Show simple item record

The evaluation on social welfare services to develop the quality of life of the elderly in Thailand

dc.contributor.authorระพีพรรณ คำหอมen_US
dc.contributor.authorRapeephan Kamhomen_US
dc.contributor.authorจิระลักษณ์ จงสถิตย์มั่นen_US
dc.contributor.authorอภิญญา เวชยชัยen_US
dc.contributor.authorธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยาen_US
dc.contributor.authorปิยะฉัตร ชื่นตระกูลen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:09Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:37:27Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:09Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:37:27Z
dc.date.issued2542en_US
dc.identifier.otherhs0767en-EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2042en_US
dc.description.abstractการประเมินโครงการบริการสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อประเมินวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การดำเนินงาน ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของบริการสวัสดิการสังคมที่ดำเนินการโดยรัฐ 4 บริการ ได้แก่ บริการสถานสงเคราะห์ บริการเบี้ยยังชีพ บริการสังคมในชุมชน (เน้นศูนย์สงเคราะห์ราษฎร์ประจำหมู่บ้าน) และบริการฌาปนกิจสงเคราะห์ ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้สูงอายุใน 4 ภาคและเขตปริมณฑล 9 จังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถามผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพคือ แบบสัมภาษณ์ กรณีศึกษา การจัด Focus Group ร่วมกับผู้สูงอายุ การสังเกตการณ์ในหมู่บ้านและชุมชนที่ศึกษา สถิติที่ใช้ศึกษาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าไค-สแควร์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการประเมินโครงการบริการสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในบริบทแวดล้อมพบว่า วัตถุประสงค์ของการจัดบริการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ รัฐมีแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุที่ยากจน ไม่มีผู้ดูแล ไม่มีผู้อุปการะเป็นหลัก โดยการใช้เครื่องมือทางวิชาชีพ (Means-test) คัดเลือกผู้สูงอายุที่เหมาะสมที่จะรับบริการ แนวคิดของการจัดบริการสวัสดิการสังคมที่สำคัญคือ แนวคิดการสงเคราะห์ประชาชน (Public Assistance)ได้แก่ บริการสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ บริการเบี้ยยังชีพ แนวคิดชุมชนเป็นฐาน (Community-based) ได้แก่ บริการสังคมในชุมชน (เน้นศูนย์สงเคราะห์ราษฎร์ประจำหมู่บ้าน) และบริการฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ ถือเป็นบริการเดียวที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะคือ การจัดงานศพให้กับผู้สูงอายุ และเป็นบริการเดียวที่ช่วยเหลือเกื้อกูลของคนในชุมชนต่อผู้สูงอายุ ผลการประเมินเป้าหมายการให้บริการพบว่า บริการฌาปนกิจสงเคราะห์เป็นบริการเดียวที่คำนึงถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ ขณะที่บริการอื่น ๆ เป็นบริการที่รัฐจัดให้กับผู้สูงอายุโดยใช้นโยบายจากบนสู่ล่าง (Top-down) ผลการประเมินการใช้ทรัพยากรของโครงการบริการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า บริการสถานสงเคราะห์ใช้จ่ายทรัพยากรในการสงเคราะห์ผู้สูงอายุค่อนข้างสูงถึงปีละ 34,500 บาทต่อราย บริการเบี้ยยังชีพใช้จ่ายงบประมาณให้ผู้สูงอายุปีละ 2,400 บาท (เฉลี่ยเดือนละ 200 บาท) บริการศูนย์สงเคราะห์ราษฎร์ประจำหมู่บ้านใช้จ่ายงบประมาณดำเนินการครั้งแรกของศูนย์ ๆ ละ 12,500 บาท ส่วนบริการฌาปนกิจสงเคราะห์ รัฐมิได้จัดสรรงบประมาณให้ แต่มาจากผู้สูงอายุ และครอบครัวโดยเก็บจากสมาชิกในชุมชนรวมทั้งผู้สูงอายุศพละ 5-50 บาท บริการฌาปนกิจสงเคราะห์ จึงเป็นบริการที่ใช้ศักดิ์ศรีความเป็นคนของผู้สูงอายุและต้นทุนทางสังคมของชุมชนเป็นหลัก งบประมาณพึ่งพากับรัฐน้อยมาก ขั้นตอนการใช้บริการของฌาปนกิจสงเคราะห์จะยืดหยุ่นและปรับตามความเหมาะสมของผู้สูงอายุ ศักยภาพขององค์กรให้บริการสวัสดิการผู้สูงอายุจึงขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของชุมชนเป็นสำคัญ ผลการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการฯ พบว่า กลไกการบริหารจัดการของรัฐยังไม่มีประสิทธิภาพที่ดี ซึ่งสะท้อนไปที่กลไกการดำเนินงานของรัฐตั้งแต่ การประเมินผู้สูงอายุที่ควรจะได้รับบริการ หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้สูงอายุเข้าสถานสงเคราะห์และรับเบี้ยยังชีพยังขาดมาตรฐานและสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้สูงอายุ ขาดเครื่องมือทางวิชาชีพที่เหมาะสม (Means-test) อันนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม รัฐขาดกระบวนการควบคุมกำกับ ดูแลตรวจสอบ ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานและโครงการบริการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพ ดังจะเห็นได้จากมีปัญหาในกระบวนการเบิกจ่ายเงินของเบี้ยยังชีพและเงินกองทุนศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน กลไกที่จัดตั้งขึ้นตามระบบราชการ ไม่ได้มาจากตัวแทนของผู้สูงอายุในชุมชนที่แท้จริง ผลการดำเนินงานของโครงการบริการสวัสดิการสังคมที่พบ คือ 1. การดำเนินงานของสถานสงเคราะห์ตอบสนองความต้องการด้านกายภาพผู้สูงอายุเป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านจิตใจ และจิตวิญญาณของผู้สูงอายุไทย บริการสถานสงเคราะห์มีพอเพียง แต่ไม่เป็นธรรมที่ทำให้ผู้สูงอายุที่มีฐานะดี และปานกลางค่อนข้างดีได้รับประโยชน์จากสถานสงเคราะห์เท่าเทียมกับผู้สูงอายุยากจน ไร้ที่พึ่งพา 2. บริการเบี้ยยังชีพเป็นบริการที่แบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้สูงอายุที่ยากจน อายุมาก มีโอกาสได้เบี้ยยังมากที่สุด กลุ่มที่ 2 ผู้สูงอายุที่อยู่กับบุตรหลาน ไม่ยากลำบาก ฐานะปานกลาง แต่มีสายสัมพันธ์กับคณะกรรมการหมู่บ้านกลุ่มนี้จะได้รับเบี้ยยังชีพเป็นอันดับที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุที่ยากจน ทุกข์ยาก ไร้ญาติขาดมิตร อยู่ลำพังคนเดียว มีโอกาสได้รับเบี้ยยังชีพน้อยที่สุด เพราะเป็นกลุ่ม “คนชายขอบ” ในชุมชน บริการเบี้ยยังชีพเป็นบริการที่มีการใช้อำนาจและกลไกทางการเมืองของรัฐเข้ามาแทรกแซงการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ 3. บริการเบี้ยยังชีพและบริการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน เป็นการกระจายบริการเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ 4. บริการฌาปนกิจสงเคราะห์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ (กลุ่มธรรมชาติ) เป็นบริการที่ตอบสนองกับความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชนมากกว่าบริการอื่น ๆ ที่รัฐดำเนินการ ผลการประเมินประสิทธิผลของโครงการฯ พบว่า บริการส่วนใหญ่ที่รัฐจัดให้ผู้สูงอายุไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมเพราะ ผู้สูงอายุกลุ่มยากจน ไร้ญาติ ไม่มีผู้ดูแลยังไม่สามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการคัดเลือกผู้สูงอายุที่ไม่เป็นธรรมอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายยังไม่ได้รับบริการ ไม่สามารถพิทักษ์สิทธิของตนเองได้ ผู้สูงอายุไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการ การดำเนินงาน จึงส่งผลให้บริการส่วนใหญ่จึงขาดความยั่งยืนของบริการและกิจกรรม ไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งให้ผู้สูงอายุและชุมชนได้ในระยะยาว การจัดบริการเน้นบริการแบบแยกส่วน เช่น บริการสถานสงเคราะห์แยกผู้สูงอายุออกจากครอบครัวและชุมชน ขณะที่ 3 บริการดีแต่ก็ขาดการพัฒนาเนื้อหาการจัดบริการไปสู่การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้พึ่งตนเอง มีความมั่นคงในสังคม ขาดการพัฒนาจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในระยะยาว ผู้สูงอายุจึงดำรงชีวิตอยู่ได้เพียงการ “อยู่ได้ อยู่รอด” แทน “อยู่ดี มีสุข”en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1829263 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectElderlyen_US
dc.subjectSocial Welfareen_US
dc.subjectAge Groupsen_US
dc.subjectAge Groupsen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- คุณภาพชีวิต -- ไทยen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- สวัสดิการ -- ไทยen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆen_US
dc.titleการประเมินโครงการบริการสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe evaluation on social welfare services to develop the quality of life of the elderly in Thailanden_US
dc.description.abstractalternativeThe Evaluation on Social Welfare Services to develop the quality of Life of the Elderly in Thailand The study of “the evaluation of social welfare services to develop the quality of life of the elderly in Thailand” has the purpose to evaluate the purpose, target, efficiency and effectiveness of the social welfare services by the government in 4 areas I.e. Homes for the elderly, the allowance, social services in the community (emphasizing the village welfare Assistance Center) and the funeral welfare services. The procedures in doing the research are both quantitative and qualitative research. The examples of study are the elderly in four regions and the peripheral provinces. The methodology in the quantitative study are the enquiries of the elderly, and the tools used in the qualitative study are the methods of interviewing, case studies, focus grouping with the elderly, observation in the village and community concerned. The statistics of the study is the percentage, the mean, chi-square and the analysis of variation. In this study it is found out that the context evaluation particularly the purpose of the social welfare for the elderly. The government has the concept to manage mainly the service for the poor elderly without the relatives and supporters, by using the occupational means-test by screening them who qualified to receive the social welfare. The main concept of social welfare for the elderly is the concept of public assistance except the funeral welfare services is as the welfare services with the specific purpose in organizing the funeral for the elderly which is the welfare assisting the elderly in the community. The result’s evaluation of the purpose of services found that the funeral welfare services is the only welfare that giving concern the value and dignity of elderly as far as the elderly are concerned themselves and voluntary involvement of their relatives in guaranteeing for the elderly in the society, while others services the government arranged for the elderly has been directed through the top-down policy In the assessment the spending social resources for social welfare projects for the elderly, it is found out that the cost for Homes for the elderly is yearly high as 34,500 Baht per person, the allowance for the elderly in communities is 2,400 Baht a year (200 Baht per month in average) the cost of operation in the village Welfare Assistance Center in the early stages is 25,000 Baht. While the funeral welfare the government does not allocate the budget but collects from the elderly and their families by collecting from the community’s members including the elderly 5-50 Baht per dead person. The funeral welfare is the service concern with the dignity of the elderly and mainly counted as the cost of the community, thus the dependence on the government budget become less. The procedure of using the funeral welfare is flexible and adapts to the elderly’s qualification. Thus, the potentials of social welfare services for the elderly of the organization therefore mainly depends on the strength of the community. According to the result of this study is found out that the mechanics of the government organizations are not so efficiency, that reflects the mechanism of the governmental organization from the evaluation of the qualified elderly, the criteria of selecting the elderly to be admitted to the Village Welfare Assistance Center the elderly and receiving the allowance lower than the standard that will guarantee the social justice for the elderly, lacking the suitable means-test that will lead to unfair allocation of the government budget. The government lacks the process of assessment, investigating, monitoring and evaluating system to accomplish the social welfare projects for the elderly efficiently, as they face the problem of disembursement process of the allowance and fund of the Village Welfare Assistance Center. The mechanism have been created according to the bureaucratic system, not by the representatives of the elderly in the community. The result of evaluation of the effectiveness of social Welfare Services find out are the following.the operation of Homes for the elderly can respond well the the physical needs of the elderly but cannot respond spiritually. There are enough governmental welfare Homes for the elderly, but unfair as far as the elderly with the high and medium income can be admitted to the facilities as same as the poor elderly.The system of the Allowance is divided into 3 groups as following.the poor elderly has the opportunity to get the highest allowancethe elderly with their descendants not so poor, with medium income but has good relations with the committee of the village will get the next high allowanceThe miserable, living alone (or without relatives) elderly has the opportunity to get the less subsistence because they are “marginal groups” in the community. The social welfare in terms of the allowance of the officials is intervened by the political mechanismThe Allowance and the village Welfare Assistance Center is discentralized in terms of quantity.The official and unofficial funeral welfare services (natural groups) responds to the elderly’s needs of the community more than other social welfare services of the government. The evaluation of projects of social welfare for the elderly shows that the social welfare by the government is not so functional and justice as far as the poor elderly, without relatives, cannot get access to the social welfare services because of the selection process is nepotic and unfair. The target groups of the elderly cannot enjoy such welfare as they cannot protect their own rights as they are not participated in the management process which leads to the sustainable welfare and activities, cannot strengthen the elderly and the community for long. As far as managing the service separately i.e. handling the government welfare Homes for the elderly separately from the family and community. Even the welfare is good but lacking the improvement of management to develop the potentials of elderly for self-dependence, stabilization in the society, lacking the spiritual development of elderly for a long period, thus the elderly lead a “surviving-existing” rather than “well-doing” style of life.en_US
dc.identifier.callnoWT31 ร245ก 2542en_US
dc.subject.keywordโครงการเบี้ยยังชีพen_US
dc.subject.keywordสวัสดิการสังคมen_US
dc.subject.keywordผู้สูงอายุen_US
.custom.citationระพีพรรณ คำหอม, Rapeephan Kamhom, จิระลักษณ์ จงสถิตย์มั่น, อภิญญา เวชยชัย, ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา and ปิยะฉัตร ชื่นตระกูล. "การประเมินโครงการบริการสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย." 2542. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2042">http://hdl.handle.net/11228/2042</a>.
.custom.total_download646
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs0767.pdf
Size: 1.573Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record