• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

พฤติกรรมและการตอบสนองของแพทย์ต่อระบบผลตอบแทนและมาตรการจูงใจที่มีความหมายต่อการสร้างเสริมสุขภาพภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล; Tipaporn Photawin; วิจิตร ระวิวงศ์; ระพีพรรณ คำหอม; ประภาศรี คุปต์กานต์; มาลี สันภูวรรณ์; Wichin Rawiwong; Rapeepan Khamhom; Phrapapan Khupakarn; Malee Sanpuwan;
วันที่: 2546
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ความเข้าใจและการให้บริการของแพทย์ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 2) กระบวนการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน 3) มาตรการจูงใจและกลไกการจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ แก่แพทย์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ 4) สภาพเงื่อนไขการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพของแพทย์และ 5) แนวทางการพัฒนาระบบผลตอบแทนและมาตรการจูงใจเพื่อพฤติกรรมการตอบสนองของแพทย์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพ คณะผู้วิจัยเลือกโรงพยาบาล 4 ประเภท คือ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลเอกชน รวม 15 แห่ง เป็นกลุ่มตัวอย่างและตัวแทนของโรงพยาบาลในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้และภาคกลาง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงพยาบาล 26 คน แพทย์ผู้ให้บริการ 41 คน จัดกลุ่มสนทนาผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ 106 คน และแจกแบบสอบถามให้ผู้บริการตอบ 300 ชุด ผลการวิจัยพบว่า แพทย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพว่าเป็นการป้องกันโรค การมีสุขภาพดีใน 4 มิติ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ การสร้างเสริมสุขภาพจะช่วยลดภาระในการรักษาและเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า การสร้างเสริมสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน แต่ก็มีแพทย์เพียงไม่กี่คนที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างครอบคลุมตามที่กล่าวมา และแพทย์ส่วนใหญ่ เห็นว่านโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มุ่งเน้นให้มีการสร้างเสริมสุขภาพควบคู่ไปกับการรักษาเป็นสิ่งที่ดี แต่นโยบายดังกล่าวยังไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่ได้ผล พฤติกรรมของแพทย์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพในปัจจุบันยังทำได้น้อย แพทย์ที่ปฏิบัติงานด้านนี้ส่วนใหญ่จะเป็นแพทย์ที่ผ่านการอบรมด้านเวชปฏิบัติครอบครัว หรือแพทย์ที่มีความสนใจปฏิบัติงานด้วยความสมัครใจ สนใจและตระหนักว่าการสร้างเสริมสุขภาพจะช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ไม่ต้องมารับการรักษาที่โรงพยาบาล ทำให้โรงพยาบาลและแพทย์ไม่ต้องรับภาระและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายด้านการรักษา แพทย์ปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพควบคู่ไปกับภาระงานหลักด้านการรักษา การปฏิบัติงานของแพทย์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพสามารถแบ่งได้เป็น 4 บทบาทหลัก คือ 1) บทบาทการเป็นผู้สร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนรายบุคคล 2) บทบาทการเป็นผู้ให้ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนเป็นรายกลุ่ม 3) บทบาทการเป็นผู้กำหนดนโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และ 4) บทบาทในการเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชน แพทย์ส่วนใหญ่มีอิสระในการนำเสนอความคิดเห็นและเข้าร่วมกิจกรรมโครงการสร้างเสริมสุขภาพของโรงพยาบาล แต่แพทย์มีภาระงานมากไม่มีเวลาพอ กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพของแพทย์ทั่วไปและแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลทั้ง 4 ประเภทที่ทำการศึกษามีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปมี กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพน้อยกว่าโรงพยาบาลชุมชน แต่ยังมากกว่าโรงพยาบาลเอกชน ส่วนใหญ่จะเน้นกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยขณะเจ็บป่วยมากกว่าก่อนเจ็บป่วยหรือหลังเจ็บป่วย และยังไม่สามารถดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม ยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพทางร่างกายมากกว่าจิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ แม้จะพยายามให้ญาติผู้ป่วยและครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมแต่ก็ยังขาดการติดตามผลการปฏิบัติของผู้ป่วยและญาติ เงื่อนไขที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของแพทย์เกิดจากความไม่ชัดเจนของนโยบายของรัฐ การจัดสรรงบประมาณไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน จำนวนผู้ป่วยมีมาก ภาระงานของแพทย์ ผลของการปฏิบัติงานวัดยากและเห็นผลช้า การปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพเป็นความชำนาญเฉพาะด้านที่แพทย์ไม่ถนัด โอกาสความก้าวหน้าน้อย การยอมรับของแพทย์ที่ปฏิบัติงานด้านนี้น้อย ผลตอบแทนและมาตรการจูงใจสำหรับแพทย์และบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพขณะนี้ไม่มีอย่างเป็นรูปธรรม สิ่งที่ทำให้แพทย์บางท่านสนใจปฏิบัติงานขณะนี้เกิดจากตัวแพทย์เอง จากผู้นำทีมงานและขวัญกำลังใจจากผู้ป่วยเป็นหลัก ข้อคิดเห็นของแพทย์ต่อปัจจัยที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานด้านสร้างเสริมสุขภาพคือ ผลตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับแพทย์ การยอมรับในเกียรติ ศักดิ์ศรีของแพทย์ โอกาสความก้าวหน้าในสายวิชาชีพ การมีแพทย์เพียงพอกับปริมาณงาน ระบบการศึกษาของโรงเรียนแพทย์ที่สอดคล้องกับนโยบาย การเพิ่มพูนความรู้แก่แพทย์ การสนับสนุนของผู้บริหาร ความชัดเจนของนโยบาย เป็นต้น ข้อเสนอจากกการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับ พรบ. ประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยเฉพาะควรเน้นตั้งแต่สถาบันการศึกษาที่ควรจัดหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนแพทย์ให้มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพมากขึ้น ควรบูรณาการองค์ควมรู้การสร้างเสริมสุขภาพให้สอดคล้องและเหมาะสมกับงานสร้างเสริมสุขภาพ ควรเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลโดยพิจารณาถึงนโยบาย แผน กิจกรรม โครงสร้าง ทรัพยากรและการประชาสัมพันธ์ ควรสร้างวัฒนธรรมและระบบคิดสำหรับแพทย์ ในฐานะผู้สนับสนุนหลักในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ควรสร้างมาตรการจูงใจและกลไกการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับภาระงานและบทบาทของแพทย์ ตลอดจนการสร้างกลไกในการพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ
The objectives of this research are to study: 1) the knowledge, understanding, and health promotion practice of medical doctors; 2) the health promotion delivery process of public and private hospitals; 3) existing compensation and incentive measures provided medical doctors to enhance positive health promotion behavior; 4) condition for health promotion practice of medical doctors; and 5) guidelines for the development of effective compensation and incentive mechanism enhancing participation of medical doctors in health promotion. Samples in this study are 15 central, general, community and private hospitals representing the Northern, Northeastern, Southern and Central Regions. Interviews are conducted with 26 hospital administrators and 41 medical doctors, while group discussions are organized for 106 medical personnel and 300 copies of questionnaire are administered to 300 patients. The study finds that medical doctors have fair knowledge and understanding on health promotion. For instance, they understand that health promotion is a preventive measure, “good health” covers 4 dimensions namely physical, mental, social and spiritual, health promotion is worth as an investment and is very one’s responsibility. Most medical doctors view that the Health for All Policy which emphasizes health promotion service in congruent with treatment is a good policy but has not yet been materialized. Health promotion behavior of medical doctors at the time of the study is not much evident. Those who adopt the practice are found to be the ones who have been trained in family medicine or specialized doctors who are personally interested and voluntarily carry out the task, believing that health promotion makes people healthy and do not need to come to the hospital for treatment which helps saving the expenses. Health promotion roles of medical doctors are found to include: 1) giving health promotion service to individual patients; 2) giving health promotion information to groups of patients; 3) formulating health promotion policy; and 4) acting as good examples in health promotion for the people. Health promotion process as practiced by general and specialized medical doctors in different categories of hospital relatively differs. Most central and general hospitals tend to introduce health promotion service in a lesser degree than community hospitals, but more than private hospitals. Generally health promotion process takes place during the treatment rather than before of after the treatment and has not been operated holistically, as physical health is more emphasized than mental, social or spiritual health. Conditions hindering medical doctor’s health promotion behavior are the lack of clarity and integrity of the policy, budget allocation which does not facilitate the process, outnumbered patients, heavy workload, long-time measurement of success, lack of spicalization, less chance for progress and social acceptance. Compensation and incentive measures for medical doctors and other medical personnel are not visibly existed. Doctors who give health promotion service are mainly inspired by their in-born attitude, by the leaders, teamwork and spiritual support from the patients. Contributing factors as seen by the doctors are for instance appropriate and fair compensation, recognition of their dignity, opportunity for professional progress, balance between number of doctors and the workload, corresponding educational system offered in schools of medicine, upgrading of doctors’ skills and support from the administrators Recommendation of the study are that health promotion service should be successively continue in accordance with The National Health Insurance Act, B.E. 2545. Schools of medicine’s curricula should have more contents on health promotion and appropriately integrate its body of knowledge therein. The hospitals should be prepared for health promotion service which includes the policy consideration, plans, activities, structure, resources and public relations. Concept that doctors are the main engineers of health promotion system should be cultivated and consequently incentive measures and appropriate compensation should be established for them along with other health promotion development mechanism.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1072.pdf
ขนาด: 2.492Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 3
ปีพุทธศักราชนี้: 2
รวมทั้งหมด: 71
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อจัดทำข้อเสนอ การปฎิรูประบบบริการสุขภาพ และการสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย 

    วรรณภา ศรีธัญรัตน์; Wannapa Srithanyarat; ผ่องพรรณ อรุณแสง; อัมพร เจริญชัย; สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ; กัลยา พัฒนศรี (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2545)
    เอกสารนี้นำเสนอผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ เพื่อจัดทำข้อเสนอการปฏิรูประบบบริการสุขภาพและการสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย ในกระบวนการสังเคราะห์ได้มีการศึกษาวิเคราะห์การดำเนินงานด้านระบบบริการสุขภาพและหลักประกันส ...
  • การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ต่อกลุ่มทอผ้าพื้นบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

    เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร; Ketsarawan Nlilwarangkul; จรัญญา วงษ์พรหม; ชลิดา ธนัฐธีรกุล; สุมน ปิ่นเจริญ; Charunnya Wongphom; Chalida Tanutteerakul; Sumon Pincharoen (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2547)
    นโยบายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นนโยบายที่ถูกกำหนดเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของประชาชนในท้องถิ่น การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาขอบเขตของนโยบายและการกระตุ้นการพัฒนาของนโยบายต่อกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ...
  • เคล็ดไม่ลับ R2R : บริบทโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป/ชุมชน 

    วิจารณ์ พานิช; พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข; จรวยพร ศรีศศลักษณ์; สรชัย จำเนียรดำรงการ; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (แผนงานพัฒนาเครือข่ายวิจัยในรูปแบบงานวิจัยจากงานประจำสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2552-07)
    ภายในเวลา 5 ปี ที่ R2R งอกงามขึ้นที่ศิริราช บัดนี้ R2R ได้แพร่ขยายออกไปทั่วประเทศไทย ในหน่วยงานด้านสุขภาพ ภายใต้การจัดการของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่หลากหลาย กระบวนการขับเคลื่อนไปสู่วงการสา ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV