Show simple item record

Development of Legal System to Support Human Resource Development in Thai Traditional Medicine

dc.contributor.authorวิชัย โชควิวัฒนen_US
dc.contributor.authorVichai Chokevivaten_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:23:39Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:45:34Z
dc.date.available2008-12-04T05:23:39Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:45:34Z
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1976en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก: เอกสารวิชาการ เรื่อง การพัฒนาระบบกฏหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์แผนไทยen_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบกฎหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์แผนไทย การศึกษานี้จะศึกษาระบบกฎหมายโดยครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการออกกฎหมาย กฎหมายที่มีอยู่ และการใช้กฎหมาย โดยวิธีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กระบวนการออกกฎหมาย สัมภาษณ์เจาะลึก ประชุมระดมสมอง ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาประมวล สังเคราะห์ วิเคราะห์เป็นรายงานการศึกษา ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ปะกอบด้วยกฎหมายหลัก ๗ ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ร.บ.ยาพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรการที่มีความสำคัญ ได้แก่ มาตรา ๓๓ เป็นการเปิดช่องทางการพัฒนาวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยไว้ ๓ ช่องทาง ช่องทางแรก (ก) เป็นการพัฒนาบุคลากรตามระบบดั้งเดิมคือ ระบบรับมอบตัวศิษย์ ช่องทางสอง (ข) เป็นการส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนวิชาชีพแพทย์แผนไทยอย่างเป็นระบบ ตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ ช่องทางสาม (ค) เป็นการเปิดทางให้มีการประเมินแพทย์พื้นบ้านที่มีความรู้และเป็นที่ยอมรับของชุมชนให้ได้รับใบประกอบโรคศิลปะโดยระบบคัดคัดกรองพระราชบัญญัติสถานพยาบาล ที่บังคับใช้ในปัจจุบันเปิดโอกาสให้สถานพยาบาลเอกชนสามารถจัดบริการการแพทย์แผนไทยไว้ในสถานพยาบาลแผนปัจจุบันได้พระราชบัญญัติสถานบริการ ที่บังคับใช้ในปัจจุบันได้กำหนดให้สถานที่เพื่อสุขภาพ หรือเพื่อเสริมสวยที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นการเปิดช่องให้กระทรวงสาธารณสุขเข้าไปดูแลสถานบริการนวดเพื่อการผ่อนคลายพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กำหนดนิยามการแพทย์แผนไทยแตกต่างจากพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ โดยครอบคลุมทั้งมนุษย์และสัตว์ ครอบคลุมการประดิษฐ์อุปกรณ์ และเครื่องมือแพทย์ และอาศัยความรู้ หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา โดยมิได้มีขอบเขตเฉพาะที่เป็น “แบบไทย” เท่านั้นพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน นั้น สำนักงาน ก.พ. รับรองคุณวุฒิของผู้จบการศึกษาด้านการแพทย์แผนไทยเพียงไม่กี่แห่ง รับรองเฉพาะราย และกำหนดคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทยไว้ในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนเท่านั้นพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีบทบัญญัติสำคัญ ๒ เรื่อง คือ สมัชชาสุขภาพ และธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีหัวข้อเกี่ยวกับ “การส่งเสริม สนับสนุน การใช้ และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆพระราชบัญญัติยา ที่บังคับใช้ในปัจจุบันได้แยกระบบควบคุมยาแผนปัจจุบันและยาแผนโบราณ ไว้ต่างหากจากกัน กฎหมายดังกล่าวยอมรับและส่งเสริมการผลิตยาโดยเครื่องมือที่ทันสมัยถึงขั้นมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ เป็น (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๐ ด้วยกระบวนการออกกฎหมาย พบปัญหาสำคัญที่สุดคือ ความล่าช้าในการออกกฎหมายเนื่องจากกระบวนการขั้นตอนที่ยาวนาน และปัญหาความรู้ความเข้าใจของผู้เกี่ยวข้องในการออกกฎหมาย และผู้มีอำนาจลงนามประกาศใช้กฎหมายด้านปัญหาการใช้กฎหมาย พบว่าแม้ พ.ร.บ. จะให้อำนาจที่แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการบังคับใช้ และข้าราชการที่ทำงานมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับภารกิจที่ต้องดำเนินการตามกฎหมายข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย๑)ควรมีการตีความกฎหมายเกี่ยวกับคำจำกัดความของ “การแพทย์แผนไทย” ในกฎหมายต่างๆ เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการดำเนินการในอำนาจหน้าที่อย่างถูกต้อง เหมาะสม๒)เพื่อแก้ไขปัญหาระยะยาว ควรพิจารณาเตรียมการเรื่องพระราชบัญญัติวิชาชีพแพทย์แผนไทย เพื่อพัฒนาเป็นสภาวิชาชีพ โดยควรพิจารณาทั้งในแง่การมีสองสภา คือ สภาวิชาชีพ แพทย์แผนไทย และสภาวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือการผสมผสานเป็นสภาการวิชาชีพเดียว ทั้งนี้ควรดำเนินการเมื่อมีบุคลากรที่ผ่านการศึกษาในระบบจำนวนมากพอและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพมีความมั่นคง เข้มแข็งพอสมควรแล้ว๓) ควรให้ความสำคัญกับการจัดทำ “ธรรมนูญด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” ตามมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐๔) ควรให้ความสำคัญของกระบวนการออกกฎหมายเท่าเทียมกับการใช้กฎหมาย๕) ควรพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีประสบการณ์เรื่องการออกกฎหมาย๖)หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคน ได้แก่ กองประกอบโรคศิลปะ สถาบันพระบรมราชชนก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสถาบันที่ผลิตบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย ทั้งระดับปริญญาและประกาศนียบัตร ควรมีการประชุม สัมมนา เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายและแนวทางดำเนินการในเรื่องต่างๆen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Manpoweren_US
dc.subjectHealth--Law and Legislation--Thailanden_US
dc.subjectManpower Developmenten_US
dc.subjectการพัฒนากำลังคนen_US
dc.subjectกฎหมายสาธารณสุขen_US
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectTraditional Medicine--Thailanden_US
dc.subjectการแพทย์แผนไทยth_TH
dc.titleการพัฒนาระบบกฏหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์แผนไทยen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Legal System to Support Human Resource Development in Thai Traditional Medicineen_US
dc.identifier.callnoW76 ว539ก 2550en_US
dc.identifier.contactno50ข046en_US
.custom.citationวิชัย โชควิวัฒน and Vichai Chokevivat. "การพัฒนาระบบกฏหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์แผนไทย." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1976">http://hdl.handle.net/11228/1976</a>.
.custom.total_download132
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year16
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs1358.pdf
Size: 368.7Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record