แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ปัญหาการข้ามขั้นตอนของผู้ใช้บริการสาธารณสุขโรงพยาบาลภูเขียว อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

dc.contributor.authorอดิเรก เร่งมานะวงษ์th_TH
dc.contributor.authorAdirek Rengmanawongen_US
dc.contributor.authorสุดาทิพย์ เร่งมานะวงษ์th_TH
dc.contributor.authorSudatip Rengmanawongth_TH
dc.contributor.authorอุมาพร หินันท์ชัยth_TH
dc.contributor.authorUmaporn Hinunchaien_US
dc.contributor.authorเยี่ยมรัตน์ จักรโนวรรณen_US
dc.contributor.authorYiamrat Jaknowanen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:05Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:38:49Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:05Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:38:49Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs1049en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2033en_US
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง ปัญหาการข้ามขั้นตอนของผู้ใช้บริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) แสดงปัจจัยที่นำไปสู่การข้ามขั้นตอนของผู้ใช้บริการสาธารณสุข ณ สถานบริการสาธารณสุข (2) แสดงสภาพปัญหา และลักษณะของความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการในเขตและนอกเขตโรงพยาบาลภูเขียว เมื่อใช้บริการทางการแพทย์ข้ามขั้นตอน และ (3) เพื่อศึกษาระบบบริการและการส่งต่อผู้ป่วย ข้อบกพร่อง ปัญหาและอุปสรรคในการจัดระบบบริการและการส่งต่อผู้ป่วย เพื่อให้ได้มาตรฐานของโรงพยาบาลภูเขียว มุ่งเน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ จากเอกสาร รายงาน การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการจัดสนทนากลุ่ม นอกจากนั้น ยังเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต ทั้งอย่างมีและไม่มีส่วนร่วม โดยใช้เวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2546 ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่นำไปสู่การข้ามขั้นตอนของผู้ใช้บริการสาธารณสุข ได้แก่ ความไม่สะดวกในการไปรับบริการ ความไม่เชื่อมั่นต่อคุณภาพบริการ ความรุนแรงของการเจ็บป่วย คุณลักษณะของผู้ให้บริการ การสื่อสารและข้อมูลที่ได้รับจากบริการ ด้านระบบบริการ ประเภทสิทธิการรักษาพยาบาล การส่งต่อจากคลินิกแพทย์ และความไม่เข้าใจในสิทธิบัตรประกันสุขภาพ 2. สภาพปัญหา และลักษณะของความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการข้ามขั้นตอน ส่วนใหญ่จะมี (1) ปัญหาทางเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ค่าพาหนะแพง ค่าอาหาร ค่าเสียเวลา ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งต้องจ่ายเงินเอง ใช้สิทธิประโยชน์จากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่ได้ เพราะไม่ได้ผ่านระบบส่งต่อ (2) ปัญหาทางกาย จากความไม่สะดวกและความไม่ปลอดภัยในการเดินทางไปรักษาพยาบาลเอง และ (3) ปัญหาทางใจ จากความสับสน และความไม่พึงพอใจต่อคุณภาพการบริการของสถานพยาบาล เนื่องจากความไม่เข้าใจในการจัดระบบบริการและการส่งต่อระหว่างผู้ใช้บริการ และญาติที่มีต่อผู้ให้บริการ 3. ระบบบริการและการส่งต่อผู้ป่วย ข้อบกพร่อง ปัญหาและอุปสรรคในการจัดระบบบริการและการส่งต่อผู้ป่วย เพื่อให้ได้มาตรฐานของโรงพยาบาลภูเขียว พบว่า (1) แพทย์ของโรงพยาบาลภูเขียวมีจำนวนน้อย โดยเฉพาะแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนประชากร และแพทย์ส่วนใหญ่จะเป็นแพทย์ที่ใช้ทุน หรือจบใหม่ ปฏิบัติงานไม่นานก็ย้าย แพทย์จึงมีความรู้ และประสบการณ์ไม่เพียงพอ ขาดแรงจูงใจในการปรับปรุงระบบบริการ ส่งผลให้เกิดปัญหาการจัดระบบบริการและระบบการส่งต่อ (2) ระบบส่งต่อพบว่า มีรูปแบบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบการส่งต่อ ตามนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนใช้บริการทางการแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนไว้ลำดับแรกก่อนเสมอ และในกรณีเจ็บป่วยเกินขีดความสามารถจะได้รับการส่งต่อไปยังสถานบริการระดับที่สูงกว่าอย่างรวดเร็วและปลอดภัย (3) มีการทบทวนปรับปรุงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งต่ออย่าง ต่อเนื่องตามแนวทางการดำเนินงานระบบส่งต่อของจังหวัดชัยภูมิ (4) คุณภาพและมาตรฐานในระบบการส่งต่อ พบว่า แพทย์ส่วนใหญ่ มีมาตรฐานในการส่งต่อผู้ป่วย แต่ก็ยังพบว่า แพทย์บางคนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วย มีการส่งต่อผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคที่ควรรักษาได้เอง แต่กรณีโรคที่เกินศักยภาพของสถานพยาบาลกลับให้การรักษาเอง จนผู้ป่วยมีอาการหนัก จึงส่งต่อไปยังสถานพยาบาลระดับทุติยภูมิ (5) ตั้งแต่ดำเนินการนโยบาย 30 บาท ระบบส่งต่อถูกควบคุมไว้ด้วย รายจ่าย ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ส่งต่อ เพราะต้องลดค่าใช้จ่าย ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบระบบบริการในอดีต และ (6) การสื่อสารในการส่งต่อ ยังมีปัญหาระหว่างแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปกับแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งในแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นแพทย์ที่ใช้ทุน หรือจบใหม่ มีความเกรงใจที่จะปรึกษาเกี่ยวกับการส่งต่อผู้ป่วยกับแพทย์เฉพาะทาง และไม่สามารถติดต่อปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางเมื่อต้องการปรึกษา 4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย พบว่า ประเด็นทางเลือกต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย เพื่อการพิจารณาคือ ผู้ใช้บริการควรมีสิทธิเลือกลงทะเบียนกับหน่วยบริการตามความสะดวกในการไปรับบริการ โดยไม่คำนึงถึงการแบ่งพื้นที่ตามเขตภูมิศาสตร์ หรือการปกครองของกระทรวงมหาดไทย เพื่อแก้ไขปัญหาและความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการ 5. ข้อเสนอแนะเชิงพัฒนา พบว่า 5.1 ในส่วนผู้ใช้บริการ ควรมีการถ่ายทอดข้อมูลต่อผู้ใช้บริการในหลายๆ ช่องทาง เช่น การประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน การประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การประชาคมหมู่บ้าน และการออกเยี่ยมบ้าน หรือการสำรวจแฟ้มครอบครัวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในประเด็นดังนี้ (1) เน้นให้ผู้ใช้บริการไปใช้บริการ ณ สถานพยาบาลตามที่ระบุไว้ และในกรณีที่ข้ามขั้นตอน ผู้ใช้บริการ จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเอง (2) ควรจัดทำใบคำชี้แจงศักยภาพการรักษาของโรงพยาบาลทุกระดับ ให้ผู้ให้บริการทุกแผนกงาน และสถานีอนามัยรับทราบ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ และสื่อสารกับผู้รับบริการเกี่ยวกับขีดความสามารถของสถานพยาบาล และ (3) ควรมีการถ่ายทอดข้อมูลในเรื่องชุดสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบส่งต่อ และกฎระเบียบข้อบังคับในการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลภูเขียว สำหรับผู้ใช้บริการสิทธิข้าราชการ และสิทธิประกันชีวิตให้ผู้รับบริการเข้าใจอย่างชัดเจนถูกต้อง 5.2 ในส่วนผู้ให้บริการ ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร โดยมีแนวทางดังนี้ (1) จัดโครงการอบรมเกี่ยวกับพฤติกรรมบริการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในการสร้างความตระหนักต่อคุณธรรมและจริยธรรม และสิทธิผู้ป่วย รวมทั้งกิริยาท่าทางการยิ้มแย้มแจ่มใส (2) ในการเลื่อนตำแหน่ง หรือเลื่อนขั้นเงินเดือนที่สูงขึ้น ควรพิจารณาถึงพฤติกรรมบริการร่วมด้วย และ (3) หน่วยงาน ควรมีโครงการสรรหาคนดี และประกาศเกียรติคุณสำหรับผู้ให้บริการที่มีพฤติกรรมบริการดีเด่นประจำเดือน หรือประจำปี เพื่อประกาศยกย่องชมเชย ในทางกลับกันอาจจะมีการลงโทษ หรือว่ากล่าวตักเตือน เมื่อมีข้อมูลจากการร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมบริการที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งควรจัดระบบบริการ และพัฒนาบุคลากร เพื่อให้ผู้ใช้บริการเชื่อและไว้วางใจผู้ให้บริการที่ดูแลรักษา 5.3 ในส่วนระบบบริการ พบว่า ควรปรับปรุงคุณภาพและระบบการบริการ โดยเฉพาะแผนกผู้ป่วยนอก มีระยะเวลาการรอคอยตรวจจากแพทย์เป็นเวลานานมาก วิธีการหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการคือ การมีพยาบาลเวชปฏิบัติ เนื่องจากผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นโรค พื้นฐานที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแพทย์ ซึ่งถ้าพยาบาลเวชปฏิบัติได้รับการฝึกฝนให้ตรวจรักษาโรคได้ โดยให้แพทย์เป็นผู้นิเทศกำกับการให้บริการ จะช่วยให้ระบบบริการมีคุณภาพดีขึ้น ในกรณีพบว่า มีปัญหาด้านมาตรฐานการส่งต่อ ควรจัดให้มีการประชุม Referral Audit ระหว่างแพทย์ และผู้ให้บริการทุกระดับทุก 1-2 เดือน เพื่อปรับมาตรฐานด้านการส่งต่อ และประสานงานระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งต่อผู้ป่วย และเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปกับแพทย์เฉพาะทาง นอกจากนั้น ควรพัฒนาการบริการระดับทุตติยภูมิ ของโรงพยาบาลให้มีคุณภาพมากขึ้น เช่น จัดประชุมวิชาการการจัดอบรม และจ้างแพทย์เฉพาะทางสาขาที่ไม่มีในโรงพยาบาล มาเป็นที่ปรึกษาให้กับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป หรือมาช่วยตรวจผู้ป่วยนอกในคลินิกเฉพาะทางหรือมารับเป็นที่ปรึกษาผู้ป่วยในทุก 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อให้แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ได้ยกระดับความรู้ความสามารถ เกิดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน อยู่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนานขึ้น ส่งผลให้ระบบบริการดีขึ้น และผู้ป่วยข้ามขั้นตอนจากโรงพยาบาลภูเขียวไปรับการรักษาที่อื่นน้อยลงth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Servicesen_US
dc.subjectChaiyaphumen_US
dc.subjectอนามัย, การบริการen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectชัยภูมิen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleปัญหาการข้ามขั้นตอนของผู้ใช้บริการสาธารณสุขโรงพยาบาลภูเขียว อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิth_TH
dc.title.alternativeBy pass problems experienced by patients obtaining public health's services in Phukhieo hospital, Phukhieo district, Chaiyaphum provinceen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the research: by pass problems experienced by patients obtaining public health’s services in Phukhieo hospital, Phukhieo district, Chaiyaphum province, were to show the causes of this: (1) the factors of by pass problems experienced by patients obtaining public health’s services, (2) the problems occurring to the patients both inside outside of the hospital occupying when they obtained the by passed public health services and (3) to study a referral system and it’s problems for standard management of the hospital. The study focused on the qualitative research method. Data were obtained from document review, in-depth interview and focus group, and also the participant observation and non-participant observation. The study covered the period of February to September, 2003.The results of this study showed that: 1. The factors leading to the bypassing experienced by the patients obtaining public health services were the inconvenience in transportation, inreliance of the clinical service quality, the seriousness of the disease, the character of the servant, the contact and information obtaining from the service, service system, mode of clinical service right, the clinical referral, and the non-understanding of the card holders under the universal coverage insurance. 2. Most of the patterns and conditional problems were described as following items: (1) an economic problem was caused of the loss of time, the cost of transportation, food, and health’s care. These charges had to be paid by the patients because the universal coverage insurance cannot be used. This was caused by unused referral system, (2) the physical problem was occurred from the inconvenience and no safety of life and (3) the mental problem was occurred because they were not satisfied of the service quality because of the non-understanding of the referral management system between the patient and the relative of the servant. 3. The quality and standard of health care and referral system management in Phukhieo hospital were revealed that: (1) there was small amount of doctors that the ratio of doctors to patients was low score, general practice and most of them were funded and just graduated. They always move to several areas. So their knowledge and experience were not enough, and the inspiration to improve service system was lacked, (2) the strategy for the referral system management depended on the universal coverage insurance policy that the patients were commented to use the first register service. The patients with over cured disease) will be immediately and safely referred to higher efficient hospital, (3) the referral strategy always improved following the policy of referral system) of Chaiyaphum province,(4) the standard and quality of referral sys tem were shown that the patient was not treated in the referral standard from most doctors. The patients who can cure themselves were referred, while the patients with over cured disease were allowed to care themselves until they were coma and then were referred the secondary care, (5) Since running on the 30 baht policy, the referral system was limited by a payment. If it was not necessary, the patient was not referred because of the necessity to decrease the payment. This was differ from the previous service system and (6) The communication problem to refer the patient arise between general practice and specialists. Most general practice was graduated so far or funded. So they were not confident to ask the special doctor and they cannot contact to consult specialists when they have the problems. 4. The policy suggestion was that, the alternate strategy for the persons relating to consider the policy was the patient choice for register with the health care service depending on their convenience. This was independent from the geographical or occupied dividing areas to solve the patient’s problem. 5. The developmental suggestions indicate that: 5.1 The patients should obtain the information from the various choices such as the community deputy meeting, the village health volunteer ’s meeting, civic groups and home health care, or the data will be obtained from family folder observation by the personnel’s health in the following mentions. (1) the patients are commented to obtain service from the specific health care and for the case of by passed patients, the charge of health care have to been paid by them, (2) the sheets describing healthcare efficiency of all hospital levels should be distributed to all personnel’s health of all department and sub-district health. These are the data for the communication to the patients about the health care efficiency and for patient deciding, (3) There should be the communication to understand about the right of the universal coverage insurance, referral system and the rules of the health care obtaining in Phukhieo hospital for either government service right patients or life insurance patients. 5.2 For the servants personnel’s health, the improvement of the health personnel’s health is important. The strategies of this are that, (1) the seminar of services behavior should be always established and performances according to the patients’ rights (2) services behavior should be used to consider progression and (3) the finding out and pronounce of the excellent personnel’s health should be done monthly or yearly. In the other case, there should be punishment when there are the complains about the improper service, and also the service system and personnel improvement should run to obtaining the patient’s trust. 5.3 The service system revealed that, the quality and service system need to be developed, especially the out patients department (OPD.) that a lot of time was used for waiting to see doctor. Possession of nurse practitioner is a method that can help to increase the service efficiency. Case study showed that, there was the referral standard problem. The referral audit between doctors and all servants should be set up once a month or two months to improve the referral standard, communication between the referral concerned servants, and increase the occasion of communication between general practice and specialists. In addition, the quality of secondary care in the hospital has better be corrected, for example; conference, seminar, the deficient specialists to be the consultant once a week or two weeks. This is to develop the doctors’ knowledge and efficiency, inspire doctors to work in the hospital for a long time, therefore the service quality will be developed and the bypassed patients from Phukhieo hospital will be decrease.en_US
dc.identifier.callnoW84 อ127ป 2546en_US
dc.identifier.contactno46ค039en_US
dc.subject.keywordReferral Systemsen_US
dc.subject.keywordPhukhieo Hospitalen_US
dc.subject.keywordปัญหาการข้ามขั้นตอนen_US
dc.subject.keywordระบบส่งต่อen_US
dc.subject.keywordระบบบริการของโรงพยาบาลen_US
dc.subject.keywordผู้ใช้บริการสาธารณสุขen_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลภูเขียวen_US
.custom.citationอดิเรก เร่งมานะวงษ์, Adirek Rengmanawong, สุดาทิพย์ เร่งมานะวงษ์, Sudatip Rengmanawong, อุมาพร หินันท์ชัย, Umaporn Hinunchai, เยี่ยมรัตน์ จักรโนวรรณ and Yiamrat Jaknowan. "ปัญหาการข้ามขั้นตอนของผู้ใช้บริการสาธารณสุขโรงพยาบาลภูเขียว อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2033">http://hdl.handle.net/11228/2033</a>.
.custom.total_download120
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1049.pdf
ขนาด: 1.274Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย