แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ศักยภาพของการผลิตยาในปัจจุบันและแนวโน้มของเทคโนโลยีการผลิตยาในอนาคต

dc.contributor.authorอำพล ไมตรีเวชth_TH
dc.contributor.authorAmphon Mitreewachen_US
dc.contributor.authorณรงค์ สาริสุตth_TH
dc.contributor.authorณัฐนันท์ สินชัยพานิชth_TH
dc.contributor.authorมนต์ชุลี นิติพนth_TH
dc.contributor.authorฤดี เสาวคนธ์th_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:30Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:40:54Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:30Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:40:54Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs0888en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2087en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยา โดยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในด้านศักยภาพของการผลิตยาในปัจจุบัน และแนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคต การศึกษาแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ ส่วนที่หนึ่งทำโดยประชุมระดมสมองกลุ่มผู้ประกอบการและผู้แทนภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมแนวคิด และประสบการณ์จากผู้ประกอบการ มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 34 คน โดยเป็นผู้ประกอบการภาคเอกชน 26 คน และตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) 1 คน ส่วนที่สองทำโดยออกแบบสอบถามสำรวจสถานภาพของโรงงานในปัจจุบันและข้อคิดเห็นจากโรงงานในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนาตำรับยา โรงงานยาที่ตอบแบบสอบถามมาทั้งสิ้น 24 โรงงาน ในจำนวนนี้ 2 โรงงาน ยังไม่ได้หนังสือรับรองมาตรฐานการผลิตยา (GMP certificate) จากการรวบรวมและประมวลข้อมูลทั้งสองส่วนสามารถสรุปได้ว่า อุตสาหกรรมยาภายในประเทศมีลักษณะการผลิตเป็นกระบวนการขั้นปลาย การวิจัยและพัฒนาเป็นการหาสูตรตำรับและปรับปรุงกระบวนการผลิต ความช่วยเหลือจากภาครัฐและมหาวิทยาลัยที่มีต่อโรงงานยาในด้านการผลิตและควบคุมคุณภาพอยู่ในระดับต่ำ ส่วนความช่วยเหลือในด้านการปรับปรุงให้ได้ตามแนวทางที่ดีในการผลิตยาและด้านการส่งออกเป็นที่น่าพอใจ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตประมาณร้อยละ 90 ต้องนำเข้าในขณะที่เภสัชภัณฑ์ที่ผลิตได้ส่งออกเฉลี่ยเพียงร้อยละ 6 ตำรับยาที่ผลิตเป็นยาสามัญ การผลิตยาที่อาศัยเทคโนโลยีระดับสูงมีน้อยมาก การที่โรงงานไม่ได้ผลิตยาที่ใช้เทคโนโลยีสูงส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่มีราคาแพง การพัฒนาอุตสาหกรรมควรเน้นให้ผู้ผลิตยาอยู่บนพื้นฐานการแข่งขันที่เป็นธรรม อีกประการหนึ่งในด้านการตลาดคือการที่นโยบายของรัฐเน้นราคาต่ำ การแข่งขันจึงเป็นไปในด้านราคามากกว่าคุณภาพ จากข้อมูลเหล่านี้พอจะเข้าใจได้ว่าอุตสาหกรรมยามีศักยภาพที่จะเติบโตแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ ในขณะที่จำนวนโรงงานยาและทะเบียนตำรับยามีแนวโน้มจะลดลง หากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในด้านการแข่งขันเสรีในประเทศ และการทบทวนการประมูลยาโดยราคาต่ำ การที่ให้มหาวิทยาลัยร่วมในการพัฒนายาและสารช่วยต่างๆ จะผลักดันให้เกิดความรุดหน้าในอุตสาหกรรมยาเร็วขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent626479 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectDrugsen_US
dc.subjectระบบเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพen_US
dc.subjectยาen_US
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleศักยภาพของการผลิตยาในปัจจุบันและแนวโน้มของเทคโนโลยีการผลิตยาในอนาคตth_TH
dc.title.alternativeCurrent Potential of Pharmaceutical Manufacturing and Trend of Production Technologyen_US
dc.description.abstractalternativeThai Pharmaceutical Industry:Present Status and Potential-Future TrendThe purpose of this study was to find appropriate means to support and strengthen the pharmaceutical industry. The present status and potential of the industry were analyzed and the future trend of technology was predicted. The study comprised two parts. The first one involved a brain storming session among 34 participants from both private and governmental sectors including one FDA personnel. Sending a questionnaire to the pharmaceutical manufacturers asking about their activities was the second part of the study. Twenty six factories, 2 of which did not obtain GMP certificates, responded to the questionnaire. It could be concluded that the nature of the industry was formulation process. The research and development dealt with formulation and process improvement. The industry received little support in production and quality control aspects from both the government and the universities. However, satisfactory support was received in the areas of GMP improvement and drug importation. Approximately 90% of the raw materials was imported while only 6% of the finished products was exported. Most formulations were generic products. Due to a lack of technology and expensive equipment, very little products required sophisticate technique. To develop and strengthen the industry, fair competition should be stressed. Instead of emphasizing low pricing, the government should urge the manufacturers to concern more in the quality of the products. The study indicated that Thai industry had a potential to develop and compete with the neighboring countries. It was believed that both the numbers of factories and drug registration would be declined. If the government authority supported fair and free competition and reviewed the low-priced bidding policy, in addition to the universities’ assistance, the pharmaceutical industry would be moving forward.en_US
dc.identifier.callnoQV55 อ692ศ 2544en_US
dc.identifier.contactno41ค043en_US
dc.subject.keywordPharmaceutical Industryen_US
dc.subject.keywordการผลิตยาen_US
.custom.citationอำพล ไมตรีเวช, Amphon Mitreewach, ณรงค์ สาริสุต, ณัฐนันท์ สินชัยพานิช, มนต์ชุลี นิติพน and ฤดี เสาวคนธ์. "ศักยภาพของการผลิตยาในปัจจุบันและแนวโน้มของเทคโนโลยีการผลิตยาในอนาคต." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2087">http://hdl.handle.net/11228/2087</a>.
.custom.total_download129
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year9
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0888.pdf
ขนาด: 688.2Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย