dc.contributor.author | ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย | en_US |
dc.contributor.author | Supasit Pannarunothai | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:24:19Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:37:16Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:24:19Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:37:16Z | |
dc.date.issued | 2544 | en_US |
dc.identifier.other | hs0800 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2067 | en_US |
dc.description.abstract | ดัชนีเศรษฐมหภาคเพื่อวัดความเป็นธรรมทางการคลังและการใช้บริการสาธารณสุข ระหว่างปี พ.ศ. 2529-2541 เมื่อนโยบายสาธารณสุขวางไว้อย่างชัดเจนว่าต้องการบรรลุความเป็นธรรมทางสุขภาพ ดัชนีวัดความเป็นธรรมก็จะมีความสำคัญในการเฝ้าติดตามเป้าหมายของนโยบาย กระแสความตื่นตัวด้านความเป็นธรรมทางสุขภาพมีอย่างน้อย 3 ทาง ได้แก่ กระแสทางสาธารณสุขศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ในที่นี้ เสนอการใช้ดัชนีทางเศรษฐศาสตร์มหภาค เพื่อเฝ้าติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ ซึ่งมีทั้ง 2 มิติ คือ ความเป็นธรรมของการคลังสุขภาพ และความเป็นธรรมของการใช้บริการ การตีค่าความเป็นธรรมของการคลังคือ การจ่ายตามกำลังความสามารถ ดัชนีคัควานีความก้าวหน้าของแหล่งการคลัง จะสะท้อนว่า วิธีทางการคลังนั้น มีความก้าวหน้าหรือถดถอยต่อรายได้ ถ้าถดถอยต่อรายได้แสดงว่า ไม่ได้เป็นไปตามหลักการจ่ายตามกำลังความสามารถ ส่วนการตีค่าความเป็นธรรมของการใช้บริการคือได้รับบริการตามความจำเป็นทางสุขภาพ ผู้ใดที่เจ็บป่วยมาก ผู้นั้นควรได้รับบริการสุขภาพมากกว่า ดัชนีการกระจายของการเจ็บป่วยและการใช้บริการ จะนำมาวัดความเป็นธรรมของการใช้บริการสุขภาพ ใช้ข้อมูลการสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือนและการสำรวจอนามัยและสวัสดิการครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2529-2541 เป็นหลักในการคำนวณดัชนีดังกล่าว เพื่อให้เห็นแนวโน้มของความเป็นธรรมทั้งด้านการคลังและการรับบริการ การสำรวจอนามัยและสวัสดิการครัวเรือน ไม่มีตัวแปรรายได้ จึงใช้ตัวแปรการศึกษา อาชีพ และภูมิลำเนาของหัวหน้าครัวเรือน ในการสร้างรายได้ให้ตรงกับข้อมูลรายได้ในการสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคม ผลการศึกษาพบว่า ดัชนีคัควานีของการคลังสุขภาพมีลักษณะถดถอยต่อรายได้โดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529-2541 แนวโน้มการถดถอยลดลงจนถึงปี พ.ศ. 2539 และกลับเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2541 การถดถอยเป็นเพราะ ดัชนีจินีของการกระจายรายได้มีความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นในระยะเวลาดังกล่าว นอกจากนี้ โครงสร้างแหล่งการคลังสาธารณะเพื่อการสุขภาพ ทั้งระบบภาษีโดยรวมและระบบประกันสังคม ยังมีลักษณะถดถอยต่อรายได้อยู่ การคลังเอกชนที่มาจากการเก็บเงิน ณ จุดรับบริการ มีลักษณะถดถอยต่อรายได้อย่างแน่นอน ดัชนีการกระจายของการเจ็บป่วย ส่วนใหญ่จะมีลักษณะถดถอยต่อรายได้ คือ คนจนรายงานว่าเจ็บป่วยมากกว่าคนรวย ส่วนดัชนีการกระจายของการรับบริการสุขภาพ (ตั้งแต่การซื้อยากินเอง ไปสถานีอนามัย คลินิก โรงพยาบาลรัฐและเอกชน) เมื่อเปรียบเทียบกับการเจ็บป่วยแล้ว พบว่า มีลักษณะก้าวหน้าต่อรายได้ คือ คนรวยมีโอกาสใช้บริการสุขภาพมากกว่าคนจน เมื่อเทียบกับการเจ็บป่วยหรือความจำเป็นทางสุขภาพที่เท่ากัน การปรับค่ามาตรฐานเพื่อลดความแตกต่างของตัวแปรโครงสร้างอายุและเพศ ทำให้ลักษณะความไม่เป็นธรรมลดลงเล็กน้อย ข้อเสนอแนะ ควรวางเป้าหมายในการปรับความเป็นธรรมทางสุขภาพให้ชัดเจน ข้อสรุปที่ชัดเจนจากการวิจัยนี้คือ ความไม่เป็นธรรมของการคลังสุขภาพ ควรจะลดลงด้วยการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมมากขึ้น ระบบภาษีและเบี้ยประกันสังคมที่ก้าวหน้า ลดสัดส่วนของการจ่ายเงิน ณ จุดรับบริการ ส่วนความเป็นธรรมของการรับบริการให้ปรับระบบข้อมูลให้มีความตรงมากยิ่งขึ้น | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 968336 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Economic | en_US |
dc.subject | Health care financing | en_US |
dc.subject | Delivery of health care | en_US |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | ดัชนีเศรษฐศาสตร์มหภาคเพื่อวัดความเป็นธรรมทางการคลังและการใช้บริการสาธารณสุขระหว่างปี 2529-2541 | en_US |
dc.title.alternative | Macro-economic indices for measuring equity in health finance and delivery 1986-1998 | en_US |
dc.description.abstractalternative | Macro-economic indices for measuring equity in health finance and delivery 1986-1998 Explicit policy on health equity will create demand to measure and monitor the achievements of health equity in the country. At least three disciplines express concerns on health equity: public health, economics and social science. This study employed the macro-economic indices to measure equity in health finance and health delivery. The interpretation of equity in health finance was based on the principle of ability to pay. Kakwani index of progressivity was used to reflect the ability to pay of each source of health finance. Equity in health delivery was interpreted that health care be allocated according to health need. Those who were sicker should seek more care than the healthier. The concentration index was used to measure equity of health delivery. The National Statistical Office’s socioeconomic and health and welfare surveys during 1986 to 1998 were used to demonstrate the equity trends in Thailand. Since the health and welfare surveys contained no data on household income, the indirect method was used to map the income of the household in the socioeconomic surveys to household in the health and welfare surveys by education and occupation of household heads. Kakwani indices proved that health finance system was regressive to income, the trend established less regressivity from 1986 to 1996. The causes of inequity were explained by an increase trend of income disparity (by the Gini coefficient) and the regressivity of Kakwani indices for both public and private sources of finance. Concentration indices for health problems were also regressive to income, i.e. the poor were more ill than the rich. When compare illness with delivery (seek care from drug store, health centre, clinic, public and private hospitals), the concentration indices showed progressivity patterns, i.e. the rich were more likely to use health care, controlling for same health need. Further standardisation removing the effects of age and sex, the inequity patterns slightly reduced. This research suggested that the health equity policy goal in Thailand should be more explicit. Especially, the goal of equity in health finance should be set by reducing income distribution disparity, the progressivity of the whole tax system and contribution from the social security scheme, with less emphasis on the user fee at the point of delivery. Information system should be improved to help monitor equity in health delivery. | en_US |
dc.identifier.callno | W74 ศ735ด 2544 | en_US |
dc.subject.keyword | Equity | en_US |
dc.subject.keyword | Macro-economic | en_US |
dc.subject.keyword | เศรษฐศาสตร์มหภาค | en_US |
dc.subject.keyword | ความเป็นธรรม | en_US |
dc.subject.keyword | บริการสาธารณสุข | en_US |
dc.subject.keyword | บริการสุขภาพ | en_US |
.custom.citation | ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย and Supasit Pannarunothai. "ดัชนีเศรษฐศาสตร์มหภาคเพื่อวัดความเป็นธรรมทางการคลังและการใช้บริการสาธารณสุขระหว่างปี 2529-2541." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2067">http://hdl.handle.net/11228/2067</a>. | |
.custom.total_download | 203 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 6 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |