dc.contributor.author | ภูมิวิชญ์ ขวัญเมือง | en_US |
dc.contributor.author | Phumvij Khunmaeng | en_US |
dc.contributor.author | ทวีสา เครือแพ | en_US |
dc.contributor.author | สมพร เนติรัฐกร | en_US |
dc.contributor.author | สุวดี แสงขำ | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:23:47Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:49:12Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:23:47Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:49:12Z | |
dc.date.issued | 2540 | en_US |
dc.identifier.other | hs0169 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1993 | en_US |
dc.description.abstract | การพัฒนางานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตามบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาโครงสร้าง บุคลากร การดำเนินงานทางด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สถานะทางด้านการเงิน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมของ อบต. ความเข้าใจ วิสัยทัศน์ต่อปัญหาสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของ อบต. ความเข้าใจของประชาชนในงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของ อบต. และศักยภาพของชุมชนที่เป็นที่ตั้งของ อบต. บทบาท ศักยภาพและการแก้ปัญหาสาธารณสุข สิ่งแวดล้อมของสถานีอนามัยที่มี อบต.ในพื้นที่รับผิดชอบในจังหวดัสุราษฎร์ธานี โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตและการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ อบต. ทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติจำนวน 100 คน เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย จำนวน 36 คน และประชาชนในพื้นที่ความรับผิดชอบของ อบต.จำนวน 400 คน โดยศึกษาในอบต. ที่เปิดดำเนินการในปี 2538 จำนวน 10 แห่ง ใช้ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 เดือน ( 15 กุมภาพันธ์ - 15 เมษายน 2540 ) ผลการศึกษาพบว่า อบต.ทั้งหมดมีโครงสร้างเป็น อบต. ชั้น 5 ไม่มีส่วน/แผนกและบุคลากรที่รับผิดชอบงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมโดยตรง ในการทำงานด้านนี้ได้มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบเป็นครั้งคราว มีการดำเนินงานและจัดสรรงบประมาณกับงานด้านนี้น้อยมากเมื่อเทียบกับงานด้านอื่น ๆ จะเด่นชัดในเรื่องการจัดหาน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคและบริโภคเท่านั้น สถานะการเงินของ อบต. พบว่าส่วนใหญ่รายรับได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล รองลงมาเป็นรายได้จากการเก็บภาษีรายจ่าย ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายทางด้านการก่อสร้าง รายจ่ายทางด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมมีน้อยมาก ปัญหาในการดำเนินงานทางด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดลอ้มคือ ขาดแคลนบุคลากรและมีความรู้ในการดำเนินงาน ความเข้าใจต่อปัญหาสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของผู้บริหาร อบต. พบว่า ร้อยละ 60 เข้าใจปัญหาด้านนี้ดี ร้อยละ 40 ยังไม่เข้าใจเท่าใดนัก ผู้บริหารดังกล่าวร้อยละ 50 ยังไม่มีวิสัยทัศน์ในงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำหรับผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ด้านนี้มักเป็น อสม. แทบทั้งสิ้น ในส่วนของประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจว่า อบต. มีบทบาทหน้าที่อะไรบ้างทางด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม แต่ในความคาดหวังให้ อบต. มีบทบาทหน้าที่อะไรบ้างทางด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม แต่ในความคาดหวังให้ อบต. ดำเนินการนั้น จะตรงกับภาระหน้าที่ของ อบต. ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ และในด้านการบริหารจัดการสถานีอนามัย ประชาชนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าควรอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุขเหมือนเดิมดีอยู่แล้ว เพราะเห็นว่ามีความพร้อม ความรู้ ความสามารถดีกว่า อบต. ในขณะนี้ สำหรับเรื่องศักยภาพในงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ความรับผิดชอบของ อบต. พบว่าส่วนใหญ่มีศักยภาพสูง แต่ผู้บริหารและประชาชนมักจะไม่ทราบในศักยภาพดังกล่าวทำให้ไม่ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ของชุมชนให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ในส่วนบทบาท ศักยภาพในการแก้ปัญหาสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมของสถานีอนามัยที่มี อบต. ในพื้นที่รับผิดชอบ พบว่าสถานีอนามัยทุกแห่งที่ตั้งใน อบต. ยังมีบทบาทและศักยภาพในการแก้ปัญหาสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นของสถานีอนามัย ข้อเสนอแนะจากการวิจัยในการดำเนินงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของ อบต. นั้น ควรที่จะได้กำหนดแผนงาน การปฏิบัติและผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน โดยยึดปัญหาสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในเขต อบต. นั้นเป็นหลัก หน่วยงานทางด้านสาธารณสุขควรที่จะต้องเป็นที่พี่เลี้ยงให้ความรู้ทางด้าน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม แก่ทีมบริหารและทีมปฏิบัติของ อบต. เพื่อจะได้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถดำเนินงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนให้ความสำคัญกับงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น | en_US |
dc.format.extent | 3221415 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.subject | Public Health Administration -- Surat Thani Province | en_US |
dc.title | การพัฒนางานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ตามบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.title.alternative | Public Health and Environment Development Consistent with Local Administrative Organizations' Roles in Suratthani Province] | en_US |
dc.identifier.callno | WA541 ภ246ร 2540 | en_US |
dc.subject.keyword | การพัฒนาด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.subject.keyword | องค์การบริหาารส่วนตำบล | en_US |
dc.subject.keyword | สุราษฎร์ธานี | en_US |
.custom.citation | ภูมิวิชญ์ ขวัญเมือง, Phumvij Khunmaeng, ทวีสา เครือแพ, สมพร เนติรัฐกร and สุวดี แสงขำ. "การพัฒนางานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ตามบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี." 2540. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1993">http://hdl.handle.net/11228/1993</a>. | |
.custom.total_download | 144 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 0 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |