dc.contributor.author | สิริพร สมบูรณ์บูรณะ | th_TH |
dc.contributor.author | Siriporn Somboonburana | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:24:17Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:39:46Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:24:17Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:39:46Z | |
dc.date.issued | 2549 | en_US |
dc.identifier.other | hs1287 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2061 | en_US |
dc.description | โครงการสภาวะของปริมณฑลสาธารณะในกรุงเทพมหานคร เป็นโครงการภายใต้ชุดโครงการการศึกษาประชาสังคมและปริมณฑลสาธารณะในสังคมไทย | en_US |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยเรื่อง “สภาวะของปริมณฑลสาธารณะในกรุงเทพมหานคร” เป็นโครงการภายใต้ชุดโครงการศึกษาประชาสังคมและปริมณฑลสาธารณะในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของปริมณฑลสาธารณะในสังคมไทย ศึกษาเงื่อนไขและสภาวะปัจจุบันของปริมณฑลในกรุงเทพ ฯ และศึกษาปฏิสัมพันธ์และกลไกของสังคม ตลาดและรัฐ ต่อการดำรงอยู่ของปริมณฑลสาธารณะ โดยศึกษากรณีศึกษา 4 กลุ่ม คือ ศูนย์พัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร ภาคประชาชน , ศูนย์ส่งเสริมโอกาสผู้หญิง , กลุ่มกรุงเทพเรนโบว์ และ กลุ่มเครือข่ายแมสเซ็นเตอร์ ผลของการศึกษา พบว่า กรณีศึกษาทั้ง 4 กลุ่มมีความแตกต่างในการเปิดพื้นที่สาธารณะและสร้างความชอบธรรมของกลุ่มโดยเฉพาะรูปแบบและลักษณะความสัมพันธ์ที่มีต่อชุมชน รัฐ และตลาดที่แตกต่างกัน ทำให้แต่ละกลุ่มมีเทคนิควิธีการของการสร้างอัตลักษณ์และนำจุดเด่นของแต่อัตลักษณ์มาใช้เป็นภาพตัวแทน ในการนำเสนอและต่อรองกับอำนาจต่าง ๆ ในสังคม โดยเฉพาะ“การแสดงออกอย่างมีเหตุมีผล” ที่แต่ละกลุ่มต้องการสื่อให้เห็นถึงความสำคัญและความชอบธรรมที่กลุ่มของตนควรจะได้รับโอกาสและสิทธิที่เท่าเทียมกันในสังคม อย่างไรก็ตามพบว่า กรณีศึกษาทั้ง 4 มีลักษณะที่เหมือนกันที่บ่งบอกถึงคุณลักษณะของปริมณฑลสาธารณะในสังคมไทยอย่างชัดเจนจากกรณีศึกษา คือ วิถีการสมาคม (Mode of Association) ที่อิงความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ครอบครัว พี่น้อง รุ่นพี่รุ่นน้องและเพื่อนฝูง ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้ทั้งดึงและสร้างส่วนที่เป็นชีวิตส่วนตัวออกมา ทำให้ปริมณฑลสาธารณะเหล่านี้สามารถขับเคลื่อนและสร้างพลังเคลื่อนสู่สาธารณะได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า สภาวะปริมณฑลสาธารณะเกิดขึ้นได้นั้น มิอาจแบ่งแยกระหว่างมิติของความเป็นส่วนตัวและความเป็นสาธารณะออกจากกันได้ เพราะความเป็นส่วนตัวในชีวิตประจำวัน เกี่ยวพันกับความสัมพันธ์แบบเครือญาติ การพูดคุยหรือการถกเถียงปรับทุกข์กัน และอื่นๆ ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา แต่เรื่องราวเหล่านี้มีพลังและมีความหมายต่อการสร้างอำนาจของผู้คนในสังคม และรวมความหมายถึง “การเมืองในชีวิตประจำวัน” ด้วยขณะเดียวกันการเปิดพื้นที่สาธารณะของกลุ่มเหล่านี้ไม่มีกิจกรรมที่มีนัยยะทางการเมืองที่เด่นชัด แต่ปรากฏเบื้องหลังการขับเคลื่อนหรืออำนาจที่แฝงและครอบงำกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ รูปแบบของตลาด รัฐและบริบทของสังคม เพียงแต่รูปแบบและกลวิธี (tatics) ของการสร้างปฏิสัมพันธ์กับอำนาจต่าง ๆ ต้องอาศัยกลวิธีที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อสามารถขยับและสร้างพลังอำนาจในการต่อสู้บนพื้นที่สาธารณะได้ จึงทำให้สิ่งที่มิอาจเลี่ยงได้คือ การเกิดปฏิสัมพันธ์ของขบวนการเคลื่อนไหวแบบใหม่กับอำนาจรัฐ ตลาดและสังคมมีผลต่อการสร้างวัฒนธรรมการเมืองที่ดำรงอยู่ในชีวิตประจำวัน (ปริมณฑลส่วนตัว) ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยน การต่อรอง รวมถึงความขัดแย้ง มีความสำคัญต่อการที่เราจะเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของการเมืองทางวัฒนธรรมกับโครงสร้างทางสังคมในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ ปริมณฑลสาธารณะที่ปรากฏเหล่านี้สืบเนื่องจากขบวนการการเคลื่อนไหวใหม่ทางสังคมของกลุ่มเหล่านี้มีมิติอันหลากหลายซับซ้อนมากขึ้น ที่เรียกว่า “ขบวนการเคลื่อนไหวทางด้านการเมืองวัฒนธรรม” ที่ให้ความสำคัญกับอัตวิสัยใหม่ๆ แต่เน้นที่การสร้างและแสวงหาพื้นที่ทางสังคมใหม่ให้กับกลุ่มของตนเอง โดยการสร้างหรือการต่อรองในเชิงการสร้างภาพตัวแทน (representation) ซึ่งมีชุดของความหมายที่ลื่นไหลมากขึ้น แต่การสร้างภาพตัวแทนนี้ก็ไม่ได้ปลอดจากอำนาจที่ครอบงำเสียทีเดียว การเคลื่อนไหวแบบดังกล่าวก็จะสร้างหลักประกันต่อการเมืองทางวัฒนธรรมของกลุ่มอัตลักษณ์ใหม่ได้นี้ ความจำเป็นต่อการเข้าไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางนโยบายก็ยังคงมีความสำคัญ เพื่อเป็นหลักประกันต่อสิทธิในการดำเนินชีวิตของพวกเขา | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Civil Society | en_US |
dc.subject | ประชาสังคมด้านสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | สภาวะของปริมณฑลสาธารณะในกรุงเทพมหานคร | th_TH |
dc.title.alternative | The condition of public sphere in Bangkok | en_US |
dc.description.abstractalternative | The condition of public sphere in Bangkok is one of research in the project of “Civil society and Public Sphere in Thai Society”. Indeed, the public sphere is an artifact of modernity’s social dynamics. This is why its ‘Structural transformations’ can be studies from a variety of socio-cultural perspective. Moreover, the notion of the public sphere keeps an essential resemblance to the notion of the political pluralisation of the public sphere in spaces of particular cultural life-forms. To study the kinds of public sphere in Thai society, especially about condition of construct the public spheres in Bangkok, there are four case studies in the research. to study the contesting of mechanisms of solving of landless policy by the center of Bangkok’s community development for poor people. to study of the role of NGOs for the emancipation of women public sphere of sex worker by the center for women empowerment.to study the independence of the rise of the public sphere upon the sexual differentiation by Krungthep rainbow group. to study of the roots of democratic politics in the private and public sphere of the middle class by Mass center of direct sale.In these four cases studies, the research find that the condition of constructions of the ‘public sphere’ in Bangkok are not only compatible with, but rather require an understanding of different mode of associations of human existence. By the same token, having a sphere of public sphere in which each case both loses itself and creates itself is depending on a condition of many cultural-historical phenomena. | en_US |
dc.identifier.callno | HM101 ส731ส 2549 | en_US |
dc.identifier.contactno | 46ค031 | en_US |
dc.subject.keyword | Public Sphere | en_US |
dc.subject.keyword | ปริมณฑลสาธารณะ | en_US |
dc.subject.keyword | ปฏิสัมพันธ์ | en_US |
.custom.citation | สิริพร สมบูรณ์บูรณะ and Siriporn Somboonburana. "สภาวะของปริมณฑลสาธารณะในกรุงเทพมหานคร." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2061">http://hdl.handle.net/11228/2061</a>. | |
.custom.total_download | 40 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 0 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |