แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินผลโครงการพัฒนาระบบบริการตติยภูมิชั้นสูง (Excellence Center) ด้านโรคหัวใจภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

dc.contributor.authorเพ็ญแข ลาภยิ่งen_US
dc.contributor.authorPhenkhae Lapyingen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:29Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:20:58Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:29Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:20:58Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.otherhs1385en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2085en_US
dc.description.abstractสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กันงบประมาณในส่วนงบลงทุนมาใช้จัดบริการภายใต้โครงการพัฒนาบริการตติยภูมิศูนย์โรคหัวใจ ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 และบริหารในรูปคณะกรรมการ เพื่อพัฒนาศูนย์บริการตติยภูมิทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง และมีเครือข่ายบริการทั้งภาครัฐและเอกชนเอื้อต่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีวัตถุประสงค์รองเพื่อพัฒนาระบบบริการให้มีมาตรฐาน เพื่อพัฒนาศักยภาพแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สอคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ และเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชนในทุกภูมิภาค ประเด็นของการประเมินได้แก่ นโยบายและการบริหารนโยบาย ศักยภาพและผลิตภาพในการจัดบริการรักษาโรคหัวใจ การกระจายบริการและระบบการส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ ระบบการจ่ายค่าตอบแทนแพทย์ และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (ด้วยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก) และเชิงปริมาณ (ด้วยการส่งแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นเฉพาะให้ผู้เกี่ยวข้องในศูนย์หัวใจทุกแห่ง และวิเคราะห์จากข้อมูลบริการจากสำนักบริหารการชดเชยค่าบริการสุขภาพ สปสช.) ข้อค้นพบที่สำคัญสรุปได้ดังต่อไปนี้โครงการเริ่มต้นด้วยเงินส่วนหนึ่งจากงบลงทุนของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยกำหนดวงเงินให้โครงการนี้เป็นรายปี ทำให้ไม่สามารถพัฒนาศักยภาพศูนย์บริการตติยภูมิตามแผนแม่บทที่วางไว้ได้อย่างแท้จริง แต่เป็นการพัฒนาตามวงเงินที่ได้รับในแต่ละปีซึ่งในบางปีก็ล่าช้า อย่างไรก็ตาม ประเด็นงบประมาณไม่มีผลกระทบนักต่อศูนย์ฯ ที่มีศักยภาพด้านการเงินหรือได้รับความช่วยเหลือจากภายนอก ประเด็นปัญหาหลักกลับเป็นเรื่อง ความไม่พอของบุคคลากรทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องพึ่งการจัดการและสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก นอกจากนี้การไม่ได้มุ่งเน้นพัฒนาเครือข่ายควบคู่กันไปแต่แรกประกอบกับเป็นระยะแรกของโครงการ ที่ศูนย์ฯ ในภูมิภาคยังอยู่ในระยะพัฒนา ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาการเข้าถึงบริการขั้นสุดท้ายได้อย่างเบ็ดเสร็จและมีประสิทธิภาพ เมื่อศูนย์ฯ ในภูมิภาคไม่สามารถให้บริการได้และต้องส่งต่อผู้ป่วยมารับบริการที่ศูนย์ฯ ระดับ 1 ซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น โครงการฯ สามารถเพิ่มความเป็นธรรมในการบริการในกลุ่มสิทธิบัตรทอง (แต่ศูนย์ฯ ในเขต กทม. และสระบุรีมีแนวโน้มให้การรักษากลุ่มสิทธิข้าราชการเพิ่มขึ้น) เพิ่มการเข้าถึงบริการโดยสถานพยาบาลเพิ่มบริการทำให้คิวลดลงทั้งการตรวจและการผ่าตัด (โดยผู้ป่วยในจังหวัดที่ตั้งศูนย์หัวใจเข้าถึงบริการได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้อยู่ในจังหวัดนั้น) และลดการป่วยตาย (อัตราการผ่าตัดหัวใจและเสียชีวิตลดเหลือร้อยละ 4.6 ในปี 2550) ผลต่อสถานพยาบาลในด้านบวกคือ เป็นโอกาสพัฒนาของสถานพยาบาลเช่น บุคลากรได้รับการพัฒนาตามระดับศักยภาพของศูนย์หัวใจและการมีค่าตอบแทนเป็นแรงจูงใจให้มีกำลังใจทำงาน ได้รับการสนับสนุนด้านครุภัณฑ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแรกเข้าเป็นศูนย์หัวใจ มีการพัฒนาคุณภาพการรักษาจากระบบประกันคุณภาพผนวกกับเกณฑ์ด้านคุณภาพของ สปสช. มีการพัฒนาเครือข่ายบริการและระบบส่งต่อซึ่งขึ้นกับการดำเนินงานของศูนย์แม่ข่ายในภูมิภาค มีการพัฒนาระบบข้อมูล สถานพยาบาลมีรายได้จากค่าบริการที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาตาโครงการฯ สร้างชื่อเสียงให้สถานพยาบาล และได้เรียนรู้จากการทำงาน เกิดการพัฒนาตนเองทั้งระบบงาน การบริหาร และการวิเคราะห์ภาพรวม สำหรับผลด้านลบคือ มีภาระค่าใช้จ่ายจากการปรับอาคารสถานที่หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้รับสนับสนุน มีภาระงานงานสนับสนุนเพิ่มขึ้นทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับคนไข้โรคหัวใจโดยตรง เพิ่มขึ้น และการที่มีบุคลากรเพียงบางส่วนได้ค่าตอบแทนทำให้มีปัญหาบ้างในการบริหารบุคคล แต่ผู้บริหารสถานพยาบาลมีการจัดการและคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นได้en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Service Systemsen_US
dc.subjectHealth Servicesen_US
dc.subjectHeart Diseasesen_US
dc.subjectCardiologyen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectอนามัย, การบริการen_US
dc.subjectโรคหัวใจen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินผลโครงการพัฒนาระบบบริการตติยภูมิชั้นสูง (Excellence Center) ด้านโรคหัวใจภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.identifier.callnoW84 พ884ช 2551en_US
dc.identifier.contactno50-010en_US
dc.subject.keywordExcellence Centeren_US
dc.subject.keywordระบบบริการตติยภูมิชั้นสูงen_US
.custom.citationเพ็ญแข ลาภยิ่ง and Phenkhae Lapying. "การประเมินผลโครงการพัฒนาระบบบริการตติยภูมิชั้นสูง (Excellence Center) ด้านโรคหัวใจภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2085">http://hdl.handle.net/11228/2085</a>.
.custom.total_download108
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1385.pdf
ขนาด: 1.028Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย