แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การค้นหาแนวคิดเรื่องสิทธิและความเป็นธรรมในสุขภาพจากมุมมองทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อการปฏิรูปการดูแลสุขภาพในประเทศไทย

dc.contributor.authorสุวจี จันทร์ถนอม-กู๊ดen_US
dc.contributor.authorSuvajee Chanthanom-Gooden_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:23:43Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:46:45Z
dc.date.available2008-12-04T05:23:43Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:46:45Z
dc.date.issued2543en_US
dc.identifier.otherhs0715en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1985en_US
dc.description.abstractการค้นหาแนวคิดเรื่องสิทธิและความเป็นธรรมในสุขภาพจากมุมมองทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อการปฏิรูปการดูแลสุขภาพในประเทศไทย การค้นหาแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิและความเป็นธรรมทางสุขภาพ จากมุมมองของสังคมและ วัฒนธรรมไทย เป็นงานวิจัยที่พยายามทำความเข้าใจ ประการแรก เกี่ยวกับการรับรู้และ การให้ความหมาย ของคำว่า สิทธิสุขภาพ และความเป็นธรรมทางสุขภาพ ในกลุ่มประชากรต่างๆ ในประเทศไทยว่าเป็นอย่างไร โดยให้ประชาชน เป็นผู้แสดงมโนทัศน์ และทัศนะร่วมกันจากมุมมอง ในฐานะที่เป็นผู้แทนชาวบ้านกลุ่มอื่นๆ ในภูมิภาคของตน การแสดงความคิดเห็น สร้างกรอบความคิด และ การตีความร่วมกันนี้ได้มาจากกระบวนการกาสัมภาษณ์กลุ่ม (focus group) ประการที่สอง งานวิจัยนี้พยายามที่จะให้เกิดความเข้าใจถึงความต้องการ และความคาดหวัง ของประชาชนต่อ การบริการสาธารณสุขในประเทศไทย เพื่อนำความรู้ดังกล่าวมาพิจารณาร่วมในการหาทิศทาง หรือ รูปแบบที่เหมาะสม เพื่อการนำไปใช้ในการปฏิรูปการดูแลสุขภาพ ที่มุ่งไปสู่ความเป็นธรรม โดยสอดคล้อง กับหลักสิทธิมนุษยชน ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า องค์ความรู้ที่ถ่ายทอดมาจากการ คิดร่วมกันของประชาชน จะเป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาและปฏิรูป ระบบสาธารณสุขต่อไป จากการวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบว่ากลุ่มประชาสังคมและองค์กรของประชาชนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ในแต่ละภูมิภาค ยังไม่มีความตื่นตัวในเรื่องของสิทธิสุขภาพเท่าใดนัก และเมื่อพูดถึงสิทธิและความเป็นธรรม แนวคิดของประชาชนยังมีความหลากหลาย บางกลุ่มเน้นสิทธิตามหลักกฏหมาย บางกลุ่มเน้นความสามารถ ในการเลือกกระทำของบุคคล บางกลุ่มจะเน้นสิทธิที่ทั้งบุคคลและชุมชน พึงมี พึงเป็น พึงได้ ส่วนอีกมุมมองหนึ่งมองว่าสิทธิเป็นเรื่องของสังคม (social) ของส่วนรวม (public) และ วัฒนธรรม ที่พึงปฏิบัติตามประเพณี ตามแนวทางของความถูกต้องที่วางไว้ในหลักพุทธศาสนา ซึ่งในกรณีนี้เห็นได้ชัด ในกลุ่มองค์กรประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ และในบางกรณี จะไม่แยกคำว่าสิทธิออกจากหน้าที่ ประชาชนส่วนใหญ่ยังเห็นว่า สถานการณ์ทางสังคมปัจจุบันนั้น ประชาชนไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปกำหนดสิทธิของตน ส่วนความเป็นธรรมนั้น เป็นเรื่องที่เป็นนามธรรม มักจะแยกไม่ออกกับคำว่า ชอบธรรม โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังตีความ หมายเหมือนกับคำว่าเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะเรื่องการไม่ได้รับการบริการทางการแพทย์อย่าง เท่าเทียมกัน มีการเลือกปฏิบัติ ระหว่างคนมี กับคนยากจน จากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ นั่นหมายถึง การปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ตามที่องค์กรประชาชนส่วนใหญ่มอง สิทธิสุขภาพที่ผู้ให้สัมภาษณ์มักจะให้ความหมายคือ สิทธิที่เกี่ยวข้องกับการบริการดูแลรักษาพยาบาล สิทธิที่จะมีสุขภาพดี สิทธิที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการมีสุขภาพดี สิทธิสุขภาพในฐานะที่เป็น สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิพื้นฐาน และสิทธิที่จะได้รับรู้ข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของตน ปัญหาที่องค์กรประชาชนพบ ในเรื่องของความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพนั้น เป็นเรื่องของการถูกเลือก ปฏิบัติจากทางเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล และแพทย์ โดยเฉพาะในเรื่องของชนชั้น ที่ประชาชนถูกมองว่าเป็นชนชั้นที่ด้อยกว่า และไม่มีสิทธิ ที่จะรู้หรือเรียกร้องจากผู้มีอำนาจได้en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent4078028 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Care Reform -- Thailanden_US
dc.subjectEquity in Healthen_US
dc.subjectDelivery of Health Careen_US
dc.subjectHealth Serviceen_US
dc.subjectความเป็นธรรมด้านสุขภาพen_US
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขen_US
dc.titleการค้นหาแนวคิดเรื่องสิทธิและความเป็นธรรมในสุขภาพจากมุมมองทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อการปฏิรูปการดูแลสุขภาพในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativePersuit of rights and equity in health : social and cultural perspectives for health care reform in Thailanden_US
dc.description.abstractalternativePursuit of rights and equity in health: social and cultural perspectives for health care reform in ThailandThis research is aimed to understand people conceptualization of rights and equity in health from Thai socio-cultural perspective.The research is exploring how people construct meaning of rights and equity in general and how they applied it in issues of health and health care. Numbers of civil organizations are selected based on their local establishment and their concern for local social, health, economics and environmental problems. Members of these organization are selected interview to represent diverse social and economic background of people in the local areas. Focus group interview is applied to bring people opinion, conceptualization of the terms rights and equity as well as how they see right and equity in health fit their frame of thought.This research try to understand people perception of their current equity in health and their actual needs as well as expectation for better health care. The result of this research is expected to be use in finding direction, patterns or model for health care reform that in concert with human right and equity. Information provided here could be useful for policy implementation and health care reform. This research reveals that civil society/people organization in Thailand has not yet active in raising issues of health as right. When question of right asked people interpret it differently. One set of perspective stress rights of individual. Some groups discussed right of individual provided by law and considered it as to have individual choice. Some groups emphasize the interrelation between individual and community right that "one should have, should be and should receive." Another perspective focuses on rights as social, public, and cultural affairs. However, most people reflex that in the current situation of Thailand, people have not have any right to determined what should be their rights. They have no participation in formulating the right and do not know what rights they have or granted by the government. They conceived that rights that are provided by the government today are not what common people want. People criticized that government set out rules and regulations without considering social circumstances and cultural tradion of the people. Therefore, many of those rules are not used and sometimes inapplicable. The term equity is too abstract for every groups interviewed in this research. Most people think of it in the same was as equity, particulary when they assess the inequity to health care service.en_US
dc.identifier.callnoW84 ส247ก 2543en_US
dc.subject.keywordบริการสาธารณสุขen_US
dc.subject.keywordบริการทางการแพทย์en_US
.custom.citationสุวจี จันทร์ถนอม-กู๊ด and Suvajee Chanthanom-Good. "การค้นหาแนวคิดเรื่องสิทธิและความเป็นธรรมในสุขภาพจากมุมมองทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อการปฏิรูปการดูแลสุขภาพในประเทศไทย." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1985">http://hdl.handle.net/11228/1985</a>.
.custom.total_download114
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0715.PDF
ขนาด: 4.357Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย