ทุกข์และการเผชิญทุกข์คนไทยในระบบสุขภาพ
dc.contributor.author | พิมพวัลย์ บุญมงคล | th_TH |
dc.contributor.author | Pimpawan Boonmongkul | en_US |
dc.contributor.author | ปรารถนา จันทรุพันธุ์ | th_TH |
dc.contributor.author | จุรีรัตน์ กิจสมพร | th_TH |
dc.contributor.author | ลือชัย ศรีเงินยวง | th_TH |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:23:57Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:38:57Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:23:57Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:38:57Z | |
dc.date.issued | 2545 | en_US |
dc.identifier.other | hs0901 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2017 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มุ่งเจาะลึกถึงความทุกข์ มิติของความทุกข์ซึ่งเป็นมุมมองที่มาจากหลายๆ ส่วน ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และทางชีววิทยาหรือกายภาพ การเผชิญและแก้ไขปัญหาความทุกข์ในมิติต่างๆ ที่เป็นผลมาจากระบบสุขภาพในปัจจุบันทั้งระดับปัจเจกและโครงสร้าง รวมถึงระบบการสนับสนุนทางสังคม ระบบบริการทางสังคม และผลที่ได้รับจากบริการดังกล่าว เหตุที่คณะวิจัยเลือกทำการศึกษาในกลุ่มคนชายขอบเหล่านี้เนื่องจากจะเป็นกลุ่มคนที่สะท้อนความทุกข์และระบบการจัดบริการที่ทำให้วิเคราะห์ให้เห็นถึงปัญหาเชิงระบบทั้งกลไกทางสังคม บริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและระบบการคุ้มครองป้องกันต่างๆ ได้เด่นชัดเป็นรูปธรรมที่สุด ผลการศึกษาพบว่าลักษณะของความทุกข์ ประกอบด้วย ความทุกข์ทางกาย เป็นทุกข์ที่เกิดจากอาการป่วยไข้ และโรคแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งพบว่ารุนแรงกว่าคนชั้นกลาง ส่วนหนึ่งเนื่องจากคนเหล่านี้มีโอกาสในการแสวงหาและเข้าถึงการรักษาพยาบาลหรือทางเลือกในแสวงหาบริการที่มีคุณภาพน้อยมาก ความทุกข์ทางใจ เป็นทุกข์ที่เกิดทั้งจากการไม่เหลียวแลของครอบครัว จากการที่ต้องเผชิญปัญหาที่หนักหน่วงเกินกว่าจะรับมือ หรือเป็นการเผชิญปัญหาอย่างโดดเดี่ยวตามลำพัง ขาดที่พึ่ง และมีบางส่วนที่เกิดความทุกข์ทางใจเนื่องจากความรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระต่อผู้อื่น อีกส่วนหนึ่งคือ ความทุกข์ทางสังคม เป็นทุกข์ที่มีพื้นฐานมาจากโครงสร้างทางสังคม ค่านิยม วัฒนธรรมที่หล่อหลอมมาเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นความไม่เท่าเทียมทางเพศ การไม่ตระหนักในคุณค่าความเป็นมนุษย์ หรือค่านิยมที่ดูถูกศักดิ์ศรีผู้อื่น การตีตราทางสังคมกับคนบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยเอดส์ และการถูกเอารัดเอาเปรียบโดยผู้มีอำนาจเหนือกว่า (ไร้อำนาจการต่อรอง) ทุกข์ทางสังคมนี้นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นหรือตอกย้ำให้อาการเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจเพิ่มขึ้นและทำร้ายผู้ป่วยมากขึ้น การจัดการความทุกข์ กรณีศึกษาล้วนต้องจัดการปัญหาความทุกข์ของตนไปตามยถากรรม ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่สามารถช่วยอะไรได้เนื่องจากความขาดแคลนโดยเฉพาะทุนทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นความเป็นอยู่ในครอบครัวที่เป็น”ครอบครัวล่มสลาย “ ความห่างเหินของคนในชุมชน สังคม การขาดแคลนด้านการศึกษา ความรู้ในการดูแลตนเอง ฐานะที่ยากจน หาเช้ากินค่ำ ไม่มีทางเลือกในการประกอบอาชีพ ฯลฯ ทำให้แต่ละชีวิตต้องดิ้นรนเอาตัวรอดไปในแต่ละวัน ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้ผู้คนเหล่านี้เข้าไปใกล้กับภาวะเจ็บป่วยมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะโดยภาวะจำยอม หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม คนเหล่านี้จะมีรูปแบบหรือวิธีการจัดการกับปัญหาที่หลากหลาย ตามแต่ความสามารถที่แต่ละคนจะพอนึกออก ซึ่งมีทั้งการพึ่งพิงระบบบริการสาธารณสุข และสวัสดิการสังคม ทั้งจากของภาครัฐและเอกชน การดูแลตนเอง การซื้อยากินเอง การแสวงหาการรักษาแบบอื่นๆ มาช่วย “เสริม” การรักษาแผนปัจจุบัน โดยที่ไม่เจาะจงว่าวิธีหรือไม่มีการรับรองผล เช่น การกินยาหม้อ ยาจีน การหาหมอพระ การทรงเจ้าเข้าผี ฯลฯ ขณะที่มีหลายๆ คนเลือกปฏิบัติเพื่อลดหรือบรรเทาความทุกข์ ท้อแท้ หรือความสิ้นหวังในใจ โดยการฟังธรรมะ การบวช และการบอกตัวเองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของบุญทำกรรมแต่ง และเลือกใช้วิธีการปลงหรือทำใจเพื่อยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 1407866 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health System | en_US |
dc.subject | Suffering--Thai | en_US |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การบริการสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | ทุกข์และการเผชิญทุกข์คนไทยในระบบสุขภาพ | th_TH |
dc.title.alternative | The suffering of Thai people within the health system | en_US |
dc.description.abstractalternative | The Suffering of Thai People Within the Health SystemThe Suffering of Thai People Within the Health System is a study that utilizes a qualitative and case study research study design. The data for this study were collected from in-depth interviews of eight marginalized groups including elderly, disabled people, people with kidney problem, chronic patients, people with HIV/AIDS, migrant workers, homeless children, women who are violence victims, and patients who are victims of medical malpractice. The study specifically focused on: 1) suffering of Thai people from different perspectives, namely social, economic, political, cultural and medical aspects; 2) the coping processes for their suffering caused by different problems, within the context of the existing health and social system of individuals; 3) the social support and social service mechanisms that exist, and the result from these systems. The study of marginalized groups will reflect the nature of their coping with suffering and the context of the existing social structure and services in which they exist. The study found that the nature of suffering includes: 1) physical suffering that includes illnesses that happen which are more severe than those usually experienced by middle class people; 2) psychological suffering resulting from abandonment from family members, feeling of being their family’s burden; 3) social suffering from being in an unjust social and cultural system were exploitation, gender inequality, social stigmatization, and dehumanization exist to varying degrees. These are all factors that exacerbate the victims’ physical and psychological suffering. How to Cope with Suffering The studied population coped with their own suffering alone. They lack social capital and family support. Most of them are faced with abandonment from the community and society, and they lack knowledge and skills in self-care practices. They were poor and disadvantaged and they must struggle to survive day by day. These life conditions deliberately or non-deliberately cause them to get more and more sickness. The study found patterns of coping strategies including utilizing existing medical and social health services from government and non-government sectors, self-care practices, alternative medicine such as traditional Thai and Chinese herbal medicine, witchcraft, and monk healers. Some victims cope with their suffering by listening to the Thamma, becoming a monk, or interpreting their own suffering as their own karma and accepting it.Medical and Social Services Support from medical and social services from both government and non-government organizations for the marginalized groups does exist to some degree. The existing problems with these services include: lack of collaboration in working together; lack of provision of information related to patient’s rights and welfare needed for the patients; lack of sensitivity to the patient’s needs and problems; having discriminatory attitudes toward patients; lack of responsibility in following health professional ethics and principles; and using economic criteria to judge patient’s rights to receive services.RecommendationsForm the study, it should be pointed out that the suffering of the Thai people is not only caused from the medical system but also from the social and cultural systems of the country. Health system reform alone is not enough to solve the problem of suffering of the Thai people. The solution of this problem is also social and educational reform for the existing unjust society.For the government sector, the state must have mechanisms to decrease the gap between the poor and the rich, and reforming the health services and information provided to the patients to make it accessible and equitable. The state should strengthen the capacity of the people to utilize self-care practices. The critical solution is the reform of the existing policy-related structures that are obstacles for the marginalized groups to achieve well-being. Reforming health policy should be similar to the reformation of social policy including providing information and fundamental human rights to the public. Advocacy procedures should be understandable and practical. Partnership between government and non-government sectors should be emphasized. Civil society, especially family, should play a major role in supporting the patients. The community members should create support mechanisms among themselves to take care of their own health, economic and social problems; so that the need to depend on government can be decreased. | en_US |
dc.identifier.callno | W84 พ718ท 2545 | en_US |
dc.identifier.contactno | 42ค056 | en_US |
dc.subject.keyword | Medical Services | en_US |
dc.subject.keyword | Social Services | en_US |
dc.subject.keyword | ผู้ป่วย | en_US |
dc.subject.keyword | ความทุกข์ | en_US |
dc.subject.keyword | สวัสดิการสังคม | en_US |
dc.subject.keyword | บริการทางการแพทย์ | en_US |
.custom.citation | พิมพวัลย์ บุญมงคล, Pimpawan Boonmongkul, ปรารถนา จันทรุพันธุ์, จุรีรัตน์ กิจสมพร and ลือชัย ศรีเงินยวง. "ทุกข์และการเผชิญทุกข์คนไทยในระบบสุขภาพ." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2017">http://hdl.handle.net/11228/2017</a>. | |
.custom.total_download | 285 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 17 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย