แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

กลไกสุขภาพภาคประชาชนกับกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ : กรณีศึกษากลไกสุขภาพภาคกลาง 2546

dc.contributor.authorสุวจี กู๊ดth_TH
dc.contributor.authorSuvajee Gooden_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:25Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:41:18Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:25Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:41:18Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1191en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2077en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก : โครงการศึกษากลไกสุขภาพภาคประชาชนกับกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพth_TH
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยการศึกษากลไกสุขภาพภาคประชาชน กับกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเวทีสมัชชาสุขภาพในพื้นที่ระดับจังหวัดและระดับภาค เป็นอันดับหนึ่งที่ทําให้เห็นภาพกระบวนการที่น่าจะเป็นการก่อกําเนิด ถึงกลไกภาคประชาชนที่รวมตัวกันเพื่อการปฏิรูประบบสุขภาพ เป็นการศึกษาที่ทําให้เห็นปัจจัยบางประการในกระบวนการสมัชชา ที่สร้างให้เกิดภาคีเครือข่ายภาคประชาชน องค์ประกอบที่สองของการศึกษานี้คือศึกษาต่อเนื่องลงไปในพื้นที่ หลังจากมีการดําเนินการในเวทีสมัชชาผ่านไป กว่า 3-4 เดือน เพื่อติดตาม การดําเนินงานของเครือข่าย ที่เคยเข้าร่วมเวทีสมัชชาว่ามีการดําเนินการต่อไปอย่างไร และประชาชนในท้องถิ่นดังกล่าว มีการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิรูปนี้อย่างไร ในการติดตามเครือข่ายในภาคกลางนั้น ได้มีการสุ่มตัวอย่างศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี และเครือข่ายในลุ่มน้ำแม่กลอง นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังพยายามเข้าใจถึงการรวมตัว/ก่อกําเนิดของกลไกภาคประชาชนในภาคกลาง เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงกับการทํางานของกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ และในองค์ประกอบที่สามของการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ การศึกษาการรับรู้และการก่อตัวของกลไกภาคประชาชนในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งเป็นทั้งศูนย์กลางข่าวสาร และศูนย์รวมของสมัชชา สุขภาพแห่งชาติ จากการศึกษาพบว่า กลไกสุขภาพภาคประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูปผ่านกลไกของสมัชชาทั้งระดับพื้นที่และระดับชาตินั้น เป็นภาคีเครือข่ายประชาชนที่ทํางานในเรื่องต่างๆ ที่หลากหลายและในประเด็นที่ท้องถิ่นนั้นมีปัญหามาก่อนหน้า การปฏิรูประบบสุขภาพ กระบวนการปฏิรูปนี้ใช้กลไกภาคประชาชนที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสม แต่เป็นที่น่าสนใจว่ากระบวนการดังกล่าว หล่อหลอมให้กลไกเหล่านี้ได้รวมเป็นหนึ่งเดียวกับการปฏิรูปสุขภาพอย่างไร และสําเร็จเพียงใด ซึ่งจากการศึกษาพบว่า กระบวนการดังกล่าวประสบผลในระดับหนึ่งกับแกนนํา แต่ยังคงต้องทํางานต่อเนื่องให้เกิดการหล่อหลอมอย่างแท้จริง การรับรู้ต่อกระบวนการปฏิรูป การเรียนรู้ร่วมกันของกลไกต่างๆ นี้ยังคงต้องผลักดันให้ประสบผลสําเร็จต่อไป ความเข้าใจในกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพสําหรับประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมากหรือไม่มีการรับรู้ในเรื่องนี้แต่อย่างใด ส่วนใหญ่จะเห็นว่าการดําเนินการในภาครัฐ คือการปฏิรูปผ่านระบบราชการ การปฏิรูปการบริการสาธารณสุขด้วยกลไกของหลักประกันสุขภาพ รวมไปถึงการปฏิรูปโดยผ่านการณรงค์ การออกกําลังกาย และอาหารปลอดภัย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน เป็นที่รับรู้ได้ของภาคประชาชน แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเคลื่อนไหวเพื่อให้มีพระราชบัญญัติสุขภาพนั้น ไม่เป็นที่เข้าใจหรือรับรู้ในหมู่ประชาชนในเมืองเท่าที่ควร ทั้งที่เป็นกลุ่มที่อยู่ในศูนย์กลางของการรวมตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงผ่านกลไกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ รายงานนี้ได้เสนอให้เห็นปัจจัยในกระบวนการทํางานที่คณะทํางานเพื่อการขับเคลื่อนภาคประชาชน อาจจะนําไปเป็นประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1946212 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Systems Reformen_US
dc.subjectHealth Care Reformen_US
dc.subjectการปฏิรูประบบสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleกลไกสุขภาพภาคประชาชนกับกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ : กรณีศึกษากลไกสุขภาพภาคกลาง 2546th_TH
dc.title.alternativeProject: popular mechanism for health system reform : Case study of mechanism in central Thailand, 2003en_US
dc.description.abstractalternativeHealth system reform process in Thailand is a continual process which one goal is to achieve National Health Act which has been drafted through participatory process since 2001 and submitted to the parliament sine the end of 2002. The reform is also aimed at create public awareness of health through shifting the paradigm on health to encompassed all four dimensions of health, such as physical, mental, social, and spiritual wellbeing. Thus popular process and mechanism to create such awareness need a mass movement of change. Social exchange and learning process are key component to reform health concepts and practices by expecting togetherness and collaboration from people in different sectors. Health assembly is one of a mechanism to create such participation from all sectors. As a result, people would be able to build their network and expand what they learn from assembly to their neighbor and friend. Finally they would be able to create their own civic organization or gathering to generate health practice for healthy society. From this study it is found that the health assembly at area based level achieved limited result in bringing people together based on their local concerns/issues. Numbers of network that join in the process are the existing network prior to the reform process. Health reform process could do limited to link their existing problem to the health issues, thus awareness of health reform and shifting of health paradigm are also limited. There are numbers of issues that need to further improve the process to really create popular mechanism for people to begin to understand the reform, particularly toward more preventive health behavior and preventive social environment. People in the urban areas like Bangkok metropolitan are the least aware of the health reform and movement for national health assembly. They are only aware of government projects such as universal health coverage, bureaucracy reform, exercise campaign and food safety campaign. People do not have strong mechanism to change their thinking of health toward more multi-dimension concept. Health remains a matter of physical well being only. Thus there is real need to continue the movement to generate the idealistic reformation as planted in the draft of National Health Act.en_US
dc.identifier.callnoWA525 ส868ก 2547en_US
dc.identifier.contactno45ค068en_US
dc.subject.keywordHealth System Reform Processen_US
dc.subject.keywordกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพen_US
dc.subject.keywordการมีส่วนร่วมen_US
dc.subject.keywordสมัชชาสุขภาพen_US
.custom.citationสุวจี กู๊ด and Suvajee Good. "กลไกสุขภาพภาคประชาชนกับกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ : กรณีศึกษากลไกสุขภาพภาคกลาง 2546." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2077">http://hdl.handle.net/11228/2077</a>.
.custom.total_download51
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1191.pdf
ขนาด: 1.340Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย