แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

รายงานการศึกษาเพื่อกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำการเกษตรแบบมีสัญญาผูกพัน

dc.contributor.authorปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์th_TH
dc.contributor.authorPattapong Kessomboonen_US
dc.contributor.authorวิเชียร เกิดสุขth_TH
dc.contributor.authorหิรัญ แสวงแก้วth_TH
dc.contributor.authorพัชรินทร์ ฤชุวรารักษ์th_TH
dc.contributor.authorนุศราพร เกษสมบูรณ์th_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:11Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:36:58Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:11Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:36:58Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs0895en-EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2046en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์การศึกษา 1) เพื่อศึกษาขอบเขตของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของการทำการเกษตรแบบมีพันธะสัญญา 2) เพื่อสร้างเวทีการนำเสนอข้อคิดเห็นและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของฝ่ายต่างๆ ในกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพวิธีการศึกษา ประกอบด้วย 1) การทบทวนเอกสาร 2) การสังเกตกิจกรรมในพื้นที่ 3) การสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่เกี่ยวข้อง 4) การสำรวจโดยการสัมภาษณ์เกษตรกร 5) การจัดประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับขอบเขตการประเมินผลกระทบ โดยผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เกษตรกร ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข ตัวแทนบริษัทฯ นักวิชาการ สื่อมวลชนและบุคคลทั่วไป 6) การนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นและการรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชน 7) การสรุปและเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ผลการศึกษา พบว่า ภาคการเกษตรของไทยมีปัญหามาโดยตลอด ได้แก่ ปัญหาพืชผลราคาผันผวน ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น การขยายพื้นที่เพาะปลูกมีขีดจำกัด การปลูกพืชเชิงเดี่ยวมีผลทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ภาวะภัยจากธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม ฯลฯ นอกจากนี้ ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันและการกีดกันทางการค้าจากประเทศต่างๆ เกษตรกรจึงประสบปัญหาด้านอาชีพและคุณภาพชีวิต ทำให้ต้องอพยพเป็นแรงงานรับจ้างตามที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ แนวทางการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งคือ การที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตร โดยรูปแบบการเกษตรแบบมีสัญญาผูกพัน มาตั้งแต่แผนพัฒนาการเกษตรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 6 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันระบบการผลิตแบบมีสัญญาผูกพัน (Contract farming) หมายถึง การจัดการทางความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตกับผู้รับซื้อผลผลิตแบบแนวดิ่ง โดยที่ผู้ซื้อสามารถกำหนดความแน่นอนของวัตถุดิบซึ่งเป็นผลผลิตเกษตรที่ตนจะรับซื้อ โดยที่ตัวเองไม่ต้องเป็นเจ้าของหน่วยการผลิตทางการเกษตรนั้นเสียเอง เกษตรกรที่เข้าร่วมในโครงการยังเป็นอิสระโดยเป็นเจ้าของหน่วยการผลิตของตนอยู่ แต่มีการทำสัญญากับผู้รับซื้อ (ส่วนใหญ่มักจะเป็นโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร) ล่วงหน้า ถึงปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรที่ตนจะผลิตป้อนให้การศึกษานี้พบว่า มีผลผลิตการเกษตรหลายชนิดที่มีการใช้ระบบการผลิตแบบมีสัญญาผูกพัน เช่น การเลี้ยงไก่ การผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อผลิตอาหารกระป๋อง การปลูกมันฝรั่ง การผลิตอ้อยทำน้ำตาล การผลิตเยื่อกระดาษจากต้นยูคาลิปตัสและไม้ไผ่ การปลูกมะเขือเทศเพื่อทำอาหารกระป๋อง การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ เมล็ดพันธุ์พริก เมล็ดพันธุ์แตงโม แตงแคนตาลูบ เป็นต้นจากกรณีศึกษาการผลิตแบบมีสัญญาผูกพันกรณีเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ เมล็ดพันธุ์พริก ที่จังหวัดขอนแก่น พบว่า บริษัทกำหนดและควบคุมกระบวนปลูกทุกขั้นตอน ต้องมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจำนวนมากและบ่อยครั้ง กำหนดระยะเวลาการปลูก การผสมเกษตรการทำลายพันธุ์แปลกปลอม ตลอดจนมาตรฐานความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์และราคาในการรับซื้อด้วย บริษัทฯ มีจะให้สินเชื่อการผลิตแก่เกษตรกรในรูปแบบวัตถุดิบการผลิตและจะหักค่าใช้จ่ายคืน หลังจากเกษตรกรนำผลผลิตมาขาย จากการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพเบื้องต้น พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เห็นว่าการเข้าร่วมการผลิตแบบมีสัญญาผูกพัน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดการจัดระบบแรงงานเป็นกลุ่มๆ ตามที่บริษัทกำหนด แต่เกษตรกรส่วนใหญ่เห็นสุขภาพตนแย่ลง มีอาการผิดปรกติทางร่างกายที่พบบ่อย คือ อาการทางระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ สายตาพร่ามัว เหนื่อยอ่อนเพลีย แขนขาอ่อนแรง จากการศึกษาในอดีตก็พบว่า เกษตรกรกลุ่มนี้มีระดับการทำงานของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสลดต่ำลง จากการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่ามีเกษตรกรบางรายที่เสียชีวิตขณะผสมเกษตรมะเขือเทศ สรุปข้อเสนอแนะเกี่ยวกับขอบเขตการประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่ควรดำเนินการต่อไป จากการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยและประชาชน ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เสนอแนะประเด็นที่ควรมีการประเมนผลกระทบอย่างละเอียดต่อไปคือผลกระทบต่อสุขภาพทางกาย โดยควรศึกษาหรือประเมิน ผลกระทบให้ครอบคลุมทั้งเกษตรกรที่เป็นเจ้าของแปลงปลูกมะเขือเทศเองและเกษตรกรที่เป็นผู้มารับจ้างในแปลง ผลกระทบแบบสะสมและความสัมพันธ์ของการใช้สารเคมีกับการเกิดภาวะกะเทยการเป็นหมัน โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งระบบประสาท การได้รับสารเคมีของสตรีตั้งครรภ์และผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ในกลุ่มประชาชนที่ทำเกษตรแบบนี้และประชาชนในชุมชนผลกระทบต่อสุขภาพทางจิตใจ ควรศึกษาหรือประเมินผลกระทบต่อความเครียดและความสุขในชีวิตทั้งด้านบวกและด้านลบผลกระทบต่อสุขภาพทางสังคม ควรศึกษาหรือประเมินผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของเกษตรกรกับสมาชิกในครอบครัว ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของเกษตรกรกับชุมชน ผลกระทบต่อสุขภาพทางจิตวิญญาณ ควรศึกษาหรือประเมินผลกระทบต่อความโลภ การเข้าใจสัจธรรมของชีวิต การเห็นแก่ส่วนรวม การรู้สึกพอ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ควรศึกษาหรือประเมินผลกระทบต่อรายได้ซึ่งคำนวณต้นทุนทุกอย่างและเปรียบกับทางเลือกอื่นๆ ในการหารายได้ โดยคิดเฉลี่ยตามจำนวนแรงงานทุกคนที่ช่วยกันผลิต ผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้จ่าย ผลกระทบทางสังคม ควรศึกษาหรือประเมินผลกระทบต่อการรวมกลุ่มของเกษตรกร การเรียนรู้ของเกษตรกรเรื่องเทคนิคการเกษตรและการจัดการ อัตราการเกิดอาชญากรรม การติดยาเสพติด การเล่นการพนันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ควรศึกษาหรือประเมินผลกระทบต่อคุณภาพของแหล่งน้ำ สิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ ปลา กบ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น ผึ้ง นก งู โดยทั้งหมดนี้ควรใช้วิธีการประเมินทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพและดำเนินการโดยบุคลากรจากสหสาขาth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent441044 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Impact Assessmenten_US
dc.subjectHealth, Impact Assessmenten_US
dc.subjectHealthy Public Policyen_US
dc.subjectนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพth_TH
dc.subjectสุขภาพ, ผลกระทบth_TH
dc.subjectการประเมินผลกระทบทางสุขภาพth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleรายงานการศึกษาเพื่อกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำการเกษตรแบบมีสัญญาผูกพันth_TH
dc.title.alternativeHealth Impact Assessment of Agriculturalists on Contractual Arrangementen_US
dc.description.abstractalternativeHealth Impact Assessment (HIA) of Contract Farming in Thailand : A Scoping Process Objectives: 1) To define the scope of health impact assessment of contract farming policy. 2) To provide a venue for stakeholders’ participation in the health impact assessment Methods: The assessor used varieties of methods to identify the scopes of the health impact assessment. The processes were consisting of two meetings with stakeholders, in-depth interviews with farmers and seed companies’ personnel as well as government officials, direct observation at the farms and literature reviews. The definition of health used in the study was based on bio-psycho-social model. Results: The Thai government has been promoting Contract Farming practice since the 6th National Economic and Social Development Plan in 1987. Farmers will produce agricultural materials for agricultural industry companies and receive payment for the products if they comply with the standards defined in the contracts. Tomato seeds, chili seeds, tobacco leaves, vegetable seeds, chicken raising are examples of the agricultural products that are commonly defined in the contracts. Contract farming policy brings numbers of potential impacts, particularly on one that uses a lot of pesticides, on the health of farmers and villagers. Potential positive impacts are short-term financial benefits, choices of employment during dry season. Potential negative impacts are on physical health especially impacts on neurological illnesses, illnesses of endocrine systems, illnesses of reproductive systems. It has been shown that stakeholders were concerned about health impact of the contract farming practice in terms of physical health, mental health, social health, spiritual health, social impacts and environmental impacts. Literature reviews found that farmers and farm employees were affected by the heavy use of pesticides. Neurological illnesses were the most common problems. Stakeholders have identified scopes for health impact assessment including impacts on physical health, mental health, social health, spiritual health, social impact, economic impact, environmental impact. The stakeholders also proposed that assessment of impacts on illnesses of endocrine system, reproductive system and cancers were needed. Qualitative and quantitative methods of data collections with stakeholders’ involvement have been identified for the assessment. Conclusion It has been shown that early involvement of stakeholders in the scoping processes of health impact assessment is feasible and beneficial to all involved and it is more likely that the results of health impact assessment will be used.en_US
dc.identifier.callnoWA754 ป531ร 2544en_US
dc.identifier.contactno44ข113en_US
.custom.citationปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์, Pattapong Kessomboon, วิเชียร เกิดสุข, หิรัญ แสวงแก้ว, พัชรินทร์ ฤชุวรารักษ์ and นุศราพร เกษสมบูรณ์. "รายงานการศึกษาเพื่อกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำการเกษตรแบบมีสัญญาผูกพัน." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2046">http://hdl.handle.net/11228/2046</a>.
.custom.total_download201
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0895.pdf
ขนาด: 485.4Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย