แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง ภาวะเสี่ยง ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ และการใช้บริการสุขภาพ : ฉบับที่ 2 การใช้บริการสุขภาพของประชาชน

dc.contributor.authorสุขุม เฉลยทรัพย์en_US
dc.contributor.authorSukhum Chaleysuben_US
dc.contributor.authorสวนดุสิตโพลen_US
dc.contributor.authorSuan Dusit Pollen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:23:29Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:48:01Z
dc.date.available2008-12-04T05:23:29Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:48:01Z
dc.date.issued2541en_US
dc.identifier.otherhs0324en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1960en_US
dc.description.abstractการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง ภาวะเสี่ยง ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพและการใช้บริการสุขภาพ : ฉบับที่ 2 การใช้บริการสุขภาพของประชาชน การสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การใช้บริการสุขภาพของประชาชน ณ สถานบริการของรัฐเปรียบเทียบกับสถานบริการของเอกชน และค้นหาความคาดหวังต่อการพัฒนาสถานบริการของรัฐ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อยู่ในทุกภาคของประเทศ จำนวน 2,156 คน สุ่มแบบกลุ่มหรือพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสำรวจการใช้บริการสุขภาพ 7 ตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลประกอบแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป QPS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลปลายเปิด ผลการสำรวจสรุปได้ ดังนี้1. ลักษณะการใช้บริการสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บริการสุขภาพที่โรงพยาบาลรัฐของจังหวัด / อำเภอ รองลงมาคือคลินิกแพทย์ และใช้บริการสุขภาพแพทย์แผนไทยน้อยที่สุด ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่อปี ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 501 - 1,000 บาท โดยเฉลี่ยแล้วกลุ่มตัวอย่างเสียค่ายใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่อปี 5,413 บาท ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อปี (รวมค่ารักษาพยาบาล) ส่วนใหญ่ใช้ประมาณปีละ 501 - 1,000 บาท โดยเฉลี่ยแล้วเสียค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (รวมค่ารักษาพยาบาล) ต่อปี 6,215 บาท ถ้าเจ็บป่วยเล็กน้อยรักษาโดยซื้อยาจากร้าน รองลงมาคือ ไปคลินิกแพทย์ ในกรณีที่ใช้บริการโรงพยาบาลรัฐเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือมีปัญหาสุขภาพ เนื่องจากมีราคาถูก และใกล้บ้าน ประเภทของโรคที่ไปใช้บริการโรงพยาบาลรัฐ ส่วนใหญ่เป็นโรคกระเพาะอาหาร และโรคระบบหายใจ สำหรับโรงพยาบาลเอกชนนั้น กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า การเจ็บป่วยที่พึ่งพาโรงพยาบาล/คลินิกเอกชนได้ลำบากคือ การเจ็บป่วยรุนแรงและฉุกเฉิน เนื่องจากราคาแพง และไม่แน่ใจว่าจะเลือกโรงพยาบาลได้ถูกต้อง เช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่อปี และเสียค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพ (รวมค่ารักษาพยาบาล)สูงกว่าเพศชาย กลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพฯ เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่อปีสูงที่สุดคือ 7,940 บาท และต่ำที่สุด คือภาคเหนือ 3,799 บาท กลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพฯเสียค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อปี (รวมค่ารักษาพยาบาล) สูงที่สุด คือ 8,758 บาท และกลุ่มตัวอย่างในภาคเหนือต่ำที่สุด คือ 4,365 บาท 2. ความคิดเห็นต่อการบริการสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการรักษาสุขภาพ ณ โรงพยาบาลรัฐในปัจจุบัน อยู่ในระดับดีทุกด้าน ยกเว้นช่วงเวลาที่ให้บริการและความรวดเร็วในการให้บริการที่อยู่ในระดับพอใช้ โดยยอมรับในความรู้ความสามารถของแพทย์เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ความชำนาญในการรักษา ให้ยา เพศหญิงมีความคิดเห็นต่อการบริการสุขภาพดีกว่าเพศชายเล็กน้อย กลุ่มตัวอย่างในภาคเหนือมีความคิดเห็นต่อการบริการสุขภาพสูงสุด ในด้านการบริการสุขภาพ ณ โรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบัน อยู่ในระดับดีทุกด้าน ยกเว้นการคิดค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ที่อยู่ในระดับพอใช้ โดยเห็นว่าโรงพยาบาลเอกชนปัจจุบันมีการต้อนรับ / บริการจากเจ้าหน้าที่ด้วยอัธยาศัยดี เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ความรวดเร็วในการให้บริการ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อบริการสุขภาพ ณ โรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบัน ของกลุ่มตัวอย่างแล้วพบว่า ค่อนข้างแตกต่างและตรงกันข้าม เช่น โรงพยาบาลรัฐด้านความรู้ความสามารถของแพทย์เป็นอันดับ 1 แต่ของโรงพยาบาลเอกชนเป็นอันดับ 6 และการต้อนรับ/บริการจากเจ้าหน้าที่ด้วยอัธยาศัยดีในโรงพยาบาลรัฐเป็นอันดับ 6 และโรงพยาบาลเอกชนเป็นอันดับ 1 อย่างไรก็ตามโดยส่วนรวมแล้วกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อบริการสุขภาพ ณ โรงพยาบาลเอกชนดีกว่าโรงพยาบาลรัฐ 3. ความคาดหวังในการพัฒนาสถานบริการ กลุ่มตัวอย่างคาดหวังให้โรงพยาบาลรัฐเพิ่มอุปกรณ์ / เครื่องมือที่ทันสมัย รองลงมาคือ การต้อนรับ / บริการของเจ้าหน้าที่ด้วยอัธยาศัยอันดี และความรวดเร็วในการให้บริการ ไม่ต้องรอนาน และคาดหวังในโรงพยาบาลเอกชนปรับปรุงอันอับแรกคือ การคิดค่ารักษาพยาบาล (ค่ายา ค่าอาหาร ค่าห้อง) และรองลงมาคือ การลดสภาพเชิงธุรกิจการค้าทางการรักษาพยาบาล ในด้านความคิดเห็นอื่น ๆ ต่อการบริการสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเลือกที่จะใช้บริการของโรงพยาบาลเอกชนเป็นอันดับแรก เนื่องจากบริการดี สนใจดูและรักษาดี และอุปกรณ์เครื่องมือทันสมัย รองลงมาคือเลือกใช้บริการของโรงพยาบาลรัฐ เนื่องจากราคาถูก บริการดี และใกล้บ้าน และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นว่าโรงพยาบาลรัฐและเอกชนมีขีดความสามารถเท่ากัน สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาโรงพยาบาลรัฐมากที่สุด คือ งบประมาณของรัฐ รองลงมาคือ บุคลากรภายในโรงพยาบาล และกลุ่มตัวอย่างเสนอแนะให้โรงพยาบาลรัฐปรับปรุงการบริการ การมีอัธยาศัยอันดีมากกว่าเดิม และให้บุคลากรมีความรับผิดชอบมากขึ้น เพื่อจะพัฒนาให้โรงพยาบาลรัฐก้าวหน้าและบริการให้เป็นที่พึงพอใจของประชาชนen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2184606 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Behavioren_US
dc.subjectHealth Service Researchen_US
dc.titleการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง ภาวะเสี่ยง ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ และการใช้บริการสุขภาพ : ฉบับที่ 2 การใช้บริการสุขภาพของประชาชนen_US
dc.title.alternativeSurvey of risk behavior, risk situation, health information, health information perception: second issue utilization of health care systemen_US
dc.description.abstractalternativeSurvey of risk behavior, risk environment, health information, health information perception: second issue, utilization of health care systemThe purposes of this survey are to illustrate experience of people who have used health care service provided by government compared with private ones and to find out expectation from government hospital development. 2156 people from all parts of Thailand are our population. Cluster and area sampling is used. A seven part questionnaire has been used and data is collected through individual interview. The data then was analysed by QPS, and persented by frequency, percentage, mean and standard deviation. Information from open end questionnaire is also analysed. 1.Type of Service Used. Most of the population make use of health services provides by provincial/district public hospitals. Medical clinics are their second choice and traditional this medicine in the least used. Medical annual expense is mostky between 501-1,000 baht. By average they spend about 5,413 annually for medical treatment. For health care which included medical care is between 501-1,000 baht. By average the health care (medical care included) expense is 6,215 baht per year. For minor illness, they buy medicine from drugstores. Medical clinics are their second choice. If they make use of public hospital when they encounter minor illness of health problem, their reasons are low price and closeness to their residences. The most frequent diseases are those gastro intestinal disease and respiratory diseases. They find it is difficult to go to private hospital of clinic in case of severe or surgery cases because of high price and uncertainty about type of hospitals. Female population also spend more on medical care and health care (medical care included) than male. Highest spend for medical treatment per year in Bangkok population is 7,940 baht and the population in the North spend the least which is 3,799 baht. The highest spend for Bangkok population for health care (medical care included)is 8,758 and the lowest is in the North which is 4,365. 2.Opinion Toward Medical Service. At present public medical centers provide good service except period of service and time consuming. Doctors' capability is ranked first and their skill in treatment and prescription ranked second. Female population are slightly more satisfied with health care system than male. The population in the North expressed the highest opinion. Health care system provided by private hospitals is found to be satisfactory except in the area of doctor fee and medical fee. It is found that welcoming as well as service ranked first and speed ranked second in private haspitals. When compared between government and private hospitals, it is found that there are some slight differences such as doctor's ability is ranked first in government while private ones ranked 6. For services, private ones ranked 1 and government ones ranked 6. Any how it is concluded that service of private hospitals is better than government ones. 3.Expectation. Our population want the government hospitals to provide more high technological equipments.Ranked second is welcoming and services of staff as well as to speed up their services. Those expected from private hospitals are medical fee (medicine charge, meal charge and room charge). Ranked second is to be less business like. Health services provided by private hospitals is their priority because of good service, attentiveness and up to date equipments. Government hospitals are their second choice because of low price, good service and close to their home. They said that capacity in public hospitals is equal to private ones. They indicated that obstacles are government budgeting and hospital staff. They suggested that public hospitals should improve their service. They should be more cordial and be more responsible so that our public hospitals will be more advanced and be able to provide satisfactoried service.en_US
dc.identifier.callnoW84 ส241ก 2541en_US
dc.subject.keywordพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพen_US
dc.subject.keywordข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพen_US
dc.subject.keywordการใช้บริการสุขภาพen_US
.custom.citationสุขุม เฉลยทรัพย์, Sukhum Chaleysub, สวนดุสิตโพล and Suan Dusit Poll. "การสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง ภาวะเสี่ยง ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ และการใช้บริการสุขภาพ : ฉบับที่ 2 การใช้บริการสุขภาพของประชาชน." 2541. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1960">http://hdl.handle.net/11228/1960</a>.
.custom.total_download80
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0324.pdf
ขนาด: 2.104Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย