แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

กระบวนการประชาสังคมเพื่อการปฏิรูปโรงพยาบาลของรัฐระดับอำเภอเพื่อร่วมเรียนรู้สู่โรงพยาบาลชุมชนเพื่อชุมชน

dc.contributor.authorองอาจ วิพุธศิริth_TH
dc.contributor.authorOngart Viputsirien_US
dc.contributor.authorพรชัย สิทธิศรัณย์กุลth_TH
dc.contributor.authorจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์th_TH
dc.contributor.authorมยุรี จิรวิศิษฎ์th_TH
dc.contributor.authorชัชวาล ประภาวิทย์th_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:00Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:37:03Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:00Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:37:03Z
dc.date.issued2545en_US
dc.identifier.otherhs0922en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2024en_US
dc.description.abstractกระบวนการประชาสังคมเพื่อการปฏิรูปโรงพยาบาลของรัฐ: กระบวนการเรียนรู้สู่โรงพยาบาลชุมชนเพื่อชุมชน ดำเนินการในรูปกระบวนการร่วมคิดร่วมพัฒนาและเข้าใจร่วมกันในกลุ่มภาคีในรูประชาคมเพื่อสร้างความเข้าใจและสามัคคีในการปฏิรูปโรงพยาบาลของรัฐร่วมกันระหว่างพหุภาคี วิธีดำเนินการ ได้มีการแสวงหาผู้ทรงคุณวุฒิและผู้รู้เป็นแกนนำและจัดตั้งคณะกรรมการต่างๆ ภาคีจากภาครัฐ เอกชน และองค์กรอิสระ พัฒนาเกณฑ์และมาตรการให้เหมาะสมพอดีภายใต้ทรัพยากรจำกัด และสถานการณ์ความวิกฤติเศรษฐกิจสังคมและการเมือง เน้นการมีส่วนร่วมของพหุภาคี และความสมัครใจของโรงพยาบาลชุมชนเพื่อร่วมเรียนรู้ตามกระบวนการ ขั้นตอนต่างๆ ควบคุมการประเมินตนเองโดยผู้บริหาร 60:503 แห่ง(สมัคร:ไม่สมัคร) และผู้มาปฏิบัติงาน 725:1,185 คน และการประเมินจากภายนอกโดยผู้ปฏิบัติงานสถานีอนามัย 652:1078 คน และผู้นำชุมชน 225:334 สามารถช่วยให้ข้อมูลในการกลั่นกรองและคัดสรรโรงพยาบาลชุมชนจากทั้งหมด 714 แห่ง ถูกเสนอ 84 แห่ง สมัครใจ 61 แห่ง เข้ารอบสอง 23 รอบสาม 5 อันดับ และได้ 2 โรงพยาบาลชุมชนต้นแบบ เพื่อการตรวจเยี่ยมในที่สุด เนื่องจากมีคะแนนโดดเด่นกว่าแห่งอื่นชัดเจน ผลการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลชุมชนในปี พ.ศ. 2542 ดูแลประชากรครอบคลุมราว 41 ล้านคน มีอัตราครอบคลุมร้อยละ 90.26 อัตราแพทย์ต่อประชากรเฉลี่ยจริง 19,038 อัตราป่วยร้อยละ 32.89 เฉลี่ย 2.67 ครั้งต่อคน ผู้ป่วยในและอัตราครองเตียงของโรงพยาบาลชุมชนแนวโน้มเพิ่มขึ้น รายรับต่อรายจ่ายอยู่ในเกณฑ์สามารถเลี้ยงตนเองได้ ผลการประเมินตนเองโดยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานพบว่า คะแนนเฉลี่ยของปัจจัยสู่ความสำเร็จ (CSFs) และดัชนีกิจกรรมสำคัญ (KPIs) ในกลุ่มที่สมัครสูงกว่ากลุ่มไม่สมัคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเกือบทุกด้านและรายกิจกรรม แต่โดยรวมกิจกรรมที่มุ่งสนองปัญหาและการเข้าถึงชุมชนมีคะแนนเฉลี่ยต่ำเกือบทุกรายกิจกรรม กลไกที่ทำให้โรงพยาบาลชุมชนเข้มแข็ง ได้แก่ ทีมผู้ปฏิบัติเข้มแข็งทั้งโรงพยาบาลชุมชน ผู้บริหารมุ่งมั่น ชุมชนมีส่วนร่วม และต้องการฝึกอบรมพัฒนาคุณภาพ ส่วนภาพลักษณ์โรงพยาบาลชุมชนในสายตาผู้ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย 1,730 คน และผู้นำชุมชน 559 คน อยู่ในระดับดี ทั้งในแง่ประสิทธิภาพ การประสานงานและการให้บริการ ยกเว้นการมีส่วนร่วมในการวางแผนและพัฒนาบริการ โดยกลุ่มโรงพยาบาลชุมชนที่สมัครและไม่ได้สมัครมีผลคะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแทบทุกรายการ โดยสรุปความตื่นตัวและกระบวนการประชาสังคมเพื่อการปฏิรูปโรงพยาบาลของรัฐในระดับอำเภอ ได้รับการตอบสนองจากพหุภาคีพอสมควร และดีมากในภาคผู้ให้บริการทุกระดับจากกระทรวง เขต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และโรงพยาบาลชุมชน เวทีและกระบวนการรับรองคุณภาพบริการที่เข้าถึงทั่วทั้งชุมชน ควรได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง เพื่อโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิสัยทัศน์ ประสบการณ์ และผลสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดนโยบายและมีระบบรางวัลในประเทศth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent17195232 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectประชาสังคมด้านสุขภาพen_US
dc.subjectโรงพยาบาลชุมชน--การมีส่วนร่วมen_US
dc.subjectการปฏิรูประบบสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleกระบวนการประชาสังคมเพื่อการปฏิรูปโรงพยาบาลของรัฐระดับอำเภอเพื่อร่วมเรียนรู้สู่โรงพยาบาลชุมชนเพื่อชุมชนth_TH
dc.title.alternativeCivil society processing for public hospitals reform at district levelen_US
dc.description.abstractalternativeCivil Society Proceeding for Public Hospitals Reform at District Level This study was conducted in collaboration in the search of excellence community hospital for the whole community, strategic partnership was apppraached through all media channels and also direct marketing by sending 7,771 letters to all sectors at all levels for help proposing a delighted community hospital. Voluntary basis of the hospitals was concerned. Self-assessment report by executives (60 applied-hospital: 503 non applied) and core personnel (725: 1185), and external evaluation by district health officers (652:1078) and community leaders (225:334) were used in combination including double teams sites at the end. Eighty four out of 714 hospitals were proposed a champion, 60 hospitals joined, and 23 were defined as highly effective, 5 entered the third round, and were distinct performance. The study results revealed that, community hospitals took care of 41 millon people and covered 90.26 percent of all districts with doctor per population 1:19,038; and 32.89% morbidity rate was found with average 2.67 visits per patient. Increasing trend of inpatient admission and bed used were indentified. Financial stability was assumed through revenue and expense ratio and current ratio. Most of critical success factors(CSFs) and key performance indicators(KPIs), showed higher mean scored rating by applied group than those non applied with statistical significant differences. However, community problem-solving and involvement activities had low mean scores for both groups. Effective coordination and good image were recognized by district health officers and community leaders except rating for participation in health service organization as low. Those applied hospital were received higher mean scores than non applied significantly. In conclusion, responses of civil society were fair as the existing circumstance, and high active response from health sector at all levels particularly community hospitals. At least 23 hospitals showed strong leadership for pursuing development and act as role models. Stage for sharing their visions, experiences, and success result should be available for continuous learning and deployment. Community or comprehensive health care accreditation should also be institutional at national level.en_US
dc.identifier.callnoWX150 อ117ก 2545en_US
dc.identifier.contactno43ข007en_US
dc.subject.keywordCivil Societyen_US
dc.subject.keywordCommunity Hospitalen_US
.custom.citationองอาจ วิพุธศิริ, Ongart Viputsiri, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล, จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, มยุรี จิรวิศิษฎ์ and ชัชวาล ประภาวิทย์. "กระบวนการประชาสังคมเพื่อการปฏิรูปโรงพยาบาลของรัฐระดับอำเภอเพื่อร่วมเรียนรู้สู่โรงพยาบาลชุมชนเพื่อชุมชน." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2024">http://hdl.handle.net/11228/2024</a>.
.custom.total_download60
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0922.pdf
ขนาด: 16.91Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย