Show simple item record

Evaluation of HSRI users'satisfaction

dc.contributor.authorถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์en_US
dc.contributor.authorThiranan Anawatsiriwongen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:25Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:41:11Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:25Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:41:11Z
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.otherhs1362-2en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2078en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจ สภาพปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานวิจัยของ สวรส. รวมถึงความคิดเห็นต่อยุทธศาสตร์การสร้างงานวิจัยของ สวรส. โดยแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานวิจัยออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มเครือข่าย และกลุ่มบุคคลทั่วไป การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกใช้แบบสอบถามโดยจัดส่งทางไปรษณีย์ในกลุ่มต่างๆ และส่วนที่สองใช้การสัมภาษณ์สำหรับกลุ่มผู้บริหาร กลุ่มบุคคลทั่วไป สุ่มตัวอย่างจากสมาชิกห้องสมุดสวรส.ในปี 2549-กลางปี 2550 ประมาณร้อยละ 25 ของประชากร 5,401 ราย มีผู้ตอบแบบสอบถาม 730 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.8 ของแบบสอบถามที่จัดส่ง กลุ่มนักวิชาการ สุ่มตัวอย่างจากผู้ที่เคยร่วมงานกับ สวรส.ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 75 ของประชากร 500 ราย มีผู้ตอบแบบสอบถาม 110 ราย คิดเป็นร้อยละ 31.4 ของแบบสอบถามที่จัดส่ง กลุ่มเครือข่ายคือคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ขององค์กรที่เป็นเครือข่าย รวม 120 ราย ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 58 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.3 ของประชากร ส่วนกลุ่มผู้บริหาร คือ คณะกรรมการและที่ปรึกษา สวรส. และผู้บริหารระดับสูงในองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวม 22 ท่านผลการสำรวจ พบว่า1. กลุ่มบุคคลทั่วไป กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มเครือข่าย มีวัตถุประสงค์การใช้ผลการวิจัยของ สวรส. เพื่อการวิจัยเป็นลำดับสูงสุด ส่วนกลุ่มผู้บริหารใช้ประโยชน์จากงานของ สวรส. ส่วนใหญ่เป็นการรับรู้อย่างกว้างๆ ขยายวิสัยทัศน์ และนำมาประกอบการตัดสินใจเชิงบริหารและนโยบาย 2. ความพึงพอใจต่อการใช้งานวิจัยของ สวรส. กลุ่มบุคคลทั่วไปประเมินทั้งด้านเนื้อหา ด้านคุณภาพของงานวิจัย และด้านช่องทางการสื่อสาร ในระดับพึงพอใจมากทุกประเด็น กลุ่มนักวิชาการประเมินด้านคุณภาพของงานวิจัยและด้านช่องทางการสื่อสารในระดับพึงพอใจมาก ส่วนด้านเนื้อหาส่วนใหญ่มีระดับพึงพอใจมาก มีบางประเด็นที่มีระดับพึงพอใจปานกลาง กลุ่มเครือข่ายประเมินด้านคุณภาพของงานวิจัยในระดับพึงพอใจมาก ด้านช่องทางการสื่อสารส่วนใหญ่พึงพอใจมาก มีประเด็นเดียวที่มีระดับพึงพอใจปานกลาง ส่วนด้านเนื้อหา ส่วนใหญ่มีระดับพึงพอใจปานกลาง มีเพียงบางประเด็นที่มีระดับพึงพอใจมาก ทั้งสามกลุ่มประเมินให้งานวิชาการของ สวรส.ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ส่วนกลุ่มผู้บริหาร ส่วนใหญ่พึงพอใจต่องานวิชาการของ สวรส. ในระดับพึงพอใจมาก โดยเห็นว่าการประเมินต้องพิจารณาเป็นช่วงเวลาด้วย และต้องพิจารณาในหลายแง่มุมประกอบกัน3. การใช้ผลงานวิจัยของ สวรส.ผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ พบว่า นอกเหนือจากห้องสมุด สวรส.แล้ว กลุ่มบุคคลทั่วไป กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มเครือข่าย เคยใช้มากที่สุดคือ วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข และช่องทางที่ทั้ง 3 กลุ่มใช้น้อยที่สุด คือ สื่อวิทยุกระจายเสียง4. ประเด็นงานวิจัยที่ต้องการให้ สวรส.สร้างงานวิจัยเพิ่มเติม กลุ่มบุคคลทั่วไปต้องการ เป็นลำดับสูงสุด คือ งานวิจัยที่สนับสนุนการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและโรคไม่ติดต่อต่างๆ เป็นลำดับสูงสุด กลุ่มนักวิชาการและกลุ่มเครือข่ายต้องการเป็นลำดับสูงสุด คือ การประเมินนโยบายด้านสุขภาพของรัฐบาล ส่วนกลุ่มผู้บริหาร ส่วนใหญ่เห็นว่า สวรส.ควรศึกษาภาพรวมของระบบสุขภาพทั้งระบบ เพราะทุกประเด็นมีความเชื่อมโยงกัน ส่วนการประเมินนโยบายด้านสุขภาพของรัฐบาลเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการเป็นปกติ 5. ข้อมูลที่ต้องการให้มีในคลังข้อมูลมากที่สุด กลุ่มบุคคลทั่วไป กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มเครือข่าย ระบุตรงกันคือ งานวิจัยระบบสุขภาพ สำหรับการปรับปรุงเว็บไซต์ กลุ่มบุคคลทั่วไปต้องการให้มีคอลัมน์วิเคราะห์งานวิจัยเป็นลำดับสูงสุด กลุ่มนักวิชาการและกลุ่มเครือข่ายต้องการให้มีคอลัมน์การวิเคราะห์นโยบายสุขภาพเป็นลำดับสูงสุด ส่วนกลุ่มผู้บริหารมีความเห็นว่า หากจะเพิ่ม ควรเป็นการสังเคราะห์งานวิจัย และวิเคราะห์นโยบายสุขภาพ6. สวรส.กับการจัดการความรู้เพื่อสาธารณประโยชน์ และคุณค่าของงานวิชาการของ สวรส. กลุ่มบุคคลทั่วไป กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มเครือข่าย มีความเห็นว่า สวรส.สามารถจัดการความรู้เพื่อสาธารณประโยชน์ได้ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นว่า สวรส.เป็นองค์กรที่มี “จุดแข็ง” ในการผลักดันให้เกิดความรู้เชิงระบบทางด้านสาธารณสุข และมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายสุขภาพระดับชาติได้ 7. ปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงงานของ สวรส. กลุ่มบุคคลทั่วไป กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มเครือข่าย ส่วนหนึ่งเห็นว่า สวรส.มีงานวิจัยใหม่ๆ ค่อนข้างน้อย ควรเพิ่มให้หลากหลายขึ้น ปรับให้ทันการณ์เสมอ และประชาสัมพันธ์ขยายกลุ่มผู้ใช้ให้กว้างขึ้น ส่วนกลุ่มผู้บริหารให้ข้อเสนอแนะว่า สวรส.ควรสังเคราะห์ภาพรวมของระบบให้ชัดเจนและฉายภาพดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนเห็นร่วมกัน เสริมประสิทธิภาพในการจัดการความรู้ และต้องสื่อสารกับภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย โดยได้รับการยอมรับจากภาคส่วนต่างๆ ในสังคมen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Administrationen_US
dc.subjectHealth Services Researchen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectวิจัย--การประเมินen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิจัยประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.title.alternativeEvaluation of HSRI users'satisfactionen_US
dc.identifier.callnoWA20.5 ถ412บ 2550en_US
dc.identifier.contactno50ค007-2en_US
dc.subject.keywordEvaluation of HSRIen_US
dc.subject.keywordงานวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subject.keywordประเมินความพึงพอใจen_US
.custom.citationถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ and Thiranan Anawatsiriwong. "การวิจัยประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2078">http://hdl.handle.net/11228/2078</a>.
.custom.total_download90
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs1362-2.pdf
Size: 2.801Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record