.subject.keywordภาระโรคในคนไทยen_US
dc.subject.keywordการส่งเสริมสุขภาพen_US
.custom.citationจิตร สิทธีอมร, Chirt Sitthi-Amorn and วัฒนา ส.จั่นเจริญ. "ภาระโรคในคนไทยและแนวคิดเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค." 2541. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1958">http://hdl.handle.net/11228/1958</a>.
.custom.total_download271
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs0356.pdf
Size: 21.46Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record