แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การทบทวนความสำเร็จและโอกาสพัฒนาของการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามกรอบข้อเสนอระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2544

dc.contributor.authorจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์th_TH
dc.contributor.authorJiruth Sriratanabanen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:06Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:50:38Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:06Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:50:38Z
dc.date.issued2548en_US
dc.identifier.otherhs1202en_US
dc.identifier.otherhs1202en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2037en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก : รายงานการวิจัยเรื่องการทบทวนความสำเร็จและโอกาสพัฒนาของการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามกรอบข้อเสนอระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2544th_TH
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการดำเนินการ ความสำเร็จและโอกาสพัฒนาของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตามกรอบข้อเสนอระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่เสนอไว้โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในรายงานการศึกษา ตลอดจนค้นหาข้อมูลป้อนกลับแก่สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เกี่ยวกับกระบวนการพัฒนางานวิชาการเชิงนโยบายเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนางานด้านวิชาการของ สวรส. ต่อไป ทั้งนี้โดยใช้วิธีการการทบทวนเอกสารวิชาการและการรวบรวมข้อมูลจากการประชุมระดมสมอง และ/หรือสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการศึกษาตามจุดมุ่งหมายหลัก 4 ประการที่มีการนำเสนอไว้ในรายงานปี 2544 ในเรื่องแรกความเป็นธรรมในการรับภาระค่าใช้จ่ายและความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น พบว่ามีพัฒนาการไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ในด้านที่สอง เรื่อง ประสิทธิภาพในระบบสุขภาพยังไม่พบผลงานวิจัยหรือเครื่องชี้วัดที่สามารถแสดงการเพิ่มขึ้นหรือลดลง ส่วนประการที่ 3 ที่เชื่อในหลักการที่ว่าทางเลือกในการรับบริการนำไปสู่คุณภาพของบริการที่ดี ได้มีนโยบายที่ชัดเจนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ผู้มีสิทธิสามารถเลือกหน่วยบริการระดับปฐมภูมิเป็นหน่วยบริการประจำครอบครัวได้ในปัจจุบัน โดยยึดพื้นที่ที่เป็นภูมิลำเนาหรือพื้นที่ใกล้เคียงหรือในกรณีที่มีการพักอาศัยเพื่อการประกอบอาชีพ (มีผู้รับรอง) ทำให้ประชาชนผู้มีสิทธิมีความพึงพอใจมากกว่าที่จะได้เลือกสถานพยาบาลเอง อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานจากการวิจัยใดที่ชี้ว่า การให้ทางเลือกในการรับบริการนำไปสู่คุณภาพของบริการที่ดีขึ้นในด้านอื่นๆ สำหรับประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับการมุ่งสู่การสร้างให้มีสุขภาพดีถ้วนหน้า ได้มีนโยบายมีความชัดเจนในเรื่อง “สร้างนำซ่อม” อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมดูเหมือนว่ายังขาดความชัดเจน ข้อเสนอแนะที่สำคัญเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้แก่ ควรทบทวนความสอดคล้องและเหมาะสมของหลักการแนวคิดกับทรัพยากร การจัดสรรงบประมาณและความสามารถในการจัดระบบบริการ เพื่อเป็นบริการที่ได้รับการยอมรับและยินดีเลือก (Service of choice) หรือเป็นตาข่ายเพื่อความปลอดภัยทางสังคม (Social safety net) โดยดำเนินการในทิศทางที่สะท้อนหลักการว่า การสร้างทางเลือกที่นำไปสู่คุณภาพที่ดีขึ้น อยู่บนพื้นฐานของกลไกการแข่งขันภายใต้ข้อมูลและความรู้ที่เพียงพอของผู้บริโภคหรือต้องเป็นการแข่งขันภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด (Managed competition) การพัฒนานโยบายบนพื้นฐานของข้อมูลทางสุขภาพและข้อมูลทางระบาดวิทยาระยะยาว มีการกำหนดเป้าหมายการสร้างเสริมสุขภาพที่เป็นรูปธรรม เชื่อมโยงกับระบบงบประมาณ การจัดสรรทรัพยากรและการประเมินผลการดำเนินการพัฒนาหลักเกณฑ์ในการคำนวณงบประมาณที่มีความหนักแน่นทางวิชาการและใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ สนับสนุนการศึกษาบัญชีรายจ่ายประชาชาติด้านสุขภาพและการศึกษาติดตามที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างต่อเนื่อง พัฒนาระบบบัญชีการเงินและบัญชีต้นทุนของสถานพยาบาลต่างๆ อย่างจริงจัง มีการติดตามศึกษาสภาวะสุขภาพ ระบาดวิทยาความเจ็บป่วย พฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพ และการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ศึกษาการอุดหนุนข้ามระบบทางด้านการคลังของระบบประกันสุขภาพต่างๆ ในระดับของหน่วยบริการ ประเมินผลกระทบและวางแนวทางป้องกันปัญหาทางการเงินของหน่วยบริการ หากมีการปรับอัตราการจ่ายเงินในระบบต่างๆ เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทบทวนความจำเป็น ข้อดีและข้อจำกัดที่เกิดจากการรวมระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศเป็นกองทุนเดียว ในขณะที่สร้างกลไกการประสานงานใน 3 ระดับ คือ ระดับนโยบาย ระดับบริหาร และระดับเทคนิคเพื่อสร้างความสอดคล้องของหลักการ สิทธิประโยชน์ งบประมาณ ความต้องการด้านสารสนเทศ และการดำเนินงานระหว่าง 3 กองทุนหลัก ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้มีนายกรัฐมนตรี (หรือรองนายกรัฐมนตรี) เป็นประธาน และส่งเสริมบทบาทของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข และพัฒนาระบบบริหารงานภายในของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานสากล รวมถึงการพัฒนาสำนักงานหรือกองทุนสาขาของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กระทรวงสาธารณสุขควรมีการดำเนินการที่สำคัญดังนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหารงานบุคคล ตลอดจนระบบงบประมาณทั้งงบเงินเดือนและงบดำเนินงาน ปรับปรุงระบบการคำนวณและจัดสรรเงินเดือนแก่บุคลากรสาธารณสุขใหม่ โดยแยกแยะกลุ่มบุคลากร เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณในภาพรวมสอดคล้องกับภารกิจ พัฒนาและขยายกลไกการจ่ายเงินแบบเหมาเป็นรายโรค ที่มีการคำนวณต้นทุนบนพื้นฐานของข้อกำหนดเชิงคุณภาพที่ชัดเจน (Quality-based purchasing arrangement) เพื่อลดผลกระทบของระบบต่อคุณภาพ และทำให้สามารถประกันคุณภาพของการรักษาที่ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากได้ พร้อมกับศึกษาและวางแผนดำเนินการจัดระบบบัญชี หรือกองทุนเพื่อการกระจายความเสี่ยงระหว่างพื้นที่ ดำเนินการที่เชื่อมโยงความต้องการด้านคุณภาพกับความต้องการด้านทรัพยากรและงบประมาณ โดยพัฒนา Resource-based practice guidelines พัฒนาระบบในการประเมินคุณภาพของการดูแลสุขภาพ ควบคู่ไปกับคุณภาพของบริการ การให้ข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้หน่วยบริการมีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพของตนเองอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เสริมพลังผู้บริโภคในเรื่องคุณภาพเพื่อการตัดสินใจเลือกหน่วยบริการและรับบริการที่ชาญฉลาด และพัฒนาระบบประกันคุณภาพและบริหารในภาพรวมขององค์กรที่ทำหน้าที่บริหารจัดการกองทุนประกันสุขภาพต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Insurance Systemsen_US
dc.subjectHealth Systemsen_US
dc.subjectInsurance, Healthen_US
dc.subjectHealth Administrationen_US
dc.subjectHealth Policyen_US
dc.subjectระบบประกันสุขภาพen_US
dc.subjectระบบสุขภาพen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการทบทวนความสำเร็จและโอกาสพัฒนาของการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามกรอบข้อเสนอระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2544th_TH
dc.title.alternativeReview of successes and opportunities for improvement in the development of the universal health coverage with reference to the 2001 Health System Research Institute's proposal on universal coverageen_US
dc.description.abstractalternativeUniversal coverage (UC) is a breakthrough improvement of the health system of Thailand. Before the beginning of the UC-policy movement of the present government, the Health Systems Research Institute (HSRI) developed the proposal for the universal coverage for the drafting process of the National Health Act B.E…. It was then published in 2001. This study aims to review the implementation, successes and opportunities of improvement of the universal coverage with reference to the HSRI proposal and to come up with feedbacks to HSRI on development processes of academic work on policy issues for future application. Information was gathered by reviewing key relevant documents, interviews and brainstorming sessions. Study findings on the four primary goals of UC as proposed by the 2001 proposal indicated that, firstly, equity in distributing financial burden and health care access to necessary services improved. Secondly, however, there was no study or evidence to show definitely that efficiency in the health care system increased or decreased. Thirdly, regarding the right to choose a provider which was expected to promote quality, there has been a policy from the National Health Security Office to allow its beneficiaries to choose primary care providers in their neighborhood areas or areas around their workplaces. Nevertheless, there was no evidence demonstrating that the right to choose led to better quality. The fourth goal, which was to promote health for all, was realized obviously by the policy “Building health leads fixing health.” Nevertheless, concrete outcomes of the policy were still lacking. Regarding the proposal on system financing which asked for alignment and adequate budget to support standard health care, it was found that the financing was still fragmented. No mechanism overlooked the whole system, which comprised three main funds. The funds had diverse health benefit packages. The financial situation leads to the conclusion that total funding was not adequate. Health security of the nation remained separated into three schemes, which were different principles, organization, benefit packages and operation. The purchaser-provider-split concept was not evident yet. Management within the Ministry of Public Health confuse management of activities under the universal coverage program, particularly the distinction of health promotion and disease prevention from public health activities financed by the Ministry. Based on this study, recommendations regarding further development of UC should include the following:Review consistency and appropriateness of principles and resources, budget allocation and service arrangement under UC to be “Service of choice” or “Social safety net”. This is under the assumption that creating choice to lead to better quality should be based on competition and informed consumers, or managed competition.Set up new policies based on long-term health and epidemiology information. Set up concrete health promotion goals and associate them with the budget system, resource allocation and operational evaluation.Develop academically solid criteria for budget calculation. Support a national health account study and other related studies and develop efficient and valid financial accounting and cost accounting systems for health care providers. Monitor health status, epidemiology of illnesses, health-service seeking behaviors, and self care of the population continuously.Study cross-subsidization between health security funds at the level of health care provider. Assess financial impacts and design preventive measures for providers in case payment rates of different funds are standardized.Review needs, advantages and disadvantages of fund merging into a single national health security fund. At the same time, develop coordinating mechanisms at three levels—policy, administrative and technical—in order to ensure alignment of principles, benefit package, budget, information requirements and operation between funds. Change the structure of the National Health Security Committee to have the Prime Minister (or his deputy) as Chairman. Enhance the roles of the Health Security Committee and the Quality and Standard Control Committee, and improve internal management in the National Health Security Office and its branch office to international standard.The Ministry of Public Health should spell out its human resources management and budgeting system for both salary and operating budgets. Improve systems for estimating and allocating salary for each group of staff to ensure alignment to missions.Develop close-end payments to the disease which calculate cost on basis of quality requirement, that is set up quality-based purchasing arrangement, to reduce impact of the payment on quality of care and enable quality assurance for resource-intensive treatment. Study and plan a risk-distribution fund or account system.Link quality requirement with resources and budget need by developing resource-based practice guidelines. Develop quality assessment for health care and services, quality information for continuous quality improvement, and enable health care providers for self improvement. Empower consumers for smart decision making and install quality management systems in all heath security fund administrators.en_US
dc.identifier.callnoWA525 จ542ก 2548en_US
dc.identifier.contactno47ค049en_US
dc.subject.keywordUniversal Health Coverageen_US
dc.subject.keywordหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
.custom.citationจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ and Jiruth Sriratanaban. "การทบทวนความสำเร็จและโอกาสพัฒนาของการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามกรอบข้อเสนอระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2544." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2037">http://hdl.handle.net/11228/2037</a>.
.custom.total_download73
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1202.pdf
ขนาด: 624.2Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย